วิธีการป้องกันจากข่าวลวง

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการป้องกันจากข่าวล่วง มีอยู่ด้วยกัน 7 หัวข้อดังนี้

  1. มีสติคิดให้รอบคอบก่อนอ่าน-โพสต์-แชร์
  2. เจอลิงก์แปลก ๆ อย่าไปเผลอคลิกเข้าไป
  3. พิมพ์ URL ของเว็บโดยตรง
  4. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้อยู่ในระดับสูงเข้าไว้
  5. แอดและรับแอดเพื่อนที่รู้จักกันจริง
  6. เก็บข้อมูลส่วนตัวให้เป็นความลับ
  7. หลายคนมองว่า สังคมออนไลน์คือโลกของความเสรี

1. มีสติคิดให้รอบคอบก่อนอ่าน-โพสต์-แชร์

ข้อมูลอะไรก็ตามที่เพิ่งผ่านตาไป ควรอ่านให้ครบถ้วน ใจความ หรือพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะกดแชร์ รวมทั้งการเห็นว่าผู้อื่นทำแล้วทำตาม เช่น การระบุจุดเช็คอินว่าอยู่ในจุดที่ปลอดภัยบน Facebook ทั้งที่ไม่ได้มีเหตุการณ์ร้าย แต่เนื่องจากระบบโซเชียลเกิดแจ้งเตือนและเห็นว่าเพื่อน ๆ ก็เช็คอินกัน จึงทำตามบ้าง ทั้งที่เกิดจากความผิดพลาดของระบบ และตัวเราเองก็ควรเช็คข่าวให้แม่นยำเสียก่อน

2. เจอลิงก์แปลก ๆ อย่าไปเผลอคลิกเข้าไป

เพราะลิงก์พวกนี้ชอบซ่อนมัลแวร์หรือไวรัสต่าง ๆ เอาไว้ เพื่อเข้ามาล้วงข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์หรือมือถือของเรา ทางที่ดีเห็นลิงก์ไม่คุ้น หรือพยายามทำให้เหมือนเว็บดัง ๆ ก็ให้ระวังเอาไว้ก่อน

3. พิมพ์ URL ของเว็บโดยตรง

พยายามไม่ใช้การเสิร์ช เพราะอาจเจอเว็บไซต์ปลอมที่ปรับแต่งชื่อลิงก์ให้คล้ายกัน เพื่อหลอกให้เรากดเข้าเว็บไซต์แล้วโดยล้วงข้อมูลได้โดยง่ายนั่นเอง

4. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้อยู่ในระดับสูงเข้าไว้

การสร้างบัญชีผู้ใช้งานบนโซเชียลนั้น มักจะให้กรอกข้อมูลเบื้องต้นและเบื้องลึก เช่น ชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น อีเมล ที่อยู่ ไปจนเบอร์โทรส่วนตัว ซึ่งข้อมูลที่ลดหลั่นลงมาจากอีเมลนั้น ไม่เป็นข้อมูลที่จำเป็นต้องกรอก รวมทั้งการใช้อีเมลสำหรับบัญชีโซเชียลแล้ว ก็ควรสมัครอีเมลที่ไม่ได้ผูกกับข้อมูลที่เป็นความลับ เช่น อีเมลที่ใช้ในการทำงาน เป็นต้น

5. แอดและรับแอดเพื่อนที่รู้จักกันจริง

หลายคนมีเพื่อนหรือผู้ติดตามหลายพันคน หรือมีเพื่อนในบัญชีเต็มจำนวนที่จะแอดได้ แต่กลับมีเพียงไม่กี่คนที่เคยเจอหน้ากันจริง ซึ่งการแอดเพื่อนมาก ๆ เข้าไว้ไม่ได้เป็นผลดีต่อการรักษาความปลอดภัย เพราะเพื่อนแปลกปลอมเหล่านี้สามารถเข้ามาล้วงข้อมูลของเราได้ง่าย ๆ เพียงแค่คลิกโปรไฟล์เข้ามาอ่านสเตตัสหรือการเช็คอินนั่นเอง

6. เก็บข้อมูลส่วนตัวให้เป็นความลับ

เนื่องจากมีมิจฉาชีพบางคนที่ใช้ช่องโหว่นี้ หากเราเช็คอินบ้านเราบ่อย ๆ และวันหนึ่งเช็คอินที่เที่ยวไกลบ้าน แล้วยิ่งบอกว่าไปกันทั้งครอบครัว ไปกันนานแค่ไหน ยิ่งเพิ่มช่วงเวลาทองให้โจรเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้นไปอีก

7. หลายคนมองว่า สังคมออนไลน์คือโลกของความเสรี

การแสดงความคิดเห็น คำพูด การกดแสดงอารมณ์ ทำได้โดยไม่ต้องมีใครห้ามหรือมีกฎแน่นอน สิ่งนี้นี่แหละที่สามารถเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลจนลุกลามเป็นคดีฟ้องร้องขึ้นศาลได้

ที่มา https://www.krungsri.com/th/krungsri-the-coach/life/good-life/online-news-lie-or-truth

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1547 Articles
https://www.kruaof.com