การแก้ปัญหาคืออะไร

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

จุดประสงค์การเรียนรู้

  • อธิบายการใช้วิธีการลองผิดลองถูกในการแก้ปัญหาได้ถูกต้อง (K)
  • อธิบายการใช้วิธีการเปรียบเทียบในการแก้ปัญหาได้ถูกต้อง (K)
  • สืบค้นข้อมูลการเลือกวิธีการแก้ปัญหาอย่างง่ายได้ (P)
  • เห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน (A)

การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ เพื่อให้ศึกษากระบวนการในการแก้ปัญหา ขั้นตอนการแก้ปัญหาซึ่งแต่ละปัญหามีขั้นตอนการแก้ไขที่แตกต่างกัน เช่น การลองผิดลองถูก การเปรียบเทียบ ซึ่งช่วยให้สามารถรับรู้ถึงปัญหาแต่ละขั้นตอน  สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยฝึกทักษะการคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

คำถามประจำเรื่อง

  • การแก้ปัญหาแต่ละปัญหาใช้วิธีเหมือนกันหรือไม่
  • ในชีวิตประจำวันเคยมีปัญหาเกิดขึ้นกับนักเรียนหรือไม่
  • ขั้นตอนการแก้ปัญหาแต่ละขั้นตอนแตกต่างกันอย่างไร
  • การแก้ปัญหามีประโยชน์อย่างไร
  • กระบวนการแก้ปัญหามีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง
  • จากสถานการณ์เมื่อกลางวันมีฝนตกหนักที่โรงเรียน ทำให้นักเรียนตากฝนจนมีอาการเป็นหวัด น้ำมูกไหลนักเรียนจะมีวิธีในการแก้ปัญหานี้อย่างไร

การแก้ปัญหาให้ประสบความสำเร็จนั้นต้องอาศัยกระบวนการแก้ปัญหา ทำได้โดยการ 1. วิเคราะห์ปัญหา และทำความเข้าใจปัญหา 2. วางแผนการแก้ปัญหา 3. ลงมือแก้ปัญหา 4. ตรวจสอบผลการแก้ปัญหาและปัญหาแต่ละปัญหาต้องมีขั้นตอนการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน เช่น การลองผิดลองถูก และการเปรียบเทียบ ทำให้การแก้ปัญหาประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ

วิเคราะห์ และทำความเข้าใจปัญหา การที่จะแก้ปัญหาได้นั้น  สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับถ้อยคำต่าง ๆ ในปัญหา  แล้วแยกปัญหาให้ออกเป็นข้อ ๆ อะไรเป็นข้อมูลที่กำหนดให้และมีเงื่อนไขใดบ้าง  หลังจากนั้นจึงพิจารณาว่า  ข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดให้นั้นเพียงพอที่จะหาคำตอบของปัญหาได้หรือไม่  ถ้าไม่เพียงพอก็ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้แก้ปัญหาได้

วางแผนการแก้ปัญหา จากการทำความเข้าใจกับปัญหาจะช่วยให้เกิดการคาดคะเนว่าจะใช้วิธีการใดในการแก้ปัญหา  เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ 

ลงมือแก้ปัญหา เมื่อได้วางแผนแล้วก็ดำเนินการแก้ปัญหา  ระหว่างการดำเนินการแก้ปัญหาอาจได้แนวทางที่ดีกว่าวิธีที่คิดไว้  ก็สามารถนำมาปรับเปลี่ยนได้

ตรวจสอบผลการแก้ปัญหา เมื่อได้วิธีการแก้ปัญหาแล้ว วิธีการแก้ปัญหาได้ผลลัพธ์ถูกต้องเป็นการประเมินภาพรวมของการแก้ปัญหา  ทั้งในด้านวิธีการแก้ปัญหา  ผลการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ  รวมทั้งการนำไปประยุกต์ใช้  ทั้งนี้ในการแก้ปัญหาใด ๆ ต้องตรวจสอบถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1547 Articles
https://www.kruaof.com