การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) คือ หลักการและแนวคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมร่วมกับการฝึกคิดหลากหลายมิติ จนเกิดองค์ความรู์ในเรื่องที่ทํานั้นอย่างลึกซึ้ง ดังที่ Bonwell & Eison (1991) ได้ให้คําจํากัดความไว้ว่า Active Learning is Instructional Activities involving students in doing things and thinking about what they are doing ปัจจุบัน Active Learning ถูกแปลความหมาย และใช้คําในภาษาไทยหลายคํา อาทิ การเรียนรู้เชิงรุก การเรียนรู้แบบกระตือรือร้น การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ โดยมีลักษณะที่สําคัญ (นนทลี พรธาดาวิทย์, 2559: 26-27) ดังนี้

  1. ผู้สอนควรกําหนด เป้าประสงค์ (Purposive) โดยเป้าประสงค์นั้นควรสัมพันธ์กับกิจกรรม/งานที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เน้นการพัฒนาทักษะผู้เรียนมากกว่าการเนื้อหาเน้นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. ผู้เรียนควรมีส่วนร่วมในการกําหนดแนวคิด การวางแผนการเรียนรู้ การยอมรับ การประเมินผลและการนําเสนอผลงาน
  3. วิธีการจัดการเรียนรู้สามารถสะท้อน สิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้ได้จากกิจกรรม และสามารถผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับจากผู้สอนทันทีทันใดในการทํากิจกรรม
  4. ควรมีกิจกรรมการเจรจาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
  5. ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่ผู้เรียนชื่นชอบ และไม่ชอบ รวมทั้ง
    วิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหาในการเรียนรู้
  6. ผู้สอนต้องออกแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจ และความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน แต่ละกิจกรรม ที่ทําต้องมีความหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงแก้ปัญหาได้ตามสภาพจริง (Authentic Situation)
  7. การจัดการเรียนรู้ที่มีการสร้างสถานการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดในระดับสูง (Higher Order Thinking) ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือสถานการณ์นั้น
  8. การจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียน กับชีวิตจริง หรือสถานการณ์จริงรวมถึงการบูรณาการวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
  9. การจัดการเรียนรู้ที่ทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเรียนเหมือนไม่เรียน สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ จัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการทํางานร่วมกับผู้อื่น ใช้กระบวนการกลุ่ม และมีการประเมินผลที่หลากหลายทั้งตัวผู้เรียน เพื่อนและผู้สอน
  10. การจัดการเรียนรู้ที่ไม่จํากัดเฉพาะการเรียนรู้ภายในห้องเรียน สามารถเรียนรู้ได้ทุก สถานการณ์ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน ที่บ้าน และสามารถเรียนรู้ได้จากบุคคลทุกคนที่เกี่ยวข้องทํา ให้ความรู้ไม่มีขอบเขตจํากัด
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

แนวคิดเชิงนามธรรม: แกะเปลือกปัญหาเพื่อเข้าถึงแก่นแท้

แนวคิดเชิงนามธรรมเป็นมากกว่าการประเมินความสำคัญของปัญหา มันเป็นกระบวนการที่ช่วยให้เรา มองข้ามรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อ เห็นภาพรวม หรือ แก่นแท้ ของปัญหาอย่างชัดเจนขึ้น ลองเปรียบเทียบกับการปอกผลไม้: เปลือกผลไม้: แทน รายละเอียดปลีกย่อย หรือข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา เนื้อผลไม้: คือ แก่นแท้ของปัญหา หรือข้อมูลที่สำคัญที่เราต้องการนำมาใช้ในการวิเคราะห์และแก้ไข ทำไมแนวคิดเชิงนามธรรมจึงสำคัญ? ช่วยให้เข้าใจปัญหาได้ง่ายขึ้น: เมื่อเราตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไป จะทำให้เราเห็นภาพรวมของปัญหาได้ชัดเจนขึ้น และเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาได้ง่ายขึ้น ช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ: เมื่อเราเข้าใจแก่นแท้ของปัญหาแล้ว ก็จะสามารถเลือกวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมได้อย่างตรงจุด และประหยัดเวลาและทรัพยากรมากขึ้น ช่วยให้สื่อสารปัญหาได้อย่างชัดเจน:...

การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลตามข้อตกลงการใช้: เข้าใจและปฏิบัติตามสัญญา Creative Commons

สัญญา Creative Commons (CC) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถกำหนดเงื่อนไขการใช้งานผลงานของตนได้อย่างชัดเจน โดยอนุญาตให้ผู้อื่นนำผลงานไปใช้ต่อได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประเภทของสัญญา CC ทำไมต้องเข้าใจสัญญา Creative Commons? หลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์: การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลโดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ อาจถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้ ให้เครดิตผู้สร้าง: การให้เครดิตผู้สร้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญา CC เป็นการแสดงความเคารพต่อผู้สร้างสรรค์ผลงาน ส่งเสริมการแบ่งปันความรู้: การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลที่ได้รับอนุญาตภายใต้สัญญา CC ช่วยให้เกิดการเผยแพร่ความรู้และข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ประเภทของสัญญา Creative Commons สัญญา...

ผลกระทบ แนวทางป้องกัน และวิธีการแก้ปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างแยกไม่ออก การใช้งานอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ นำมาซึ่งความสะดวกสบายและประสิทธิภาพในการทำงานและการสื่อสาร แต่ในขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบหากเราไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่ปลอดภัย การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว: เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลส่วนบุคคล อาจนำไปสู่การถูกหลอกลวงหรือการใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด การถูกแฮ็ก: ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจเข้าควบคุมอุปกรณ์ของเราเพื่อขโมยข้อมูลหรือทำลายระบบ การถูกคุกคามทางออนไลน์: เช่น การถูกกลั่นแกล้ง การถูกคุกคาม หรือการถูกข่มขู่ การติดไวรัส: โปรแกรมที่เป็นอันตรายอาจเข้ามาทำลายระบบคอมพิวเตอร์หรือขโมยข้อมูล การเสพติดอินเทอร์เน็ต: การใช้เวลากับอุปกรณ์ดิจิทัลมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจ แนวทางป้องกัน สร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง: ใช้รหัสผ่านที่ประกอบด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ ตัวเล็ก...

วิธีการป้องกันความเป็นส่วนตัวและข้อมูลของตนเองในยุคดิจิทัล

ในยุคที่ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญและมีมูลค่าสูง การรักษาความเป็นส่วนตัวและปกป้องข้อมูลของตนเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อไปนี้คือวิธีการป้องกันที่คุณสามารถทำได้: การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวบนโซเชียลมีเดียและแอปพลิเคชัน จำกัดการเข้าถึงข้อมูล: ปรับตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้แคบลง ใครบ้างที่สามารถเห็นโพสต์ รูปภาพ หรือข้อมูลส่วนตัวของคุณ ตรวจสอบแอปพลิเคชันที่ขออนุญาตเข้าถึงข้อมูล: ก่อนอนุญาตให้แอปพลิเคชันเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว เช่น สถานที่ตั้ง รายชื่อติดต่อ หรือรูปภาพ ควรพิจารณาให้รอบคอบว่าจำเป็นต้องให้สิทธิ์เหล่านั้นหรือไม่ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเป็นประจำ: บริษัทเทคโนโลยีมักมีการปรับเปลี่ยนนโยบายความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอ จึงควรตรวจสอบและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าเป็นประจำ การสร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง หลีกเลี่ยงการใช้รหัสผ่านซ้ำ: ไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับบัญชีต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ซับซ้อน: รวมตัวอักษรใหญ่เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ ใช้ตัวจัดการรหัสผ่าน: ช่วยในการจัดเก็บรหัสผ่านที่ซับซ้อนหลายรหัส การระวังภัยไซเบอร์ ระวังอีเมลขยะและลิงก์ที่น่าสงสัย:...

About ครูออฟ 1564 Articles
https://www.kruaof.com