จุดประสงค์การเรียนรู้
- อธิบายกระบวนการทำงานหรือการแก้ปัญหา โดยใช้แนวคิดแบบต่าง ๆ ได้ (K)
- ออกแบบกระบวนการทำงานหรือการแก้ปัญหา โดยใช้แนวคิดแบบต่าง ๆ ได้ (P)
- ยกตัวอย่างการแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดการทำงานแบบต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ (A)
สาระสำคัญ
แนวคิดในการแก้ปัญหา คือแนวคิดที่ใช้ในการพิจารณากระบวนการทำงานหรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน ช่วยให้การทำงานและการแก้ปัญหาสามารถทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ โดยแนวคิดในการแก้ปัญหามี 3 รูปแบบคือ แนวคิดการทำงานแบบลำดับ แนวคิดการทำงานแบบวนซ้ำ และแนวคิดการทำงานแบบมีเงื่อนไข
จากตัวอย่างการทำความสะอาดห้องนอนของปูนั้น ปูจะเริ่ม
ทำความสะอาดจากบริเวณที่อยู่สูงก่อน แล้วจึงไล่ลงมาจนถึงบริเวณที่อยู่ต่ำสุด ซึ่งการทำงานแบบนี้เป็นการทำงานที่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงานก่อน-หลังอย่างชัดเจน โดยจะต้องทำงานในขั้นตอนแรกให้สำเร็จก่อนแล้วจึงจะทำงานในขั้นตอนถัดไป
การแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดการทำงานแบบมีเงื่อนไขนักเรียนจะต้องเข้าใจเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดไว้ให้ชัดเจนก่อน แล้วจึงนำเหตุผลเชิงตรรกะมาช่วยในการพิจารณาแก้ไขปัญหา
เมื่อนักเรียนทราบแล้วว่า ขยะแต่ละชนิดเป็นขยะประเภทใด นักเรียนก็จะสามารถแยกขยะลงในถังขยะที่รองรับได้ เช่น ขยะกระดาษ เป็นขยะที่สามารถรีไซเคิลได้จึงต้องทิ้งลงในถังสีเหลืองหรือขยะเศษอาหารเป็นขยะที่สามารถย่อยสลายได้จึงต้องทิ้งลงในถังสีเขียว
แนวคิดการทำงานแบบวนซ้ำมีทั้งแบบที่มีจำนวนครั้งแน่นอนและไม่แน่นอน
ภาพด้านบนเป็นการทำงานที่มีลักษณะเดียวกันหลายๆ ครั้ง ซึ่งสามารถนำมาเขียนเป็นการทำงานแบบวนซ้ำได้ดังภาพด้านล่าง
ภาพด้านบนเป็นภาพที่แสดงถึงการใช้ขันตักน้ำอาบโดยไม่ทราบจำนวนครั้งว่า จะต้องใช้ขันตักน้ำกี่ครั้งเพื่ออาบน้ำจนกว่าสบู่จะหมด ดังนั้นจึงสามารถนำมาเขียนเป็นการทำงานแบบวนซ้ำได้ดังภาพด้านล่าง