การพัฒนาโปรแกรม

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การพัฒนาโปรแกรม แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

การพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์จะต้องมีการออกแบบเกม ออกแบบเนื้อเรื่องและเขียนโปรแกรม โดยเกมส่วนใหญ่มักจะมีการสุ่มภาพ หรือสุ่มตัวละครต่าง ๆ แล้วนำมาแสดงเป็นแอนิเมชัน เช่น การแสดงตัวละครแล้วเปลี่ยนภาพของตัวละครเป็นรูปร่างต่าง ๆ หรือการสุ่มตัวเลขแล้วมีการแสดงผลต่าง ๆ

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง การพัฒนาโปรแกรม

  1. นักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรม จากการตอบคำถาม ดังนี้
    • นักเรียนรู้จักการพัฒนาโปรแกรมหรือไม่
    • การพัฒนาโปรแกรมต้องใช้ทักษะใดบ้าง
    • ถ้านักเรียนสามารถสร้างเกมคอมพิวเตอร์ได้ นักเรียนจะสร้างเกมอะไร เพราะเหตุใดจึงสร้างเกมนั้น
  2. นักเรียนร่วมกันศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรม จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น การสอบถามจากครูหรือผู้ปกครอง และห้องสมุด
  3. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ขั้นตอนของการพัฒนาโปรแกรม แล้วเขียนคำตอบของนักเรียน เป็นแผนภาพความคิดบนกระดาน ดังตัวอย่าง

สรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการการพัฒนาโปรแกรม

การพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้หลากหลายด้าน เช่น การออกแบบเกม การออกแบบเนื้อเรื่อง การเขียนโปรแกรมสุ่มตัวเลข และการทำตามเงื่อนไขต่าง ๆ

Applying and Constructing the Knowledge

  1. นักเรียนแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสมของจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยให้มีนักเรียน 1 คน ที่มีประสบการณ์ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ จากนั้นแต่ละกลุ่มร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมที่ 2.5 เกมทายตัวเลขโดยปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
  • สร้างตัวละครเป็นตัวเลขขึ้นมาตั้งแต่ 1 ถึง 5 โดยคลิกเมาส์เลือกที่    โปรแกรมจะแสดง หน้าโปรแกรมสำหรับวาดภาพ ให้เลือกที่ แล้วพิมพ์ตัวเลข 1 ลงไป
  • คลิกเมาส์ขวาที่ตัวละคร แล้วเลือกทำซ้ำ จากนั้นทำซ้ำทั้งหมด 5 ครั้ง

จะปรากฏหน้าจอ ดังภาพ

  • คลิกเมาส์ที่คอสตูม 2 ซึ่งเป็นรูปร่างของตัวละครภาพต่อไป แล้วแก้ตัวเลขเป็น 2
  • แก้คอสตูมของตัวละครทั้งหมดเป็น 1 ถึง 5 จะได้ ดังภาพ
  • คลิกเมาส์เลือก   แล้วเขียนโปรแกรม โดยคลิกตัวละครแล้วแสดงการเปลี่ยนภาพ อย่างรวดเร็วจำนวน 10 ครั้ง นำการทำซ้ำจำนวน 10 ครั้งมาใช้ แล้วให้เปลี่ยนคอสตูมด้วยการสุ่มตัวเลข 1 ถึง 5 ดังภาพ
  • ออกแบบโปรแกรมเกมทายตัวเลข โดยให้ผู้เล่นป้อนตัวเลขเข้าไป เป็นตัวเลขระหว่าง 1 ถึง 5 ถ้าค่าที่สุ่มถูกต้อง ให้ระบบแจ้งว่า “ถูกต้อง” ถ้าไม่ถูกต้องให้ระบบแจ้งว่า “ไม่ถูกต้อง ลองใหม่อีกครั้ง” โจทย์นี้สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ ดังนี้

วิเคราะห์ปัญหา

ต้องการทายตัวเลขจากการสุ่ม โดยเทียบตัวเลขที่ป้อนเข้าไปกับตัวเลขที่สุ่ม

                       ข้อมูลนำเข้า       ป้อนค่าตัวเลขระหว่าง 1 ถึง 5

                       การประมวลผล   สุ่มตัวเลขระหว่าง 1 ถึง 5 แล้วเปรียบเทียบกับค่าที่ผู้เล่นป้อนเข้าไป

                       ข้อมูลส่งออก      แสดงผลการทายตัวเลข

จากการวิเคราะห์ปัญหา อาจเขียนโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์ถาม แล้วรับค่ามาเก็บไว้ ในตัวแปร จากนั้นนำตัวแปรมาเปรียบเทียบกับค่าจากการสุ่ม สามารถเขียนอัลกอริทึมได้ ดังนี้

ทดลองรันโปรแกรม โดยคลิกเมาส์ที่ตัวเลข โปรแกรมจะให้ป้อนตัวเลขเข้าไป เช่น ตัวเลข 3 แล้วสังเกตคำตอบ

สรุปสิ่งที่เข้าใจเป็นความรู้ร่วมกัน

การพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์จะต้องมีการออกแบบเกม ออกแบบเนื้อเรื่องและเขียนโปรแกรม โดยเกมส่วนใหญ่มักจะมีการสุ่มภาพ หรือสุ่มตัวละครต่าง ๆ แล้วนำมาแสดงเป็นแอนิเมชัน เช่น การแสดงตัวละครแล้วเปลี่ยนภาพของตัวละครเป็นรูปร่างต่าง ๆ หรือการสุ่มตัวเลขแล้วมีการแสดงผลต่าง ๆ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

