การใช้งานซอฟต์แวร์เบื้องต้น

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

จุดประสงค์การเรียนรู้

  • อธิบายขั้นตอนการใช้งานของโปรแกรมประมวลคำ โปรแกรมกราฟิก และโปรแกรมนำเสนอข้อมูลได้(K)
  • อธิบายความแตกต่างและหน้าที่การใช้งานของโปรแกรมประมวลคำ โปรแกรมกราฟิก และโปรแกรมนำเสนอข้อมูลได้ (K)
  • สร้างชิ้นงานโดยใช้โปรแกรม ไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft word) โปรแกรมเพนต์ (Paint) และ โปรแกรมไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ (Microsoft PowerPoint) ได้ (P)
  • สืบค้นข้อมูลการใช้งานเรื่องการใช้งานซอฟต์แวร์เบื้องต้น (P)
  • สนใจใฝ่รู้ในการศึกษา (A)

การใช้งานโปรแกรมประมวลคำ โปรแกรมกราฟิก และโปรแกรมนำเสนอเบื้องต้น เช่น การเข้าและออกโปรแกรม การสร้างไฟล์ การจัดเก็บ การเรียกใช้ไฟล์ อย่างถูกต้อง ทำให้สามารถใช้งานโปรแกรมเหล่านี้เพื่ออำนวยความสะดวก สร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และการเรียนได้ การสร้างและจัดเก็บไฟล์อย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถเรียกใช้และค้นหาข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว

ไมโครซอฟท์เวิร์ด (Microsoft Word) คือโปรแกรมประเภท word processor ที่ใช้เหมาะสำหรับการพิมพ์รายงาน พิมพ์จดหมาย หรือจะใช้สำหรับแต่งนิยายก็ยังได้ เป็นหนึ่งในโปรแกรม ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ ซึ่งมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง หลากหลายเวอร์ชั่น แต่อย่างไรก็ตาม โดยหลักการ ถ้าเราศึกษาไมโครซอฟท์เวิร์ดเวอร์ชั่นใดเวอร์ชั่นหนึ่ง เราก็จะสามารถเรียนรู้เวอร์ชั่นอื่นๆ ได้ค่อนข้างง่าย เพราะส่วนใหญ่เวอร์ชั่นใหม่ๆ ก็จะการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเพิ่มเติมเสียมากกว่าการลบออกไป

โฟลเดอร์ คือ ไฟล์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหากมีการจัดเก็บไฟล์ต่างๆ ไว้ในโฟลเดอร์อย่างเป็นหมวดหมู่จะทําให้ข้อมูลที่ได้มีความเป็นระเบียบ ทําให้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยในโฟลเดอร์สามารถที่จะสร้างโฟลเดอร์ย่อยๆ ได้ตามต้องการ เพื่อใช้เก็บไฟล์ข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ไม่ปะปนกัน


เอกสาร คือ กระดาษหรือวัตถุใดๆ ที่ได้ถูกบันทึกหรือทําให้ปรากฏด้วยการเขียน พิมพ์ ถ่ายรูป บันทึก ให้ปรากฏเป้นข้อมูลข่าวสาร ตัวเลข แผนผังหรือสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทําให้เกิดความหมาย เพื่อให้การสื่อสารเกิดความเข้าใจมากขึ้น

โปรแกรม Paint เป็นโปรแกรมพื้นฐานที่มีมากับโปรแกรมระบบปฏิบัติการ Windows เป็นโปรแกรมวาดภาพ สามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน นักเรียนระดับประถมศึกษาได้เป็นอย่างดี เพราะมีสีสันสวยงาม ทั้งสามารถสร้างทักษะการใช้ Mouse และ Keyboard และยังพิมพ์ผลงานออกมาทางเครื่องพิมพ์ (Printer) ได้อีกด้วย

โปรแกรมเพนต์ คือ โปรแกรมพื้นฐานสําหรับการวาดภาพหรือการออกแบบกราฟิกบนคอมพิวเตอร์ที่มีรายละเอียดไม่ซับซ้อนมาก จัดอยู่ในกลุ่มโปรแกรมวาดภาพระบายสีที่มีความสามารถในการสร้างภาพอย่างง่าย และแก้ไขภาพที่สร้างขึ้นเอง หรืออาจนํารูปภาพมาจากที่อื่นเพื่อตกแต่งด้วยการใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในโปรแกรมเป็นตัวช่วยทําให้สวยงามตามที่ต้องการ และผู้เข้าใช้งานจะได้มีโอกาสฝึกการใช้เครื่องมือต่างๆ เมื่อตกแต่งเสร็จแล้วสามารถนําไปประกอบเอกสารอื่นๆ ได้ เช่น โปรแกรม Microsoft Word โปรแกรม Microsoft Excel

โปรแกรม Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมหนึ่งในตระกูล Microsoft Office เหมาะสำหรับการจัดสร้างงานนำเสนอข้อมูล (Presentation) สำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในงานได้หลายประเภท เช่น การนำเสนอข้อมูลสินค้าและบริการ การจัดทำ Slide Show การออกแบบแผ่นพับ เป็นต้น

