ปัญหาของชาวโซเชียล เฟซบุ๊กกับภาวะซึมเศร้า

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ปัญหาของชาวโซเชียล เฟซบุ๊กกับภาวะซึมเศร้า โดย ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์

เทศกาลสงกรานต์เวียนมาบรรจบกันอีกครั้ง คนส่วนใหญ่มีวันหยุดยาว จำนวนมากคงออกเดินทางไปเที่ยวหรือไปร่วมฉลองสงกรานต์กัน เป็นเวลาที่มีกิจกรรมอย่างอื่นๆ นอกบ้านกัน เคยสังเกตอยู่เหมือนกันว่าในช่วงวันหยุดหลายๆ วันแบบนี้ ความเคลื่อนไหวต่างๆ บนโซเชียล เน็ตเวิร์ก อย่างเช่นเฟซบุ๊กจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ความถี่ในการโพสต์การแชร์อะไรต่อมิอะไรลดลงไปบ้าง อาจจะถือเป็นเรื่องดีที่ได้ละจากโซเชียลเน็ตเวิร์กกันบ้าง อย่างน้อยก็ลดลงเพราะช่วงแบบนี้เอาเวลาไปทำอย่างอื่นกันมากขึ้น เพราะพูดกันตามตรงปัญหาสุขภาพจิตกับเฟซบุ๊กมันเคียงคู่กันมา เช่น การเกิดภาวะซึมเศร้า เป็นต้น มีผลการศึกษาหลายต่อหลายชิ้นชี้ให้เห็นเรื่องนี้

เมื่อเร็วๆ นี้มีผลการศึกษาใหม่ล่าสุดอีกชิ้นตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารจิตวิทยาสังคมและคลินิก (Journal of Social and Clinical Psychology) ที่ไม่เพียงชี้ให้เห็นว่าภาวะซึมเศร้ากับเฟซบุ๊กเป็นสิ่งที่ควบคู่กันมาเท่านั้น แต่องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะอันไม่พึงปรารถนาดังกล่าวคือการเปรียบเทียบทางสังคม

นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยฮุสตันสอบถามกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก ดูแนวโน้มการเปรียบเทียบทางสังคมที่กลุ่มตัวอย่างใช้เมื่อเข้าเฟซบุ๊ก เทียบกับความถี่ในการเกิดภาวะซึมเศร้า

ผลลัพธ์ที่ได้มาก็คือ คนใช้เฟซบุ๊กมากกว่า ก็จะพบว่ามีอาการซึมเศร้าเกิดขึ้นมากกว่า และสื่อกลางที่นำไปสู่อาการเช่นนั้นคือการเปรียบเทียบทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบกับผู้ที่เหนือกว่า ด้อยกว่า หรือเสมอกัน ที่ใช้เฟซบุ๊กแล้วเกิดอาการซึมเศร้าก็เพราะเข้าไปแล้วก็จะทำการเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ จากเนื้อหาต่างๆ ที่คนอื่นโพสต์เอาไว้

การเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ แล้วนำไปสู่ภาวะสุขภาพจิตอันไม่พึงปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ หงุดหงิด อิจฉาริษยา หรือถึงขั้นซึมเศร้านั้น ที่จริงแล้วไม่ใช่เรื่องแปลก เป็นเรื่องที่พอรู้กันอยู่ว่ามันก็เกิดขึ้นอยู่ในชีวิตประจำวันโดยทั่วไปอยู่แล้ว แม้ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าเฟซบุ๊กหรือโซเชียล เน็ตเวิร์กอยู่ในโลกนี้เลยก็ตาม

แต่การวิจัยพบว่าคนใช้เฟซบุ๊กมีแนวโน้มจะเกิดอาการมาก อาการที่เกิดขึ้นนั้นมาจากเมื่อใช้แล้วก็เกิดการเปรียบเทียบกันคนอื่นๆ ตามมา ยิ่งใช้มากโอกาสเกิดก็ยิ่งมาก

การเปรียบเทียบทางสังคมเป็นเรื่องที่อดไม่ได้สำหรับปุถุชนทั้งหลาย ลองถามตัวเองกันดูก็ได้ว่าเคยเห็นสิ่งที่เพื่อนๆ โพสต์บนเฟซบุ๊กแล้วเกิดการเปรียบเทียบกับตัวเองบ้างไหม ใครตอบว่าไม่เคย สันนิษฐานได้เลยว่าโกหก

จากผลงานวิจัยชิ้นนี้ทำให้มีข้อแนะนำว่า ถ้าใครใช้เฟซบุ๊กหรือโซเชียล เน็ตเวิร์กอื่นๆ ทั้งหลายแล้วเกิดอารมณ์บ่จอยค่อนข้างถี่ ให้ระลึกไว้เลยว่าควรจะถอยห่างออกจากมันได้แล้ว พร้อมๆ กับการไปฝึกจิตให้มั่นคง หาหนทางเคารพนับถือตัวเองให้มากขึ้นมากๆ รู้จักเปรียบเทียบในเชิงบวกให้เป็น ไม่ใช่เอาแต่ถ่มถุยตัวเองไม่หยุดหย่อน

