หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น

การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

1.  การทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นการทำงานร่วมกันที่ประกอบด้วยหน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผลกลางและหน่วยส่งออก ซึ่งมีโปรแกรมเป็นระบบปฏิบัติการที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อผู้ใช้ปฏิบัติตามขั้นตอนได้ถูกต้อง
2.  คอมพิวเตอร์มีการทำงานตามขั้นตอน โดยการสร้างหรือเขียนลำดับคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้เขียนโปรแกรมออกแบบไว้ เมื่อพบจุดที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้อง ให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
3.  การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch เป็นเครื่องมือหนึ่งที่นำมาใช้ฝึกเขียนโปรแกรม สามารถเรียนรู้ได้ง่าย โดยการออกแบบอัลกอริทึม เขียนโปรแกรมในการนำบล็อกคำสั่งต่าง ๆ มาวาง ให้ตัวละครเคลื่อนที่ตามคำสั่ง ทำให้มีความเข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์มากขึ้น
4. อัลกอริทึม คือ ขั้นตอนหรือลำดับการประมวลผลในการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ใช้อธิบายวิธีการทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน แต่ละขั้นควรสั้น กระชับ และมีความต่อเนื่องกัน ครอบคลุมการทำงาน โดยเขียนการทำงานหลัก ๆ ออกมาก่อน การให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างถูกต้องนั้นต้องออกแบบอัลกอริทึมให้สมบูรณ์ แล้วจึงพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หากมีส่วนใดที่ไม่สมบูรณ์ สามารถที่จะปรับแก้ไขอัลกอริทึมได้ สามารถออกแบบอัลกอริทึมกิจวัตรประจำวันของตนเอง แล้วนำไปเขียนโปรแกรมให้ตัวละครเล่าเรื่องตามที่ออกแบบไว้
5. การเขียนโปรแกรมโต้ตอบกับผู้ใช้ เป็นโปรแกรมที่มีการตอบสนอง เมื่อผู้ใช้กระทำการใด ๆ
โดยโปรแกรมจะนำข้อมูลมาประมวลผล แล้วทำตามเงื่อนไขที่กำหนด จากการเขียนอัลกอริทึมที่กำหนด แสดงการทำงาน หากมีข้อผิดพลาดก็สามารถปรับแก้ไขอัลกอริทึมเพื่อให้สามารถทำงานต่อได้

จุดประสงค์/ตัวชี้วัด เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น

ว 4.2 ป.4/2        ออกแบบ และเขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือสื่อ และตรวจหาข้อผิดพลาดและแก้ไข

สาระการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น

  1. การทำงานของคอมพิวเตอร์
  2. การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
  3. รู้จักโปรแกรม Scratch
  4. เรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch
  5. การออกแบบการเขียนโปรแกรม Scratch
  6. รู้จักอัลกอริทึม
  7. การเขียนอัลกอริทึม
  8. บอกเล่ากิจวัตรประจำวันด้วย Scratch
  9. การออกแบบอัลกอริทึมและเขียนโปรแกรมให้ตัวละครเล่าเรื่อง
  10. การเขียนโปรแกรมโต้ตอบกับผู้ใช้
  11. สนุกกับตัวละครโต้ตอบกับผู้ใช้

แบบทดสอบ เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.