เราจะนำกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง
ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรรม ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่จำเป็นจะต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ คล้าย ๆ กับเป็นของวิเศษในกระเป๋าของโดเรมอน ให้ผู้เรียนสามารถได้ใช้จินตนาการอย่างเต็มที่ และเนื่องจากข้อจำกัดของเทคโนโลยี และทักษะการใช้เครื่องมือในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียนอาจจะยังไม่มากพอ จึงไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้
กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เป็นขั้นตอนที่นำมาใช้ในดำเนินการ เพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ ซึ่งกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 ระบุปัญหา (Problem Identification)
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Related Information Search)
ขั้นที่ 3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Solution Design)
ขั้นที่ 4 วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา (Planning and Development)
ขั้นที่ 5 ทดสอบ ประมินผลและปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Testing, Evaluation and Design Improvement)
ขั้นที่ 6 นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Presentation)
โดย ขั้นที่ 1 ระบุปัญหา (Problem Identification) เป็นขั้นตอนที่ผู้แก้ปัญหาทำความเข้าใจในสิ่งที่พบเป็นปัญหาในชีวิตประจำวันซึ่งสามารถใช้ทักษะการตั้งคำถามด้วยหลัก 5W1H เมื่อเกิดปัญหาหรือความต้องการคำถามจากหลัก 5W1H ซึ่งประกอบด้วย
Who เป็นการตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับบุคคลปัญหาหรือความต้องการ
What เป็นการตั้งคำถามว่าอะไรคือปัญหาหรือความต้องการจากสถานการณ์นั้น ๆ
When เป็นการตั้งคำถามเกี่ยวกับปัญหาหรือความต้องการของสถานการณ์นั้นว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด
Where เป็นการตั้งคำถามปัญหาหรือความต้องการของสถานการณ์นั้นว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน
Why เป็นการตั้งคำถามเพื่อวิเคราะห์สาเหตุว่าทำไมถึงเกิดปัญหาหรือความต้องการ
How เป็นการตั้งคำถามเพื่อวิเคราะห์หาแนวทางหรือวิธีการแก้ปัญหานั้นว่าจะสามารถทำได้ด้วยวิธีการอย่างไร
โดยสรุป หลักการ 5W1H ก็คือ การสรุปประเด็นของปัญหา ว่าปัญหาคืออะไร ปัญหาสนองความต้องการกับใคร ปัญหาเกิดขึ้นที่ไหน ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อไร ทำไมจึงต้องเเก้ปัญหา และจะแก้ปัญหาอย่างไร