เดือน: ตุลาคม 2021
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความสำคัญของพระพุทธศาสนาและพุทธประวัติ
นักเรียนเข้าใจว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือ และมีความผูกพันกับวิถีชีวิตของพุทธศาสนิกชน เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้พุทธศาสนิกชนทำความดีตามหลักธรรมส่งผลให้สังคมเกิดความสงบสุข พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของพระพุทธศาสนา การแสวงหาหนทางแห่งการพ้นทุกข์และเผยแผ่พระพุทธศาสนา ส่งผลให้พุทธศาสนิกชนมีหลักธรรมที่ใช้สำหรับการดำเนินชีวิต
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย
ปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่มีเทคโนโลยีดิจิทัลมากมายที่ช่วยให้ทำงานได้สะดวกขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ แต่เทคโนโลยีก็มีผลกระทบเช่นกันถ้าใช้งานอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งผลกระทบส่วนใหญ่มักมาจากอินเทอร์เน็ต ดังนั้น เราควรมีข้อตกลงเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย โดยอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถค้นหาข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีบริการต่าง ๆ ที่ทำให้ แสดงความคิดเห็นได้ง่ายขึ้นและกว้างขึ้นอีกด้วย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 อัลกอริทึมและการแก้ปัญหาอย่างง่าย
ในการดำรงชีวิตจะต้องพบกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย โดยปัญหาแต่ละปัญหามีความซับซ้อนไม่เท่ากัน ซึ่งจะต้องใช้เหตุผล เงื่อนไข กฎเกณฑ์ วิธีการ และการใช้อัลกอริทึมในการเรียงลำดับขั้นตอนของการแก้ปัญหา รวมถึงการใช้เกมการแก้ปัญหาเพื่อฝึกการแก้ปัญหา อย่างเป็นระบบ และช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านสติปัญญาอีกด้วย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ตามโปรแกรมที่มนุษย์เขียนขึ้น เครื่องมือสำหรับการเขียนโปรแกรมมีมากมาย ทำให้ผู้เริ่มต้นสามารถฝึกเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น การเขียนโปรแกรมเป็นการนำเข้าข้อมูล เพื่อให้โปรแกรมทำงานตามคำสั่ง โดยการเขียนโปรแกรมบางครั้งอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นต้องใช้การตรวจสอบทีละคำสั่งแล้วแก้ไขให้ถูกต้อง โปรแกรม Scratch เป็นโปรแกรมที่สามารถนำมาใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ มีลักษณะเป็นบล็อกโปรแกรม โดยการเขียนโปรแกรมจะนำบล็อกคำสั่งมาต่อกัน เช่น การสั่งให้ตัวละครเคลื่อนที่หรือทำงานไม่สิ้นสุด
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การค้นหาข้อมูล
ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถนำมาเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารกันได้ โดยใช้เครือข่ายขนาดใหญ่และครอบคลุมไปทั่วโลก เรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) มีโปรแกรมให้บริการต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น โปรแกรมสำหรับสื่อสารข้อมูล โปรแกรมสำหรับค้นหาข้อมูล การเข้าถึงแหล่งข้อมูลหรือโฮมเพจ ทำได้โดยการพิมพ์ชื่อเข้าไปได้โดยตรง แต่ถ้าเรายังไม่ทราบแหล่งข้อมูล เราอาจใช้คำสืบค้นผ่านโปรแกรมที่ใช้ค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เรียกว่า Search Engine เช่น เว็บไซต์ Google โดยใช้คำค้น และเลือกข้อมูลมาใช้งานได้ การเลือกข้อมูลมาใช้งานควรพิจารณาความน่าเชื่อถือ เปรียบเทียบข้อมูล และพิจารณาวันที่ของข้อมูลนั้นด้วย เนื่องจากข้อมูลบางอย่างอาจเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การใช้ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล
ในการดำเนินงานต่าง ๆ จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ
ต้องมีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาใช้งานด้วย อาจนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการข้อมูล
เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัย โดยการรวบรวมนั้นจะต้องกำหนดหัวข้อที่ต้องการ
พร้อมกับเตรียมอุปกรณ์ในการจดบันทึกข้อมูล ข้อมูลที่รวบรวมได้หรือสารสนเทศที่ได้
สามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสม เช่น นำเสนอข้อมูลด้วยการบอกเล่า
การทำเอกสารรายงาน การจัดทำป้ายประกาศ และการสร้างแผนภูมิรูปภาพ การทำงานต่าง ๆ
ในปัจจุบันนั้นมีเครื่องมือช่วยมากมาย การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลคำเป็นการนำเสนอข้อมูลแบบรายงาน หรือการทำป้ายประกาศสามารถนำซอฟต์แวร์ประมวลคำมาใช้งานได้ เช่น โปรแกรมไมโครซอฟต์-
ออฟฟิศเวิร์ด (Microsoft Office Word) การใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่ช่วยในการบันทึกข้อมูล
คิดคำนวณ สร้างตาราง เช่น โปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศเอกซ์เซล (Microsoft Office Excel)
และการใช้ซอฟต์แวร์นำเสนอในการแสดงข้อมูลแบบต่าง ๆ สามารถนำเสนอในรูปแบบสไลด์ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เช่น โปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศเพาเวอร์พอยต์ (Microsoft Office PowerPoint)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
ในการเขียนโปรแกรมมีเครื่องมือในการเขียนโปรแกรมหลายรูปแบบ
ทั้งการเขียนโปรแกรมโดยใช้บัตรคำสั่ง และการเขียนโปรแกรมโดยใช้คำสั่งของภาษาโปรแกรม
ตามที่ออกแบบไว้ โดยทุกครั้งก่อนการเขียนโปรแกรมจะต้องมีการออกแบบการทำงานของโปรแกรม
ให้เป็นลำดับขั้นตอนเพื่อให้การเขียนโปรแกรมทำงานได้อย่างเป็นลำดับ อีกทั้งยังใช้ในการตรวจสอบ
และแก้ไขความผิดพลาดหากโปรแกรมทำงานผิดพลาด ทั้งนี้สามารถฝึกเขียนโปรแกรมอย่างง่าย
โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ https://code.org และ https://scratch.mit.edu หรือโปรแกรม Scratch 2.0 มาติดตั้งไว้ ในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบถาวรก็ได้