1. การแก้ปัญหาด้วยเหตุผลเชิงตรรกะ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

จุดประสงค์การเรียนรู้

    1. อธิบายความหมายของการใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหาได้ถูกต้อง (K)
    2. อธิบายขั้นตอนการแก้ปัญหาได้ (K)
    3. อธิบายกระบวนการทำงานในการแก้ปัญหาได้ (K)
    4. เขียนวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะได้ถูกต้อง (P)
    5. เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการแก้ปัญหาด้วยเหตุผลเชิงตรรกะ (A)

สาระการเรียนรู้

  • การใช้เหตุผลเชิงตรรกะเป็นการนำกฎเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่ครอบคลุมทุกกรณีมาใช้พิจารณาในการแก้ปัญหา การอธิบายการทำงาน หรือการคาดการณ์ผลลัพธ์
  • ตัวอย่างปัญหา เช่น เกม Sudoku โปรแกรมทำนายตัวเลข โปรแกรมสร้างรูปเรขาคณิต ตามค่าข้อมูลเข้า การจัดลำดับการทำงานบ้าน ในช่วงวันหยุด จัดวางของในครัว

คำถามประจำเรื่อง

  • ในวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ นักเรียนวางแผนจะทำสิ่งใด
  • เหตุผลเชิงตรรกะช่วยในการแก้ปัญหาได้อย่างไร

ศึกษาจากคลิปยูทูป

ที่มา อักษรเจริญทัศน์

การวางแผนเป็นส่วนหนึ่งของการใช้เหตุผลเชิงตรรกะเข้ามาช่วยในการพิจารณา โดยนำกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ครอบคลุมเข้ามามีส่วนช่วยเหลือในการวางแผนหรือการคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น

การใช้เหตุผลเชิงตรรกะเป็นการนำกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ครอบคลุมทุกกรณีมาใช้ เพื่อพิจารณาในการแก้ปัญหา ทำให้สามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการนำวิธีการ  แก้ปัญหาที่ได้มาแสดงเป็นลำดับขั้นตอนจะเรียกว่า อัลกอริทึม

เงื่อนไขของการจัดตารางดูภาพยนต์คือ ต้องดูให้ครบทุกเรื่อง และต้องมีเวลาพักเที่ยงตอน 12.30 – 13.30 น.

ให้นักเรียนจับกลุ่ม 4 คนเพื่อปรึกษาหารือช่วยในการตารางการดูภาพยนต์ โดยต้องตรงตามที่เงื่อนไขกำหนด หรือถ้าศึกษาที่บ้าน ให้ร่วมปรึกษากับผู้ปกครอง เพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีของครอบครัว

เหตุผลเชิงตรรกะ หมายถึง การแก้ปัญหาโดยการนำกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขมาใช้ในการพิจารณาโดยใช้เหตุผลหรือใช้ประสบการณ์มาอธิบายถึงวิธีการแก้ไขปัญหาและคาดหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่คาดการณ์ไว้

ให้นักเรียนทำใบงานที่ 1 แบบออนไลน์ โดยคลิกที่นี่

ความรู้ทั่วไป
นิทรรศการ หมายถึง การให้การศึกษาอย่างหนึ่งด้วยการแสดงงานให้ชม เป็นการจัดแสดงและนำโสตทัศนวัสดุรวมถึงวัสดุต่าง ๆ ที่ให้ข้อมูล ข่าวสาร ที่ผู้ชมสามารถสัมผัส เรียนรู้ ทดลองใช้ หรือมีกิจกรรมเสริมประกอบ นิทรรศการเป็นสื่อในการให้การศึกษา ความรู้ความเข้าใจ เพื่อกระตุ้นความสนใจ ตอบสนองและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ชมให้บรรลุสู่เป้าหมายในเรื่องนั้น ๆ
ที่มา http://kroobannok.com/blog/6709

อัลกอริทึม หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถเข้าใจได้ มีลำดับหรือวิธีการในการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร

ศึกษาจากคลิปยูทูป

ปัญหาเกมลูกเต๋า

กำหนดให้ลูกเต๋ามี 4 หน้า ดังรูป

ให้นักเรียนเรียงลูกเต๋าลงในช่องว่าง โดยที่ใส่หน้าลูกเต๋าทั้ง 4 หน้าที่กำหนดในช่องว่างโดยไม่ซ้ำกันทั้งแนวตั้งและแนวนอน และในตารางย่อย

เมื่อพบปัญหาควรใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการพิจารณากฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทุกกรณีมาใช้ในการแก้ปัญหา เพราะทำให้สามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นและทำให้สามารถแก้ปัญหานั้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

เหตุผลเชิงตรรกะช่วยในการแก้ปัญหาได้อย่างไร
เข้ามาช่วยในการพิจารณาสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหา การตรวจสอบ
การแก้ปัญหา เป็นต้น

ศึกษาจากคลิปยูทูป

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1547 Articles
https://www.kruaof.com