ADDIE Model คืออะไร

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ADDIE Model เป็นกระบวนการที่ใช้โดยนักพัฒนาการฝึกอบรมและนักออกแบบการสอนหรือ e-learning เพื่อออกแบบและสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือการออกแบบให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ด้วยการวิเคราะห์ที่สาเหตุของปัญหา คิดค้นขึ้นโดย ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดา  ถือเป็นรูปแบบที่ใช้กันมากที่สุดสําหรับการออกแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน เชื่อมโยงกันและแบบจําลองสามารถปรับให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อม และได้รับการยอมรับว่ามีคุณค่าอย่างเหลือเชื่อสําหรับการออกแบบการสอนที่ซับซ้อนและมีขนาดใหญ่

ADDIE Model

ADDIE Model ประกอบด้วยกัน 5 ขั้นตอน ครอบคลุม 1. การวิเคราะห์ 2. การออกแบบ 3. การพัฒนา 4. นำไปใช้ และ 5. การประเมินผล

1. ขั้นตอนการวิเคราะห์  จะทำการวิเคราะห์ด้วยกัน 5 ด้าน ครอบคลุม 1. วิเคราะห์ความจำเป็น 2. วิเคราะห์เนื้อหา 3. วิเคราห์ผู้เรียน 4. วิเคราห์วัตถุประสงค์ เป้าหมายของการเรียนรู้ และ 5. วิเคราะห์สภาพแวดล้อม

  • วิเคราะห์ความจำเป็น คือการวิเคราะห์ถึงคราวที่มีความจำเป็นในการพัฒนาด้านบทเรียน รายวิชา หรือเนื้อหาที่มีความจำเป็นนั้น ๆ ในการนำมาพัฒนาก่อนเป็นอันดับแรก โดยการวิเคราะห์นี้จะได้มาจากการสัมภาษณ์หรือตอบแบบสอบถามของตัวผู้สอนเองและผู้ที่ศึกษา 
  • วิเคราะห์เนื้อหาหรือกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นการแบ่งเนื้อหาที่สำคัญออกเป็นหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย และอาจใช้แผนผังความคิดในการสรุปเนื้อหา โดยเอาเนื้อหาที่ยาก ๆ หรือเนื้อหาที่ผู้เรียนไม่เข้าใจหรือเข้าใจยาก มาพัฒนาก่อน จากนั้นให้กิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาของส่วนนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและเกิดเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • วิเคราะห์ผู้เรียน คือการพิจารณาข้อมูลผู้ใช้บทเรียนหรือผู้เรียน เช่น ระดับชั้น อายุ ระดับความรู้ ความรู้พื้นฐาน เป็นต้น เพื่อจะได้ออกแบบสร้างบทเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนหรือกลุ่มเป้าหมายนั้น ๆ ให้มีประสิทธิภาพ
  • วิเคราะห์ประสงค์ คือการกำหนดวัตุประสงค์ของการเรียนรู้นั้น ๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการออกแบบบทเรียน ถ้าต้องการให้ตัวผู้เรียนเกิดมีความรู้และความเข้าใจ ก็สามารถออกแบบเนื้อหาไปทีละหน้า แต่ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดหรือทักษะอื่น ๆ  ก็ออกแบบบทเรียนในการนำเสนอรูปแบบต่าง ๆ อย่างเช่น การตั้งคำถาม เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง และต้องช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาคำตอบสรุปความได้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นไปตามที่เราได้ตั้งวัตถุประสงค์การเรียนการสอนของนั้น ๆ
  • วิเคราะห์สภาพแวดล้อม คือพิจารณาอุปกรณ์การเรียนการสอน หรืออุปกรณ์สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน แช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น

2. ขั้นตอนการออกแบบ ในการออกแบบจะมี 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  • การเขียนผังงาน คือ ออกแบบสตรี่บอร์ด เพื่อจัดลำดับความสัมพันธ์ของแต่ละเนื้อหาแต่ละส่วนนั้น ๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว กราฟิก เป็นต้น
  • ออกแบบหน้าจอภาพ คือการจัดพื้นที่และองค์ประกอบของรูปภาพ เพื่อนำเอาไปใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ตัวอังกษร ภาพ กราฟิก เสียง สี ปุ่มนำทาง และอื่น ๆ ให้เหมะสมกับการเรียนรู้ของผู้เรียน 

3. ขั้นตอนการพัฒนา เป็นส่วนดำเนินการสร้างบทเรียนให้เป็นไปตามแผนงาน และออกแบบต่าง ๆ โดยจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิชาการ ที่เป็นผู้สอนหรือผู้ให้ข้อมูลเพื่อตรวจความถูกต้อง กับนักเทคโนโลยีด้านการศึกษา ก็จะทำหน้าที่เป็นออกแบบการเรียนการสอน เป็นต้น

4. ขั้นการนำไปใช้ คือ การนำบทเรียนไปใช้ ควรนำเสนอบทเรียนผ่านระบบบริหารการจัดการเรียนการสอนเผยแพร่ทางระบบเครือข่าย และไปสนับสนุนการเรียนของผู้เรียนหรือผู้ใช้งาน 

5. ขั้นตอนการประเมิน คือ การประเมินสื่อหรือบทเรียน ประกอบด้วยกัน 3 ประการครอบคลุม 1. ประเมินด้านการออกแบบ 2. ประเมินด้านเนื้อหา 3. ประเมินด้านการวัดผลประเมินผล และ 4. ประเมินความพึงพอใจของการใช้บทเรียน

  • ด้านการออกแบบของตัวบทเรียน เทคนิคการนำเสนอ
  • ด้านเนื้อหาว่ามีความสอดคล้องกับเนื้อหาวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้หรือไม่
  • ด้านผลการเรียน คือ ให้ประเมินแบบทดสอบผ่านหรือไม่
  • ประเมินความพึงพอใจในการเรียน หรือบทเรียนนั้น ๆ 

เพื่อจะได้ข้อมูลประเมินเอาไปปรับปรุงให้บทเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดังนั้น การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนโดยใช้ ADDIE Model ที่ใช้ในการออกแบบหรือ e-Learning จะประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ก็คือ 1. การวิเคราะห์ 2. การออกแบบ 3. การพัฒนา 4. การนำไปใช้ และ 5. การประเมินผล ซึ่งในการออกแบบนี้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพอีกด้วย

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com