เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า
การเขียนโปรแกรมหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) นั้น สามารถหาค่าตัวเลขที่หารจำนวนเต็มทั้งสองค่าได้ลงตัวอาจใช้วิธีการวนซ้ำไปเรื่อย ๆ แล้วลดค่าตัวหารขึ้นจนพบค่าที่หารแล้วเหลือเศษเป็นศูนย์หรือหารได้ลงตัวแล้วนำค่าทั้งหมดมาหารตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)
เนื้อหาการศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)
- นักเรียนร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) แล้วตอบคำถาม ดังนี้
- ตัวคูณร่วมน้อยคืออะไร
- การหาตัวคูณร่วมน้อย สามารถหาด้วยวิธีการใดได้บ้าง
- ค.ร.น. ของ 8 และ 12 มีค่าเท่าใด
- การเขียนโปรแกรมหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) มีตัวแปรกี่ตัว อะไรบ้าง
- นักเรียนแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสมของจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยให้มีนักเรียน 1 คนที่มีประสบการณ์ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ จากนั้นแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานโปรแกรมหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) ดังตัวอย่าง
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันเขียนโปรแกรมหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) โดยนำบล็อกคำสั่งมาวางดังนี้
ทดลองรันโปรแกรมโดยป้อนค่าแรกเป็น 5 และป้อนค่าที่สองเป็น 3 ค่าตัวคูณร่วมน้อย หรือ ค.ร.น. ที่ได้ คือ 15 ดังภาพ
สรุปสิ่งที่เข้าใจเป็นความรู้ร่วมกัน
การเขียนโปรแกรมหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) นั้น สามารถหาค่าตัวเลขที่หารจำนวนเต็มทั้งสองค่าได้ลงตัวอาจใช้วิธีการวนซ้ำไปเรื่อย ๆ แล้วลดค่าตัวหารขึ้นจนพบค่าที่หารแล้วเหลือเศษเป็นศูนย์หรือหารได้ลงตัวแล้วนำค่าทั้งหมดมาหารตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)
Leave a Reply