แนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

Active Learning เป็นแนวการจัดการเรียนรู้ที่มาจากฐานคิดมาจากปรัชญาพิพัฒนาการ นิยม (Progressivism) และทฤษฎีสร้างสรรค์องค์ความรู์ (Constructivist) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มีความเชื่อว่า ความรู้เกิดจากการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การได้รับประสบการณ์ตรง หรือการฝึกปฏิบัติ เป็นการจัด การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ (Student – centered) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนการลงมือ ปฏิบัติกิจกรรมฝึกทักษะที่สําคัญ อาทิ การแก้ไขปัญหา การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การประเมินและลงข้อสรุป การสื่อสาร ครูมีบทบาทในฐานะเป็นผู้อํานวยความสะดวก (Facilitators) ในการเรียนรู้ และ เป็นผู้ชี้แนะ (Coach) ให้กับผู้เรียน ทั้งนี้ การเรียนรู้ด้วย Active Learning ตั้งอยู่บนสมมุติฐาน 2 ประการ คือ

1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์
2) บุคคลแต่ละบุคคลมี แนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน

Active Learning สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (Mayers and Jones. 1993) ครอบคลุม (1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และ (2) เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีลําดับ ขั้นตอนและมีแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมไว้อย่างเป็นระบบชัดเจน โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่วน ใหญ่จะต้องมีหลักการของรูปแบบที่สังเคราะห์ มาจากแนวคิดทฤษฎีต่างๆ อย่างชัดเจน ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้น Active Learning นั้น ผู้เรียนได้ปฏิบัติการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ ได้แก่ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning : PBL) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) การเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ (Collaborative Learning) การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-based Learning : RBL) การเรียนรู้แบบสืบค้นความรู้ (Inquirybased Learning : IBL) การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning : ABL) การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) การเรียนรู้ด้วยการค้นพบ (Discovery Learning) การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (Stem Education) เป็นต้น รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้น Active Learning เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามองค์ประกอบหรือลักษณะสําคัญของ Active Learning อธิบายวิธีการไว้อย่างครอบคลุมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง ตั้งแต่การนําเข้าสู่บทเรียน การเรียนรู้ การสรุป การกําหนดบรรยากาศในการเรียน หรืออาจรวมไปถึงวิธีการกําหนดแหล่งเรียนรู้ สื่ออุปกรณ์การเรียน และวิธีการวัดผลประเมินผลด้วย

2. เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นเทคนิคที่สามารถนําไปผสมผสานไว้ในกิจกรรมการเรียนรู้ปกติ ใช้ได้ทั้งในขั้นนําเข้าสู่บทเรียน ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และขั้นสรุป ผู้สอนสามารถเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมไปใช้เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ลงมือปฏิบัติ และเกิดการเรียนรู้มากที่สุด ในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน รวมทั้งสามารถใช้ได้กับนักเรียน นักศึกษาทุกระดับ ทั้งการเรียนรู้เป็นรายบุคคล การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก และการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่ (มนตรี ศิริจันทร์ชื่น. 2554 : 27-28 ; อ้างอิงมาจาก McKinney. 2008) ดังตัวอย่างเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ แบบ Active Learning ได้ดี ดังนี้

2.1 การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กําหนดแต่ละคน ประมาณ 2-3 นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน 3-5 นาที (Pair) และนําเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)

2.2 การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led Review Sessions) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่างๆ ในการปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนรู้โดยครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา

2.3 การเรียนรู้โดยวิเคราะห์และโต้ตอบผ่านวีดีโอ (Analysis or Reactions to Videos) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ 5-20 นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม

2.4 การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student Debates) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัด ให้ผู้เรียนได้นําเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม

2.5 การเรียนรู้โดยผู้เรียนสร้างข้อสอบ (Student Generated Exam Questions) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว

2.6 การเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยหรือโครงงาน (Mini-research Proposals or Project) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกําหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้วางแผนการเรียน เรียนรู้ตามแผน สรุปความรู้หรือสร้างผลงาน และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้

2.7 การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze Case Studies) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนําเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด

2.8 การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping Journals or Logs) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน

2.9 การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and Produce a Newsletter) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว อันประกอบด้วย บทความ ข้อมูล สารสนเทศข่าวสารและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วแจกจ่ายไปยังบุคคลอื่นๆ

2.10 การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept Mapping) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนําเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันของ กรอบความคิดโดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทําเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนําเสนอผลงาน ต่อผู้เรียนอื่นๆ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคนอื่นได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com