ขั้นตอนสําคัญของการดําเนินงานวิจัย

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ในการวิจัยแต่ละประเภทอาจมีขั้นตอนแตกต่างกันไป ในที่นี้จะกล่าวถึงขั้นตอนโดยทั่วไป ซึ่งไม่ได้หมายคลุมไปถึงว่าการวิจัยทุกประเภทต้องมีขั้นตอนตามที่จะกล่าวต่อไปนี้ทุกประการ

  1. เลือกหัวข้อปัญหาในขั้นแรกผู้วิจัยจะต้องตกลงใจให้แน่ชัดเสียก่อนว่าจะวิจัยเรื่องอะไร ซึ่งจะต้องพิจารณาให้รอบคอบด้วยความมั่นใจ
  2. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัยหลังจากที่กําหนดเรื่องที่จะวิจัยแล้วจะต้องศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยโดยศึกษาสาระความรู้แนวความคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นในสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น ตําราหนังสือวารสารรายงานการวิจัยและเอกสารอื่นๆและสื่ออิเลคทรอนิกส์ เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต สําหรับผลงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้ทราบว่ามีใครวิจัยในแง่มุมใดไปแล้วบ้างมีผลการค้นพบอะไรมีวิธีดําเนินการใช้เครื่องมือและเทคนิคการวิเคราะห์เช่นไร ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้ทําการวิจัยได้อย่างเหมาะสมรัดกุมไม่ซ้ําซ้อนกับที่คนอื่นได้ทําไปแล้วและช่วยให้ตั้งสมมุติฐานได้อย่างสมเหตุสมผล (กรณีที่มีสมมุติฐาน)
  3. เขียนเค้าโครงการวิจัยซึ่งจะประกอบด้วยส่วนที่เป็นภูมิหลังหรือที่มาของปัญหาความมุ่งหมายของการวิจัยขอบเขตของการวิจัยตัวแปรต่างๆที่วิจัย (กรณีที่ศึกษาเกี่ยวกับตัวแปร) คํานิยามศัพท์เฉพาะ (กรณีที่จําเป็น) สมมุติฐานในการวิจัย (ถ้ามี) วิธีดําเนินการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (ถ้ามี) รูปแบบการวิจัยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล (ถ้ามี) สําหรับส่วนที่กล่าวถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนี้อาจแยกกล่าวต่างหากหรืออยู่ในส่วนที่เป็นภูมิหลังก็ได้
  4. สร้างเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ดําเนินการสร้างตามหลักและขั้นตอนของการสร้างเครื่องมือประเภทนั้นๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องศึกษาวิธีสร้างเครื่องมือลักษณะธรรมชาติและโครงสร้างของสิ่งที่จะวัด การเขียนข้อความหรือข้อคําถามต่างๆ การให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาแก้ไขการทดลองและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การปรับปรุงเป็นเครื่องมือฉบับจริง เป็นต้น อย่างไรก็ตามผู้วิจัยไม่จําเป็นจะต้องสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเองเสมอไป กรณีที่ทราบว่ามีเครื่องมือที่มีผู้สร้างเป็นมาตรฐานไว้แล้วอาจยืมเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ได้ ถ้าสงสัยในเรื่องความเชื่อมั่นของเครื่องมือเนื่องจากสร้างไว้นานแล้ว ก็อาจนํามาทดลองใช้ที่เป็นมาตรฐาน และตรงกับกลุ่มที่จะทําวิจัย ก็อาจยืมเครื่องมือนั้นและวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพบว่ามีความเชื่อมั่นเข้าเกณฑ์ก็นํามาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้ การวิจัยบางเรื่องอาจไม่ใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลที่เป็นแบบแผนก็จะตัดขั้นตอนนี้ออกไปได้
  5. เลือกกลุ่มตัวอย่างในกรณีที่ไม่ได้ศึกษาจากประชากร แต่จะศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างก็ทําการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามวิธีการที่ได้กําหนดไว้ในขั้นที่ 3 ในการวิจัยบางเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกกลุ่มตัวอย่างก็จะตัดขั้นตอนนี้ออก
  6. เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือหรือเทคนิคต่าง ๆ ที่ได้กําหนดไว้ในขั้นที่ 4 ซึ่งอาจ เป็นแบบสอบถามการสังเกตการณ์หรือการสัมภาษณ์ ฯลฯ กรณีวิจัยเชิงทดลองจะดําเนินการทดลอง สังเกตและวัดผลด้วยฃ
  7. จัดกระทํากับข้อมูลโดยอาจนํามาจัดเข้าตารางวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบสมมุติฐานหรือ นํามาวิเคราะห์ตามทฤษฎีต่างๆ ตามวิธีการของการวิจัยเรื่องนััน
  8. ตีความผลการวิเคราะห์จากผลการวิเคราะห์ในขั้นที่ 7 ผู้วิจัยพิจารณาตีความผลการวิเคราะห์
  9. เขียนรายงานการวิจัยจัดพิมพ์และเผยแพร่ ขั้นนี้เป็นขั้นสุดท้ายของการวิจัยผู้วิจัย จะต้องเขียนรายงานตามรูปแบบของการเขียนรายงานการวิจัยเผยแพร่ประเภทนั้นๆ ทําการเผยแพร่โดย ลงในวารสาร ทั้งในรูปสิ่งพิมพ์ และใน internet เพื่อให้คนอื่นได้ศึกษา
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว

การปกป้องข้อมูลส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่หวังดีนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ไม่ดี เรามีวิธีหลายอย่างในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเรา วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า: ไม่บอกชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ให้กับคนที่เราไม่รู้จัก ไม่นัดเจอคนที่เราคุยด้วยทางอินเทอร์เน็ต หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ระมัดระวังในการพูดคุยกับคนแปลกหน้าในเกมออนไลน์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย: ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก โดยใช้ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน ไม่ใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายบัญชี เก็บรักษารหัสผ่านเป็นความลับ ไม่บอกให้ใครรู้ ระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ต: ไม่คลิกลิงก์ หรือเปิดไฟล์แนบจากอีเมล หรือข้อความที่ไม่รู้จัก ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในโซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่างๆ บอกผู้ปกครองหรือคุณครู เมื่อเจอสิ่งผิดปกติ: หากมีคนแปลกหน้าทักมา หรือขอข้อมูลส่วนตัวของเรา หากเจอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หรือน่ากลัวบนอินเทอร์เน็ต หากถูกกลั่นแกล้ง...

ทำไมเราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว?

ข้อมูลส่วนตัวของเรานั้นสำคัญมาก เหมือนกับกุญแจที่ใช้เปิดบ้าน ถ้ามีคนที่ไม่หวังดีได้กุญแจไป เขาอาจจะเข้ามาในบ้านของเราและทำสิ่งที่ไม่ดีได้ ข้อมูลส่วนตัวก็เช่นกัน ถ้าคนที่ไม่หวังดีได้ข้อมูลส่วนตัวของเราไป เขาอาจจะนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี ทำให้เราเดือดร้อนได้ เหตุผลที่เราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ป้องกันการถูกแอบอ้าง: คนที่ไม่หวังดีอาจนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้แอบอ้างเป็นตัวเรา เช่น สมัครบัญชีออนไลน์ หรือทำธุรกรรมต่างๆ ในชื่อของเรา ทำให้เราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เราไม่ได้ทำ ป้องกันการถูกหลอกลวง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการหลอกลวง เช่น ส่งอีเมลหรือข้อความหลอกลวงให้เราโอนเงิน หรือให้ข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติม ป้องกันการถูกกลั่นแกล้ง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เช่น เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเราให้คนอื่นรู้ หรือใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการสร้างข่าวลือที่ไม่ดี ป้องกันการถูกขโมยข้อมูล: คนที่ไม่หวังดีอาจขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราไปขาย หรือนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน: ข้อมูลส่วนตัวบางอย่างเช่น...

ข้อมูลส่วนตัวคืออะไร?

ข้อมูลส่วนตัว คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเราได้ ข้อมูลเหล่านี้สำคัญมาก เพราะหากมีคนรู้ข้อมูลส่วนตัวของเรา อาจนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ ตัวอย่างข้อมูลส่วนตัว: ชื่อ-นามสกุล: ชื่อจริงและนามสกุลของเรา ที่อยู่: บ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ เบอร์โทรศัพท์: เบอร์โทรศัพท์บ้านหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือของเรา วันเดือนปีเกิด: วัน เดือน และปีที่เราเกิด รูปภาพ: รูปถ่ายของเรา ข้อมูลโรงเรียน: ชื่อโรงเรียน ชั้นเรียน...

พัฒนาอินโฟกราฟิกให้ปัง! ด้วยการรับฟังและปรับปรุงผลงาน

ความสำคัญของการรับฟังความคิดเห็น: ช่วยให้เข้าใจมุมมองและความต้องการของผู้ฟัง ช่วยให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของผลงาน ช่วยให้สามารถปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น: 1. เปิดใจรับฟัง: ตั้งใจฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างตั้งใจ หลีกเลี่ยงการโต้แย้งหรือตัดสินความคิดเห็น 2. จดบันทึก: จดบันทึกความคิดเห็นที่สำคัญ เพื่อนำมาพิจารณา 3. วิเคราะห์ความคิดเห็น: แยกแยะความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ พิจารณาว่าความคิดเห็นใดที่สามารถนำมาปรับปรุงผลงานได้ 4. ปรับปรุงผลงาน: นำความคิดเห็นที่ได้มาปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ทดสอบผลงานที่ปรับปรุงแล้วกับกลุ่มเป้าหมาย 5. ขอบคุณผู้ให้ความคิดเห็น: แสดงความขอบคุณต่อผู้ที่ให้ความคิดเห็น แสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นของพวกเขาได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ เทคนิคการรับฟังความคิดเห็น: ตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ แสดงความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ฟัง สรุปความคิดเห็นของผู้ฟัง เพื่อให้แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้อง ขอคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน การนำเสนอผลงาน และรับฟังความคิดเห็น หลังจากนำเสนอผลงาน Infographic เสร็จ ควรเปิดโอกาศให้ผู้ร่วมรับชมผลงานนั้น ได้แสดงความคิดเห็น จดบันทึกคำถาม และข้อสงสัยต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขผลงาน กิจกรรม: ให้นักเรียนนำเสนออินโฟกราฟิกที่ตนเองสร้าง และรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนๆ หรือครู ให้นักเรียนปรับปรุงอินโฟกราฟิกของตนเองตามความคิดเห็นที่ได้รับ ให้นักเรียนสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงผลงาน คำถามทบทวน: ทำไมการรับฟังความคิดเห็นจึงสำคัญ? มีขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นอย่างไร? มีเทคนิคอะไรบ้างในการรับฟังความคิดเห็น?...

About ครูออฟ 1711 Articles
https://www.kruaof.com