แนวคิดเชิงนามธรรม: แกะเปลือกปัญหาเพื่อเข้าถึงแก่นแท้

แนวคิดเชิงนามธรรมเป็นมากกว่าการประเมินความสำคัญของปัญหา มันเป็นกระบวนการที่ช่วยให้เรา มองข้ามรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อ เห็นภาพรวม หรือ แก่นแท้ ของปัญหาอย่างชัดเจนขึ้น ลองเปรียบเทียบกับการปอกผลไม้: เปลือกผลไม้: แทน รายละเอียดปลีกย่อย หรือข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา เนื้อผลไม้: คือ แก่นแท้ของปัญหา หรือข้อมูลที่สำคัญที่เราต้องการนำมาใช้ในการวิเคราะห์และแก้ไข ทำไมแนวคิดเชิงนามธรรมจึงสำคัญ? ช่วยให้เข้าใจปัญหาได้ง่ายขึ้น: เมื่อเราตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไป จะทำให้เราเห็นภาพรวมของปัญหาได้ชัดเจนขึ้น และเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาได้ง่ายขึ้น ช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ: เมื่อเราเข้าใจแก่นแท้ของปัญหาแล้ว ก็จะสามารถเลือกวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมได้อย่างตรงจุด และประหยัดเวลาและทรัพยากรมากขึ้น ช่วยให้สื่อสารปัญหาได้อย่างชัดเจน:...

การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลตามข้อตกลงการใช้: เข้าใจและปฏิบัติตามสัญญา Creative Commons

สัญญา Creative Commons (CC) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถกำหนดเงื่อนไขการใช้งานผลงานของตนได้อย่างชัดเจน โดยอนุญาตให้ผู้อื่นนำผลงานไปใช้ต่อได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประเภทของสัญญา CC ทำไมต้องเข้าใจสัญญา Creative Commons? หลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์: การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลโดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ อาจถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้ ให้เครดิตผู้สร้าง: การให้เครดิตผู้สร้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญา CC เป็นการแสดงความเคารพต่อผู้สร้างสรรค์ผลงาน ส่งเสริมการแบ่งปันความรู้: การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลที่ได้รับอนุญาตภายใต้สัญญา CC ช่วยให้เกิดการเผยแพร่ความรู้และข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ประเภทของสัญญา Creative Commons สัญญา...

ผลกระทบ แนวทางป้องกัน และวิธีการแก้ปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างแยกไม่ออก การใช้งานอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ นำมาซึ่งความสะดวกสบายและประสิทธิภาพในการทำงานและการสื่อสาร แต่ในขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบหากเราไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่ปลอดภัย การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว: เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลส่วนบุคคล อาจนำไปสู่การถูกหลอกลวงหรือการใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด การถูกแฮ็ก: ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจเข้าควบคุมอุปกรณ์ของเราเพื่อขโมยข้อมูลหรือทำลายระบบ การถูกคุกคามทางออนไลน์: เช่น การถูกกลั่นแกล้ง การถูกคุกคาม หรือการถูกข่มขู่ การติดไวรัส: โปรแกรมที่เป็นอันตรายอาจเข้ามาทำลายระบบคอมพิวเตอร์หรือขโมยข้อมูล การเสพติดอินเทอร์เน็ต: การใช้เวลากับอุปกรณ์ดิจิทัลมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจ แนวทางป้องกัน สร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง: ใช้รหัสผ่านที่ประกอบด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ ตัวเล็ก...

วิธีการป้องกันความเป็นส่วนตัวและข้อมูลของตนเองในยุคดิจิทัล

ในยุคที่ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญและมีมูลค่าสูง การรักษาความเป็นส่วนตัวและปกป้องข้อมูลของตนเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อไปนี้คือวิธีการป้องกันที่คุณสามารถทำได้: การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวบนโซเชียลมีเดียและแอปพลิเคชัน จำกัดการเข้าถึงข้อมูล: ปรับตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้แคบลง ใครบ้างที่สามารถเห็นโพสต์ รูปภาพ หรือข้อมูลส่วนตัวของคุณ ตรวจสอบแอปพลิเคชันที่ขออนุญาตเข้าถึงข้อมูล: ก่อนอนุญาตให้แอปพลิเคชันเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว เช่น สถานที่ตั้ง รายชื่อติดต่อ หรือรูปภาพ ควรพิจารณาให้รอบคอบว่าจำเป็นต้องให้สิทธิ์เหล่านั้นหรือไม่ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเป็นประจำ: บริษัทเทคโนโลยีมักมีการปรับเปลี่ยนนโยบายความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอ จึงควรตรวจสอบและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าเป็นประจำ การสร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง หลีกเลี่ยงการใช้รหัสผ่านซ้ำ: ไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับบัญชีต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ซับซ้อน: รวมตัวอักษรใหญ่เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ ใช้ตัวจัดการรหัสผ่าน: ช่วยในการจัดเก็บรหัสผ่านที่ซับซ้อนหลายรหัส การระวังภัยไซเบอร์ ระวังอีเมลขยะและลิงก์ที่น่าสงสัย:...

About ครูออฟ 1564 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.