หากทำไม่ได้ เลิกเล่นไปเลยก็เป็นวิธีหนึ่งในการรักษาสุขภาพจิตตัวเองไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีแนวโน้มเกิดภาวะซึมเศร้าง่ายๆ

ช่วงเทศกาลสงกรานต์ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะละจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ออกไปฉลองกับชาวบ้านชาวช่องเขา ออกไปแล้วก็ให้มือห่างจากโทรศัพท์มือถือด้วย เพราะขืนเอาออกมาจิ้มๆ ไม่ดูตาม้าตาเรือ โดนสาดน้ำเข้าไปมันอาจพังได้ จะยิ่งทำให้ซึมเศร้าหนักขึ้นอีก  

ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2558

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สาระสำคัญของการเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถือเป็นการปูพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณและการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัลนี้ ทำไมต้องเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึม? พัฒนากระบวนการคิด: การออกแบบอัลกอริทึมช่วยฝึกให้เด็กคิดเป็นขั้นเป็นตอน วิเคราะห์ปัญหา และหาทางแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการออกแบบอัลกอริทึมเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรม และการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์: การออกแบบอัลกอริทึมมีหลายวิธี เด็กๆ สามารถคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันได้ พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกัน: การทำงานกลุ่มในการออกแบบอัลกอริทึมช่วยให้เด็กเรียนรู้การทำงานร่วมกันและการสื่อสาร อัลกอริทึมคืออะไร? อัลกอริทึมก็เหมือนกับสูตรอาหารหรือคู่มือการประกอบเฟอร์นิเจอร์ คือชุดคำสั่งที่ระบุขั้นตอนในการทำงานอย่างชัดเจน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น อัลกอริทึมในการต้มไข่ต้มก็คือ 1. นำไข่ใส่หม้อ...

สาระสำคัญของการฝึกฝนการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมต้องฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหา? พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ปัญหา แยกแยะประเด็นสำคัญ และวางแผนแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพิ่มความมั่นใจ: เมื่อนักเรียนสามารถแก้ปัญหาได้เอง จะส่งผลให้มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการแก้ปัญหาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในสายอาชีพต่างๆ ส่งเสริมการเรียนรู้แบบอัตโนมัติ: การแก้ปัญหาจะทำให้นักเรียนค้นพบวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองมากขึ้น วิธีการฝึกฝน จัดกิจกรรมที่ท้าทาย: ให้โจทย์ปัญหาที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ สอนวิธีการคิดแบบมีระบบ: แนะนำขั้นตอนการแก้ปัญหา เช่น การกำหนดปัญหา การหาข้อมูล...

สาระสำคัญของการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียน ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในอนาคต เหตุผลที่ต้องฝึกฝนทักษะเหล่านี้ในระดับชั้น ม.1 พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนพัฒนากระบวนการคิดที่เป็นระบบ มีขั้นตอนในการแก้ปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้: ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีขึ้น เข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้ง เตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาต่อ: เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน พัฒนาทักษะการสื่อสาร: ช่วยให้นักเรียนสามารถสื่อสารความคิดเห็นของตนเองได้อย่างชัดเจนและมีเหตุผล เสริมสร้างความมั่นใจ: การฝึกฝนทำให้เกิดความมั่นใจในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ วิธีการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะ ตั้งคำถาม: สอนให้นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์ หาเหตุผลสนับสนุน: ฝึกให้นักเรียนหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง เปรียบเทียบและหาความแตกต่าง:...

สาระสำคัญของการเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการ สาระสำคัญที่นักเรียนจะได้เรียนรู้มีดังนี้ 1. เข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ: การวิเคราะห์ปัญหา: เรียนรู้ที่จะแยกแยะปัญหาออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อให้เข้าใจปัญหาได้อย่างชัดเจน การออกแบบอัลกอริทึม: ฝึกคิดขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ การเขียนรหัสลำลอง: ฝึกเขียนคำอธิบายขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ การทดสอบและปรับปรุง: เรียนรู้ที่จะตรวจสอบผลลัพธ์และแก้ไขข้อผิดพลาด 2. พัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะ: การใช้เหตุผล: ฝึกใช้เหตุผลในการตัดสินใจและเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม การเปรียบเทียบ: ฝึกเปรียบเทียบข้อมูลและหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ การสรุป: ฝึกสรุปผลจากข้อมูลที่ได้ 3. สร้างสรรค์และนวัตกรรม: การคิดนอกกรอบ: ฝึกคิดหาแนวทางแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่แตกต่าง การสร้างสรรค์ผลงาน:...

About ครูออฟ 1553 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.