จุดประสงค์การเรียนรู้
- บอกปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อผิดพลาดในชีวิตประจำวันได้ (K)
- อธิบายวิธีการตรวจหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้ถูกต้อง (K)
- ตรวจสอบข้อผิดพลาดจากการเขียนโปรแกรมได้ (P)
- แก้ไขข้อผิดพลาดจากการเขียนโปรแกรมได้ (P)
- นำความรู้และประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ (A)
การตรวจสอบความผิดพลาด เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการเขียนโปรแกรม ซึ่งจะต้องตรวจสอบว่าได้ผลลัพธ์ตรงตามที่ต้องการหรือไม่ โดยข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นมี 2 ลักษณะ คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเขียนคำสั่งผิด และข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเขียนคำสั่งผิดรูปแบบ
คำถามประจำเรื่อง
- ในชีวิตประจำวันนักเรียนพบความผิดพลาดอะไรบ้าง และนักเรียนจะมีวิธีการช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้อย่างไร
- การตรวจสอบข้อผิดพลาดมีประโยชน์อย่างไรต่อการเขียนโปรแกรมคำสั่ง
- นักเรียนจะนำวิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดที่ได้เรียนรู้นี้ ไปช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างไร
ทุกคนล้วนแต่เคยทำผิดพลาดมาด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ดังนั้นเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็ตามจะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนทุกครั้ง เช่น การเขียนโปรแกรมคำสั่ง ควรมีการตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้งก่อนนำไปใช้งานจริง เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นขณะใช้งานโดยข้อผิดพลาดจะมี 2 ลักษณะ คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเขียนคำสั่งผิด และข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเขียนคำสั่งผิดรูปแบบ
วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้โดยตรวจสอบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมทีละคำสั่ง และตรวจสอบคำสั่งที่ผิดรูปแบบทีละคำสั่ง เมื่อพบคำสั่งที่ผิดพลาดให้แก้ไข และทดสอบผลการทำงานใหม่อีกครั้ง
นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบคำสั่งผิดรูปแบบทีละคำสั่ง ซึ่งเป็นการตรวจสอบตั้งแต่คำสั่งแรกจนถึงคำสั่งสุดท้าย เมื่อพบข้อผิดพลาดแล้วจึงค่อยดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง
ความผิดพลาดอาจส่งผลให้งานที่ทำอยู่ไม่สำเร็จเพราะฉะนั้นในการทำงานใด ๆ ต้องมีการตรวจสอบทุกครั้ง หากมีข้อผิดพลาดจะได้แก้ไขก่อนนำไปใช้งานจริง
การตรวจสอบข้อผิดพลาดขณะเขียนโปรแกรม ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการเขียน โปรแกรม เพราะเป็นการตรวจสอบว่าการเขียนโปรแกรมครั้งนั้นได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการ หรือไม่ โดยข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากการเขียนคำสั่งผิดหรือเกิดจากการเขียนคำสั่งผิดรูปแบบ หากไม่มีการตรวจสอบข้อผิดพลาดก่อนจะส่งผลให้การเขียนโปรแกรมคำสั่งครั้งนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นเพื่อลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น จึงควรตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้งก่อนนำไปใช้งานจริง