มารยาทของสังคมไทย
มารยาทไทยเป็นสิ่งดีงามที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน การแสดงมารยาทไทยให้เหมาะสมกับกาลเทศะถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ทั้งนี้ นอกจากจะทำให้มารยาทไทยยังคงดำรงอยู่ต่อไปแล้ว ยังทำให้ต่างชาติได้เห็น ถึงความเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมอีกด้วย
มารยาทไทยที่สำคัญ ได้แก่
1. การแสดงความเคารพ
การแสดงความเคารพมีหลายลักษณะ เช่น การกราบ การไหว้ การโค้งคำนับ การแสดงความเคารพจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ ผู้ที่จะรับการเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะใดและอยู่ในโอกาสใดจึงจะแสดงความเคารพ ให้เหมาะสม
1.1 การแสดงความเคารพพระรัตนตรัย ปฏิบัติโดยการไหว้หรือ กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ตามความเหมาะสมของสถานที่
• การไหว้ คือ การกระพุ่มมือ ให้ปลายนิ้วมือทั้งสองข้างชิดกัน ฝ่ามือทั้งสอง ประกบกันแนบระหว่างอกไม่กางศอกแล้วยกมือขึ้น พร้อมกับค้อมศีรษะลงให้นิ้วหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้แนบส่วนบนของหน้าผาก
• การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ คือ การใช้อวัยวะทั้ง 5 ได้แก่ หน้าผาก มือและข้อศอกทั้ง 2 และเข่าทั้ง 2 สัมผัสกับพื้น มี 3 จังหวะ ดังนี้
1.2 การแสดงความเคารพต่อบุคคล ปฏิบัติดังนี้
• การไหว้ผู้มีพระคุณ และผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ และผู้ที่เคารพนับถือ ให้ประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อม ศีรษะลง ให้นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้แนบระหว่างคิ้ว
• การไหว้บุคคลทั่วไปที่เคารพนับถือหรือผู้ที่มีอายุมากกว่า เล็กน้อย ให้ประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลง ให้นิ้วหัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วชี้แนบปลายจมูก
• การกราบผู้มีพระคุณและผู้ใหญ่ ที่เคารพนับถือ ผู้กราบทั้งชายและหญิงให้นั่งพับเพียบ ทอดมือทั้งสองข้างลงพร้อมกัน มือประนมตั้งกับพื้น ค้อมตัวลงให้หน้าผากแตะ ส่วนบนของมือที่ประนม กราบ เพียง ๑ ครั้ง ไม่ต้องแบมือ
2. การยืน
2.1 การยืนเคารพธงชาติและเพลงชาติ ให้ยืนตรงแสดงความ เคารพโดยหันหน้าไปทางธงชาติ เมื่อเพลงจบให้ค้อมศีรษะคำานับ
2.2 การยืนสนทนากับผู้ใหญ่ ให้ยืนตรง เท้าชิด ประสานมือกัน อยู่ต่ำกว่าระดับเอว ค้อมตัวเล็กน้อย ไม่ควรยืนชิดหรือห่างผู้ใหญ่จนเกินไป
2.3 การยืนเข้าแถวคอย ให้เข้าแถวอย่างเป็นระเบียบ และเรียงตาม ลำดับก่อน-หลัง
กิจกรรม
3. การเดิน
3.1 การเดินผ่านผู้ใหญ่
• ขณะผู้ใหญ่ยืนให้เดินผ่านระยะห่างพอสมควรในลักษณะ สำรวม ปล่อยมือไว้ข้างลำตัว แล้วค้อมตัวเมื่อใกล้ถึงผู้ใหญ่
• ขณะผู้ใหญ่ นั่งเก้าอี้ ให้เดินผ่านระยะห่างพอสมควร ในลักษณะสำรวม ปล่อยมือไว้ข้าง ลำตัว แล้วค้อมตัวพร้อมกับย่อเข่า เมื่อใกล้ถึงผู้ใหญ่
• ขณะผู้ใหญ่นั่งหรือนอนกับพื้น ให้เดินผ่านระยะห่าง พอสมควรในลักษณะสำรวม เมื่อใกล้ถึงผู้ใหญ่ให้เดินเข่า เมื่อผ่านไปแล้วจึงลุกขึ้นเดิน
3.2 การเดินโดยทั่วไป คือ การเดินด้วยกิริยาที่สุภาพ เรียบร้อยสำารวม ไม่เดินเสียงดังหรือก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้อื่น
4. การนั่ง
4.1 การนั่งเก้าอี้ต่อหน้าผู้ใหญ่ ให้นั่งตัวตรง สำารวมกิริยา มือทั้งสองข้างประสานกันวางบนหน้าขา
4.2 การนั่งพับเพียบต่อหน้าผู้ใหญ่ มือทั้งสองข้างประสานกัน วางไว้บนหน้าขา และเก็บปลายเท้าโดยเบนปลายเท้าเข้าหาสะโพก
5. การนอน
5.1 การนอนหงาย นอนตัวตรง ศีรษะหนุนหมอนให้สูงกว่าลำตัว เล็กน้อย หรือพอประมาณ เท้าและขาทั้งสองชิดกัน มือทั้งสองข้างวางไว้ใต้หน้าอก เล็กน้อย หรือวางมือและแขนทั้งสองข้างแนบลำตัว ปล่อยลักษณะผ่อนคลาย
5.2 การนอนแบบตะแคง นิยมให้นอนตะแคงขวา มือขวา หนุนศีรษะ มือซ้ายแนบลำาตัวส่วนบน เท้าทั้งสองเหยียดตรง โดยเท้าซ้ายทับเท้าขวา เป็นการนอนลักษณะของพระพุทธเจ้าที่ทรงเจริญสติ ทำให้มีสติในการนอน กรณีนอนกับผู้ใหญ่ เช่น บิดา มารดา ควรนอนให้ศีรษะตำ่ากว่าท่าน ไม่ควรนอนเสมอกัน เพื่อเป็นการแสดงความเคารพท่าน
6. การรับของ ส่งของ
6.1 การประเคนสิ่งของ แด่พระภิกษุและการรับสิ่งของจากพระภิกษุการประเคนของแด่พระภิกษุ
• การประเคนสิ่งของแด่พระภิกษุ ถ้าเป็นสิ่งของ ที่ยกได้ให้ใช้สองมือยกแล้วประเคนในระยะหัตถบาส (ระยะห่างไม่เกิน 1 ศอก) ถ้าเป็นผู้ชายประเคนในลักษณะมือต่อมือ ส่วนผู้หญิงต้องวางของบนผ้าที่พระภิกษุทอดรับ จากนั้นจึงกราบและเดินเข่าถอยหลังออกมา
• การรับสิ่งของจากพระภิกษุ ให้เข้าไปใกล้ในระยะ พอประมาณ แล้วแสดงความเคารพ ผู้ชายให้ยื่นมือรับสิ่งของ ผู้หญิงให้เอื้อมมือขวา รับของที่พระภิกษุวางไว้ตรงหน้าด้วยอาการสำรวม
6.2 การส่งของให้ผู้ใหญ่ การรับของจากผู้ใหญ่
• การรับของจากผู้ใหญ่ ควรแสดงความเคารพทุกครั้ง ก่อนรับของ ถ้าเป็นของเบาให้ยื่นมือขวารับ มือซ้ายแนบลำตัว ถ้าเป็นของหนัก ยื่นมือทั้งสองข้างออกรับ
• การส่งของให้ผู้ใหญ่ถ้าเป็นของเบาให้ยื่นสิ่งของด้วยมือขวา ให้ท่านด้วยความสำารวม ถ้าเป็นของหนักยกและยื่นให้ด้วยมือทั้งสองข้าง แล้วถอยกลับมาพอประมาณ ถ้าเป็นงานพิธีให้ทำาความเคารพก่อนกลับไปประจำที่
7. การรับประทานอาหาร
7.1 ถ้านั่งบนเก้าอี้ให้นั่งตัวตรง ไม่เท้าศอกบนโต๊ะอาหาร ถ้านั่งกับพื้น ผู้หญิงนั่งพับเพียบ ผู้ชายนั่งท่าถนัดที่สุภาพ ตัวตรง ไม่เท้าแขนกับพื้น ควรรับประทานอาหารด้วยความสุภาพเรียบร้อย
7.2 ถ้ามีผู้ใหญ่ร่วมรับประทานอาหารให้นั่งรอท่านก่อน และให้ท่านเริ่มรับประทานก่อนจึงรับประทานตาม
7.3 การรับประทานอาหารร่วมโต๊ะให้ใช้ช้อนกลาง ไม่ควรหยิบสิ่งของข้ามหน้าผู้อื่น ควรให้ผู้อยู่ใกล้หยิบให้และกล่าวขอบคุณ
7.4 รับประทานอาหารด้วยอาการที่สุภาพ ไม่มูมมาม ไม่เคี้ยว เสียงดัง และไม่พูดคุยขณะอาหารยังอยู่ในปาก
7.5 เมื่อรับประทานอาหารเสร็จ ให้รวบช้อนส้อม ไม่แสดงอาการอิ่ม โดยการผลักจานออกจากตัว ถ้ารับประทานที่โรงเรียน ควรนำภาชนะไปเก็บไว้ บริเวณที่กำหนด รวบรวมเศษอาหารทิ้งถังขยะ ทำความสะอาดโต๊ะ เก้าอี้ให้เรียบร้อย
8. การแสดงกิริยามารยาท
(๑) การทักทาย มารยาทของสังคมไทยทักทายกันด้วยการแสดงความเคารพ เช่น การยกมือไหว้ผู้อาวุโส และกล่าวคำว่า สวัสดี
(๒) การสนทนา ใช้ถ้อยคำที่สุภาพเรียบร้อย ไม่ควรสนทนาด้วยถ้อยคำที่ดังเกินไป เพราะอาจรบกวนบุคคลอื่นได้ ใช้คำที่แสดงความเคารพต่อกันและควรมีคำลงท้าย เช่น “ครับ” “ค่ะ”
(๓) การใช้คำพูด ควรใช้ให้เหมาะสมกับกาลเทศะ ดังนี้
• การใช้คำาพูดสนทนาและคำาสรรพนามกับพระภิกษุให้เหมาะสมกับสมณศักดิ์และวัยวุฒิของท่าน เช่น หลวงตา หลวงพ่อ หลวงพี่ และใช้คำพูดเรียกตนเองด้วยคำสุภาพ เช่น กระผม ดิฉัน หนู
• การใช้คำพูดกับผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพนับถือ ควรมีคำนำหน้านามแทนท่านเสมอ เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณครู ซึ่งเป็นการให้เกียรติและแสดงความเคารพท่าน และใช้ถ้อยคำสุภาพเรียกตัวเอง เช่น กระผม ผม ฉัน
ดิฉัน หนู
• การใช้ถ้อยคำกับเพื่อน พูดจาด้วยถ้อยคำที่สุภาพต่อกันไม่ใช้ถ้อยคำที่หยาบคายต่อกัน