ขนาดและความละเอียดของภาพ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

จุดประสงค์การเรียนรู้

  • นักเรียนอธิบายวิธีการตั้งค่าการภาพที่มีขนาดตามต้องการในโปรแกรม Photoshop CS6 ได้
  • นักเรียนเลือกใช้ กำหนด ปรับขนาดภาพต้องการในโปรแกรม Photoshop CS6 ได้
  • ใฝ่เรียนรู้  มีความมุ่งมั่นในการทำงาน  และมีความรับผิดชอบ

รู้จักการกำหนดขนาดของงานที่เราต้องการจะสร้าง

File > New หรือกดปุ่ม Ctrl+N ก็ได้ครับ

 ปรากฏหน้าต่าง New ตามภาพด้านล่าง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  Name : นักเรียน สามารถตั้งชื่อไฟล์ที่ต้องการได้ทันที แต่หากยังไม่ต้องการตั้งก็ใช้ชื่อที่ให้มา ได้ก่อน Untitled-1

          Preset : ใช้สำหรับเลือกลักษณะของงานที่คุณต้องการจะทำ เช่น สร้างเว็บไซต์ หรือ ทำรูปภาพ

           Width : กำหนดหน่วยความกว้างให้กับชิ้นงาน (หน่วยด้านหลังเลือกได้หลายลักษณะให้เหมาะสมกับงาน)

          Height : กำหนดความสูงให้กับชิ้นงาน (หน่วยด้านหลังเลือกได้หลายลักษณะให้เหมาะสมกับงาน)

          Resolution : เป็นการกำหนดความละเอียดให้กับชิ้นงานหากเป็นงานเว็บไซต์ 72 pixels/Inch ที่ให้มาก็สามารถใช้งานได้ แต่ถ้าเป็นงานรูปภาพกำหนดเป็น 300 pixels/Inch (ย้ำว่าไม่ใช่สูตรตายตัวนะครับ ลองเอาไปประยุกต์ตามความเหมาะสม)

          Color Mode : เลือกโหมดสีที่ต้องการ หากต้องการทำงานรูปภาพธรรมดาผมเลือก RGB Color แต่ถ้าต้องการทำงานป้ายโฆษณาลองเลือก CMYK ดูสีจะถูกต้องมากกว่า

Background Contents : ค่าเดิมกำหนดมาเป็นสีขาว นอกจากนี้ยังมีค่าอีก 2 ค่าให้เลือก นั่นคือ Background Color (เลือกตามสีพื้นหลัง) และ Transparent (เน้นที่ทำภาพแบบไม่มีพื้นหลัง)

เพียงเท่านี้เราก็กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ เสร็จแล้ว พร้อมสำหรับการทำงานขั้นต่อไป

รู้จักกับค่าความละเอียดของภาพ  (Resolution)

Resolution คือ ค่าความละเอียดของภาพ ๆ หนึ่งซึ่งกำหนดเป็นจำนวนเม็ดสี (pixels) ต่อหนึ่งหน่วยความยาวของภาพ ตัวเช่น หากภาพนั้นมีค่า Resolution = 150 pixels/inches แสดงว่าในพื้นที่ 1 ตารางนิ้วของภาพนั้นประกอบไปด้วยเม็ดสีจำนวน 150 สี (Pixels) เป็นต้น  

ภาพที่มีความละเอียด Resolution ต่ำ(มีจำนวนเม็ดสีน้อย)

ภาพที่มีความละเอียด Resolution สูง (มีจำนวนเม็ดสีมากกว่าในขณะที่มีพื้นที่เท่ากัน)

ทำไมเราต้องกำหนดค่า Resolution

ในการทำงานนั้นจะต้องอ้างอิงถึงค่าอยู่เสมอเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการใช้งานประเภทต่าง ๆ

นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับขนาดไฟล์งานอีกด้วย เพราะงานที่มีค่า Resolution สูงก็จะมีขนาดของไฟล์ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน เช่น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณประมวลผลช้าลงใน

กรณีที่ สเปคเครื่องไม่สูงนักซึ่งหน่วยของ Resolution ที่ใช้กันอยู่ 2 แบบคือ

pixels/inch  จำนวนหรือปริมาณของเม็ดสี   ในพื้นที่ 1 ตารางนิ้ว
pixels/cm    จำนวนหรือปริมาณของเม็ดสี   ในพื้นที่ 1 ตารางเซ็นติเมตร
ค่า   Resolution ที่เรานิยมใช้คือ  จำนวนพิเซลต่อนิ้ว หรือ  pixels/inch  ( ppi )  นั่นเอง

ภาพขนาด  1024×768  Resolution = 300 ppi 
ขนาดไฟล์ 2.87M เมื่อขยาย 200 เท่า

ภาพขนาด  1024×768  Resolution = 72 ppi 
ขนาดไฟล์ 169 k เมื่อขยาย 200 เท่า

นอกจากภาพที่มีค่า Resolution สูงจะใช้ความคมชัดกว่าแล้ว ขนาดไฟล์งานก็จะใหญ่กว่าด้วย

กำหนดค่า  Resolution 

ในการใช้งานทั่วๆ ไปเรามักกำหนดความละเอียดของงานหรือค่า Resolution อยู่ที่ 100-1150 ppi (pixels/inch) แต่สำหรับการทำงานเกี่ยวกับเว็บไซต์นั้น เราจำเป็นต้องใช้งานที่มีความละเอียดน้อยเพื่อให้มีการแสดงผลที่รวดเร็ว จึงมักใช้ค่า Resolution = 72 ppi

สำหรับการออกแบบสิ่งพิมพ์เรามักจะกำหนหดค่า Resolution อยู่ที่ 300-350 ppi เพราะต้องการความคมชัดในการแสดงผลสูง เช่น งานออกแบบสิ่งพิมพ์ งานนิตยสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่ และสมุดภาพการตั้งค่าของ Resolution ให้ไปที่   Image – Image size

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com