จุดประสงค์การเรียนรู้
- อธิบายขั้นตอนในการเขียนโปรแกรมและการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำได้ (K)
- เขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำได้ถูกต้อง (P)
- เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ (A)
คำถามประจำเรื่อง
- นักเรียนรู้หรือไม่ว่าการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำมีลักษณะเป็นอย่างไร
- นักเรียนคิดว่าการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำมีข้อดีอย่างไร
- นักเรียนคิดว่าน้ำผึ้งเกิดขึ้นได้อย่างไร ใครเป็นผู้ผลิตขึ้นมา และมีกระบวนการผลิตน้ำผึ้งอย่างไร
- นักเรียนคิดว่ากระบวนการผลิตน้ำผึ้งมีการทำงานซ้ำ ๆ กันหรือไม่ อย่างไรบ้างที่ต้องทำงานซ้ำ ๆ
การเขียนโปรแกรม หมายถึง การเขียนชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยเริ่ม กระบวนการตั้งแต่การออกแบบโปรแกรม การเขียนชุดคำสั่งเพื่อให้โปรแกรมทำงานตามที่ออกแบบไว้ จนกระทั่งตรวจสอบผลลัพธ์การทำงานที่ได้ และทำการแก้ไขข้อผิดพลาดที่พบ ส่วนการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ จะช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายและสะดวกขึ้น โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง
กระบวนการผลิตน้ำผึ้ง
น้ำผึ้งเกิดจากน้ำหวานของเกสรดอกไม้ที่ผึ้งหลาย ๆ ตัวช่วยกันบินไปหาน้ำหวานจากเกสรดอกไม้หลาย ๆ ดอก และนำมาผลิตรวมกันไว้ที่รวงผึ้ง
วาดภาพการผลิตน้ำผึ้ง
ผึ้งเดินทางออกจากรวงผึ้ง => เก็บน้ำหวานจากดอกไม้หลาย ๆ ดอก => น้ำหวานไปผลิตเป็นน้ำผึ้งที่รวงผึ้ง
เขียนเปลี่ยนข้อๆ ลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้
1. ขั้นตอนเดินทาง เพราะผึ้งต้องเดินทางหลาย ๆ รอบ
2. ขั้นตอนเก็บน้ำหวาน เพราะผึ้งต้องเก็บน้ำหวานจากเกสรดอกไม้หลาย ๆ ดอก
3. ขั้นตอนผลิตน้ำหวาน เพราะผึ้งมีขนาดตัวที่เล็กส่งผลให้เก็บน้ำหวานได้จำกัดในแต่ละครั้ง จึงต้องนำน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ไปผลิตน้ำผึ้งที่รวงผึ้งหลาย ๆ รอบ
การทำงานเป็นกระบวนการซ้ำ ๆ กันหากถูกนำมาเขียนโปรแกรมจะเป็นการเขียนโปรแกรมคำสั่งในรูปแบบที่ให้โปรแกรมทำงานซ้ำกันหลาย ๆ รอบ โดยใช้ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ในการเขียนชุดคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนด
การเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ หมายถึง การเขียนชุดคำสั่งให้โปรแกรมทำงานซ้ำกันหลายรอบ นักเรียนจะเขียนโปรแกรมคำสั่งได้ก็ต้องรู้ความหมายของคำสั่งแต่ละคำสั่งว่ามีหน้าที่การทำงานอย่างไร
การเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำจะช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นและมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมซ้ำกันหลาย ๆ รอบ ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน