7. รู้จักข้อมูล ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

จุดประสงค์การเรียนรู้

    1. อธิบายความหมายของข้อมูลได้ถูกต้อง (K)
    2. บอกประเภทของข้อมูลได้ถูกต้อง (K)
    3. ยกตัวอย่างข้อมูลที่อยู่รอบ ๆ ตัวได้ (K)
    4. จำแนกข้อมูลตามประเภทของข้อมูลได้อย่างถูกต้อง (P)
    5. เขียนข้อมูลต่าง ๆ ที่พบภายในโรงเรียนและในชีวิตประจำวันได้ (P)     
    6. เห็นความสำคัญของข้อมูลที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน (A)

สาระการเรียนรู้

– การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น  เปรียบเทียบความสอดคล้อง สมบูรณ์ของข้อมูลจากหลายแหล่ง แหล่งต้นตอของข้อมูล ผู้เขียน  วันที่เผยแพร่ข้อมูล
– ข้อมูลที่ดีต้องมีรายละเอียดครบทุกด้าน เช่น ข้อดี  และข้อเสีย ประโยชน์และโทษ

คำถามประจำเรื่อง

  • ข้อมูลที่อยู่รอบ ๆ ตัวนักเรียนมีอะไรบ้าง
  • นักเรียนคิดว่าข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

ศึกษาจากคลิปยูทูป

 ข้อมูล หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปแบบของตัวเลข ภาษา ภาพสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งข้อมูลที่เราพบเห็นทุกวันนี้มีหลายรูปแบบ เช่น ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง เราสามารถรับรู้ข้อมูลได้จากส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ว่าจะเป็นตา หูจมูก ปาก ผิวสัมผัสร่างกายทั้งร่างกาย

โปรแกรมประมวลผลคํา คือการนำคำหลายคำมาเรียงกันให้อยู่ในรูปแบบที่กำหนดซึ่งเราสามารถกำหนดได้ว่าจะให้มีกี่ตัวอักษรต่อ 1 บรรทัดหรือหน้าละกี่บรรทัด และสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้อย่างสะดวก จากนั้นจึงสั่งพิมพ์เอกสารนั้นออกมากี่ชุดก็ได้ โดยทุกชุดที่ออกมาจากเครื่องพิมพ์ จะมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ

1. ข้อมูลตัวอักษร (ข้อมูลตัวอักขระ)
    ข้อมูลตัวอักษร หมายถึง ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวอักษรทั้งภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ เช่น ชื่อ – นามสกุล ประวัติโรงเรียน เป็นต้น และข้อความที่เป็นตัวเลขซึ่งไม่นำไปใช้ในการคำนวณ เช่น ป้ายทะเบียนรถ บ้านเลขที่ เลขที่บัตรประชาชน เป็นต้น

ที่มา https://sites.google.com/site/thongza2536/reiyn-ru-khxmul/1-2-prapheth-khxng-khxmul

   2. ข้อมูลภาพ
    ข้อมูลภาพ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นภาพในลักษณะต่าง ๆ ที่เรามองเห็นซึ่งอาจเป็นภาพนิ่ง เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย เป็นต้น หรือภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพจากโทรทัศน์ ภาพจากวีดิทัศน์ ภาพจากคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ที่มา https://sites.google.com/site/thongza2536/reiyn-ru-khxmul/1-2-prapheth-khxng-khxmul

 3. ข้อมูลตัวเลข
    ข้อมูลตัวเลข หมายถึง ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวเลข 0 – 9 ที่เราสามารถนำมาใช้คำนวณได้ หรือนำมาประมวลผลได้ เช่น ราคาสินค้า คะแนนสอบวิชาต่าง ๆ จำนวนเงิน เป็นต้น

ที่มา https://sites.google.com/site/thongza2536/reiyn-ru-khxmul/1-2-prapheth-khxng-khxmul

4. ข้อมูลเสียง
    ข้อมูลเสียง หมายถึง ข้อมูลที่เกิดจากการได้ยิน เช่น เสียงคนพูด เสียงสัตว์ร้อง เสียงจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือเสียงจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถแสดงผลข้อมูลในรูปแบบเสียงได้ เช่น แผ่นซีดี โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น

ที่มา https://sites.google.com/site/thongza2536/reiyn-ru-khxmul/1-2-prapheth-khxng-khxmul

   5. ข้อมูลอื่น ๆ 
    ข้อมูลอื่น ๆ หมายถึง ข้อมูลที่นอกเหนือจากข้อมูลทั้ง 4 ประเภท ที่กล่าวมาแล้ว เช่น ข้อมูลกลิ่น ข้อมูลรสชาติ ข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิ เป็นต้น

ที่มา https://sites.google.com/site/thongza2536/reiyn-ru-khxmul/1-2-prapheth-khxng-khxmul

ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือจะต้องมีลักษณะดังนี้ มีหลักฐานรวบรวมข้อมูลไว้ชัดเจนโดยจะได้มาจากตำราที่มีผู้เขียนหรือมีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1547 Articles
https://www.kruaof.com