การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่เน้นศึกษาความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Naturalism) และปรากฏการณ์ (Phenomenalism) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคมอย่างลุ่มลึก เข้าใจความหมาย กระบวนการความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ฯลฯ เพื่อรู้ลึก รู้จริง ของสิ่งที่ศึกษา โดยเน้นการพรรณนา วิเคราะห์และเชื่อมโยงเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่เน้นอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคนและสังคม ที่ต้องการคําตอบว่า ทําไม และอย่างไร มากกว่า ที่จะบอกว่า ใครทําอะไร มีจุดเด่นที่แตกต่างจากการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ได้ผลการวิจัยในเชิงลึกเฉพาะกรณี ไม่เน้นการอ้างอิงไปยังประชากรกลุ่มอื่นๆ (Generalization) กลุ่มตัวอย่างไม่มากเน้นการศึกษาที่เลือกเฉพาะกลุ่มที่ให้ข้อมูลสําคัญ (Key Informant) เป็นการศึกษาที่ให้ความสนใจบริบทของสิ่งที่ศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ (Stakeholders) เน้นการนําเสนอผลการวิจัยมีสีสันโดยการเล่าเรื่อง (Narrative) ทําให้น่าสนใจเพราะคนส่วนใหญ่มักสนใจอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวของคนและสิ่งต่างๆ รอบตัว เป็นการวิจัยที่ไม่ให้น้ำหนักกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณมากนักจึงไม่จําเป็นต้องใช้สถิติขั้นสูงมาช่วยอธิบาย ดําเนินวิจัยไปได้อย่างอิสระโดยทําในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ (Naturalistic) และเน้นการศึกษาวิจัยภาคสนามทําให้ได้รายละเอียดของข้อมูลและผลสรุปที่ละเอียดรอบด้าน ใช้ตรรกะแบบอุปมานเป็นหลักเพื่อทําความเข้าใจแบบองค์รวม (Holistic) มีความยืดหยุ่น (Flexibility) ในการออกแบบวิจัย จึงไม่นิยมเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย และนักวิจัยเป็นเครื่องมือที่สําคัญที่สุด ข้อจํากัดของการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ เป็นการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก ไม่เน้นการสรุปอ้างอิงจากกลุ่มเล็กไปสู่กลุ่มใหญ่ ผลการวิจัยจึงไม่แพร่กระจายและมักใช้ประโยชน์ได้เฉพาะกลุ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูลไม่แกร่งเหมือนข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นค่าสถิติหรือตัวเลข เพราะเน้นข้อมูลที่เป็นข้อความ คําพูด รูปภาพ ของจริง ร่องรอย หรือหลักฐานต่างๆ และ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การตีความเชิงเหตุผลหรือให้เหตุผลในเชิงตรรกะ (Logic Reasoning) ซึ่งต้องใช้การแปลความหมายด้วย เทคนิคค่อนข้างสูง ซึ่งหากวิเคราะห์ไม่ดีจะทําให้ผลการวิจัยขาดความน่าเชื่อถือหรือบิดเบือนไปจากความจริง (สุบิน ยุระรัช. 2559 : 11)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีในบล็อกคำสั่งของโปรแกรมภาษาสแครช

สีของบล็อกคำสั่งใน Scratch จะแบ่งออกเป็นกลุ่มหลักๆ ดังนี้: สีม่วง: บล็อกควบคุม (Control) เช่น เมื่อคลิกธงเขียว, รอ, ทำซ้ำ สีส้ม: บล็อกการมองเห็น (Looks) เช่น พูด, เปลี่ยนชุด, เปลี่ยนขนาด สีฟ้า: บล็อกเสียง (Sound) เช่น เล่นเสียง,...

4.1.1 รู้จักกับโปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPoint

Microsoft PowerPoint คืออะไร? Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างงานนำเสนอ (Presentation) โดยมีลักษณะเป็นสไลด์ (Slide) แต่ละแผ่น ซึ่งสามารถใส่ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เสียง และองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ PowerPoint มีประโยชน์อย่างไร สร้างงานนำเสนอที่น่าสนใจ: ช่วยให้นักเรียนนำเสนอรายงาน...

วิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี

การสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เพราะโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว การใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติและสร้างสรรค์ จะช่วยให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดและหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบ นี่คือวิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี: 1. กำหนดเวลา: ตั้งเวลา: กำหนดเวลาที่ชัดเจนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง เช่น 1 ชั่วโมงต่อวัน ใช้แอปพลิเคชันช่วย: มีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยในการติดตามและจำกัดเวลาการใช้งานโซเชียลมีเดีย 2. สร้างกิจวัตร: หาอะไรทำ: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย พบปะเพื่อน เพื่อลดเวลาที่ใช้ไปกับโซเชียลมีเดีย วางแผนวัน: วางแผนกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน...

วิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO (Fear of Missing Out) บนโซเชียลมีเดีย

ความรู้สึก FOMO หรือกลัวว่าจะพลาดอะไรดีๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวบนโซเชียลมีเดียนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่การปล่อยให้ความรู้สึกนี้ครอบงำชีวิตประจำวันมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตได้ ดังนั้น มาลองดูวิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO กันค่ะ 1. ตระหนักถึงความเป็นจริง: ภาพที่เห็นบนโซเชียลมีเดียไม่ใช่ชีวิตจริงทั้งหมด: สิ่งที่เราเห็นบนโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคนอื่นๆ การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆ บนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกด้อยค่า ทุกคนมีช่วงเวลาที่ดีและไม่ดี: ไม่มีใครมีความสุขตลอดเวลา การเห็นคนอื่นมีความสุขตลอดเวลาบนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตของตัวเองไม่ดีพอ 2. จำกัดเวลาในการใช้โซเชียลมีเดีย: กำหนดเวลา: ตั้งเวลาที่แน่นอนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง สร้างกิจวัตร: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ...

About ครูออฟ 1632 Articles
https://www.kruaof.com