กฎหมายทะเบียนราษฎร คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับทะเบียนคนเกิดคนตายทะเบียนบ้านการทำบัตรประจำตัวประชาชน
กฎหมายทะเบียนราษฎรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตมีอยู่ 4 ประการ ครอบคลุม (1) การแจ้งเกิด (2) การแจ้งตาย (3) การย้ายที่อยู่ และ (4) การทำบัตรประจำาตัวประชาชน
1. การแจ้งเกิด เมื่อมีเด็กเกิดจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนในท้องที่ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่เด็กเกิดเมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการเกิดแล้ว จะออกใบสูติบัตรหรือใบแจ้งเกิดไว้เป็นหลักฐาน
2. การแจ้งตาย เมื่อมีคนเสียชีวิต เจ้าบ้านหรือผู้พบศพจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนในท้องที่ ภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาที่เสียชีวิตหรือเวลาที่พบศพเมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการตายแล้วจะออกใบมรณบัตรไว้เป็นหลักฐาน
3. การย้ายที่อยู่ การย้ายที่อยู่มี 2 ประเภท ครอบคลุม (1) การย้ายเข้า และ (2) การย้ายออก
3.1 การย้ายเข้า คือ เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้านให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ย้ายเข้า
3.2 การย้ายออก คือ เมื่อมีผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่ออกจากบ้านให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ย้ายออก
4) การทำบัตรประจำตัวประชาชน บุคคลที่มีสัญชาติไทยต้องมีบัตรประจำาตัวประชาชนเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงตน ใช้ทำธุรกรรมและนิติกรรมต่าง ๆ รวมทั้งใช้พิสูจน์ยืนยันเพื่อรับบริการหรือสวัสดิการ เช่น การรักษาพยาบาลการศึกษา
กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนมีดังนี้
- ผู้มีสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์และมีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วันนับแต่วันที่อายุครบ 7 ปีบริบูรณ์
- บัตรมีอายุใช้ได้ 8 ปีโดยให้นับตั้งแต่วันออกบัตรไปจนครบ 8 ปีบริบูรณ์ เมื่อบัตรหมดอายุผู้ถือบัตรต้องขอมีบัตรใหม่ โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