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว

การปกป้องข้อมูลส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่หวังดีนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ไม่ดี เรามีวิธีหลายอย่างในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเรา วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า: ไม่บอกชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ให้กับคนที่เราไม่รู้จัก ไม่นัดเจอคนที่เราคุยด้วยทางอินเทอร์เน็ต หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ระมัดระวังในการพูดคุยกับคนแปลกหน้าในเกมออนไลน์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย: ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก โดยใช้ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน ไม่ใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายบัญชี เก็บรักษารหัสผ่านเป็นความลับ ไม่บอกให้ใครรู้ ระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ต: ไม่คลิกลิงก์ หรือเปิดไฟล์แนบจากอีเมล หรือข้อความที่ไม่รู้จัก ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในโซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่างๆ บอกผู้ปกครองหรือคุณครู เมื่อเจอสิ่งผิดปกติ: หากมีคนแปลกหน้าทักมา หรือขอข้อมูลส่วนตัวของเรา หากเจอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หรือน่ากลัวบนอินเทอร์เน็ต หากถูกกลั่นแกล้ง...

ทำไมเราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว?

ข้อมูลส่วนตัวของเรานั้นสำคัญมาก เหมือนกับกุญแจที่ใช้เปิดบ้าน ถ้ามีคนที่ไม่หวังดีได้กุญแจไป เขาอาจจะเข้ามาในบ้านของเราและทำสิ่งที่ไม่ดีได้ ข้อมูลส่วนตัวก็เช่นกัน ถ้าคนที่ไม่หวังดีได้ข้อมูลส่วนตัวของเราไป เขาอาจจะนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี ทำให้เราเดือดร้อนได้ เหตุผลที่เราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ป้องกันการถูกแอบอ้าง: คนที่ไม่หวังดีอาจนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้แอบอ้างเป็นตัวเรา เช่น สมัครบัญชีออนไลน์ หรือทำธุรกรรมต่างๆ ในชื่อของเรา ทำให้เราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เราไม่ได้ทำ ป้องกันการถูกหลอกลวง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการหลอกลวง เช่น ส่งอีเมลหรือข้อความหลอกลวงให้เราโอนเงิน หรือให้ข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติม ป้องกันการถูกกลั่นแกล้ง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เช่น เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเราให้คนอื่นรู้ หรือใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการสร้างข่าวลือที่ไม่ดี ป้องกันการถูกขโมยข้อมูล: คนที่ไม่หวังดีอาจขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราไปขาย หรือนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน: ข้อมูลส่วนตัวบางอย่างเช่น...

ข้อมูลส่วนตัวคืออะไร?

ข้อมูลส่วนตัว คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเราได้ ข้อมูลเหล่านี้สำคัญมาก เพราะหากมีคนรู้ข้อมูลส่วนตัวของเรา อาจนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ ตัวอย่างข้อมูลส่วนตัว: ชื่อ-นามสกุล: ชื่อจริงและนามสกุลของเรา ที่อยู่: บ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ เบอร์โทรศัพท์: เบอร์โทรศัพท์บ้านหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือของเรา วันเดือนปีเกิด: วัน เดือน และปีที่เราเกิด รูปภาพ: รูปถ่ายของเรา ข้อมูลโรงเรียน: ชื่อโรงเรียน ชั้นเรียน...

พัฒนาอินโฟกราฟิกให้ปัง! ด้วยการรับฟังและปรับปรุงผลงาน

ความสำคัญของการรับฟังความคิดเห็น: ช่วยให้เข้าใจมุมมองและความต้องการของผู้ฟัง ช่วยให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของผลงาน ช่วยให้สามารถปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น: 1. เปิดใจรับฟัง: ตั้งใจฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างตั้งใจ หลีกเลี่ยงการโต้แย้งหรือตัดสินความคิดเห็น 2. จดบันทึก: จดบันทึกความคิดเห็นที่สำคัญ เพื่อนำมาพิจารณา 3. วิเคราะห์ความคิดเห็น: แยกแยะความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ พิจารณาว่าความคิดเห็นใดที่สามารถนำมาปรับปรุงผลงานได้ 4. ปรับปรุงผลงาน: นำความคิดเห็นที่ได้มาปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ทดสอบผลงานที่ปรับปรุงแล้วกับกลุ่มเป้าหมาย 5. ขอบคุณผู้ให้ความคิดเห็น: แสดงความขอบคุณต่อผู้ที่ให้ความคิดเห็น แสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นของพวกเขาได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ เทคนิคการรับฟังความคิดเห็น: ตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ แสดงความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ฟัง สรุปความคิดเห็นของผู้ฟัง เพื่อให้แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้อง ขอคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน การนำเสนอผลงาน และรับฟังความคิดเห็น หลังจากนำเสนอผลงาน Infographic เสร็จ ควรเปิดโอกาศให้ผู้ร่วมรับชมผลงานนั้น ได้แสดงความคิดเห็น จดบันทึกคำถาม และข้อสงสัยต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขผลงาน กิจกรรม: ให้นักเรียนนำเสนออินโฟกราฟิกที่ตนเองสร้าง และรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนๆ หรือครู ให้นักเรียนปรับปรุงอินโฟกราฟิกของตนเองตามความคิดเห็นที่ได้รับ ให้นักเรียนสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงผลงาน คำถามทบทวน: ทำไมการรับฟังความคิดเห็นจึงสำคัญ? มีขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นอย่างไร? มีเทคนิคอะไรบ้างในการรับฟังความคิดเห็น?...

About ครูออฟ 1711 Articles
https://www.kruaof.com