รู้จักไซยาไนด์ สารพิษอันตราย

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ไซยาไนด์ (Cyanides) เป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีไซยาไนด์ไอออน (CN –) เป็นองค์ประกอบ เป็นสารพิษอันตรายที่ใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ สิ่งทอ และพลาสติก เป็นต้น และสามารถปล่อยออกมาจากธรรมชาติในอาหารบางชนิดหรือในพืชบางชนิด ไซยาไนด์เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์เร็วและอาจทำให้ถึงตายได้ เนื่องจากมันจะไปรบกวนความสามารถของร่างกายในการใช้ออกซิเจนหรือยับยั้งการหายใจระดับเซลล์

ไซยาไนด์อาจเป็นก๊าซหรือของเหลวที่ไม่มีสี เช่น ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCN) หรือไซยาโนเจนคลอไรด์ (CNCl) ไซยาไนด์ยังสามารถพบในรูปแบบผลึก (ของแข็ง) เช่น โซเดียมไซยาไนด์ (NaCN) หรือโพแทสเซียมไซยาไนด์ (KCN) ได้ด้วย ไซยาไนด์มีกลิ่น “อัลมอนด์ขม” แต่ก็ไม่ได้มีกลิ่นเสมอไป และไม่ใช่ทุกคนที่จะตรวจจับกลิ่นนี้ได้

อาการของผู้ได้รับไซยาไนด์

  • เจ็บหน้าอก
  • แน่นหน้าอก
  • สับสน
  • มึนศีรษะ
  • เจ็บตา
  • น้ำตาไหล
  • หายใจลำบาก
  • ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้
  • หัวใจเต้นเร็วหรือช้า
  • หายใจเร็วหรือช้า
  • กระสับกระส่าย
  • หายใจสั้น
  • อาเจียน
  • อ่อนล้า
    อาการของผู้ได้รับไซยาไนด์ในปริมาณมาก
  • หมดสติ
  • เสียชีวิต
  • ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ
  • ปอด
  • ชัก

หากสัมผัสกับไซยาไนด์ ต้องทำอย่างไร

หากสัมผัสกับไซยาไนด์ ให้ออกจากพื้นที่ที่ไซยาไนด์แพร่กระจาย และหายใจในที่มีอากาศบริสุทธิ์ กรณีที่ไซยาไซด์กระจายอยู่ในพื้นที่เปิดด้านนอก ให้หลบเข้าในตัวอาคารพร้อมทั้งปิดหน้าต่างและระบบระบายอากาศ เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งปนเปื้อนจะไม่เข้ามาภายใน หรือหากไม่สามารถเข้าภายในอาคารได้ให้หนีออกจากบริเวณที่ไซยาไนด์แพร่กระจาย

การอาบน้ำเป็นวิธีที่ดีในการกำจัดไซยาไนด์ออกจากร่างกาย หากสัมผัสกับไซยาไนด์ให้อาบน้ำทันทีหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยถอดเสื้อผ้า รวมถึงเครื่องประดับทุกชิ้นและคอนแทคเลนส์ออกจากร่างกาย แยกเก็บใส่ถุง หากดวงตามีอาการแสบร้อนหรือไม่สามารถมองเห็นได้ตามปกติ ให้ล้างตาเป็นเวลา 10-15 นาทีด้วยน้ำอุ่น ห้ามใช้ยาหยอดตา

หากได้รับไซยาไนด์เข้าสู่ร่างกาย ต้องทำอย่างไร

หากไซยาไนด์เข้าสู่ร่างกายโดยการกิน ให้รีบส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเพื่อล้างท้อง เพราะถ้าท้องว่าง การออกฤทธิ์จะค่อนข้างเร็วมาก

แหล่งข้อมูล
NEW YORK STATE. The Facts About Cyanides. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2566
Healthline. What Is Cyanide Poisoning? สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2566
Centers for Disease Control and Prevention. Cyanide: Exposure, Decontamination, Treatment. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2566

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สาระสำคัญของการเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถือเป็นการปูพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณและการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัลนี้ ทำไมต้องเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึม? พัฒนากระบวนการคิด: การออกแบบอัลกอริทึมช่วยฝึกให้เด็กคิดเป็นขั้นเป็นตอน วิเคราะห์ปัญหา และหาทางแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการออกแบบอัลกอริทึมเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรม และการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์: การออกแบบอัลกอริทึมมีหลายวิธี เด็กๆ สามารถคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันได้ พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกัน: การทำงานกลุ่มในการออกแบบอัลกอริทึมช่วยให้เด็กเรียนรู้การทำงานร่วมกันและการสื่อสาร อัลกอริทึมคืออะไร? อัลกอริทึมก็เหมือนกับสูตรอาหารหรือคู่มือการประกอบเฟอร์นิเจอร์ คือชุดคำสั่งที่ระบุขั้นตอนในการทำงานอย่างชัดเจน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น อัลกอริทึมในการต้มไข่ต้มก็คือ 1. นำไข่ใส่หม้อ...

สาระสำคัญของการฝึกฝนการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมต้องฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหา? พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ปัญหา แยกแยะประเด็นสำคัญ และวางแผนแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพิ่มความมั่นใจ: เมื่อนักเรียนสามารถแก้ปัญหาได้เอง จะส่งผลให้มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการแก้ปัญหาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในสายอาชีพต่างๆ ส่งเสริมการเรียนรู้แบบอัตโนมัติ: การแก้ปัญหาจะทำให้นักเรียนค้นพบวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองมากขึ้น วิธีการฝึกฝน จัดกิจกรรมที่ท้าทาย: ให้โจทย์ปัญหาที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ สอนวิธีการคิดแบบมีระบบ: แนะนำขั้นตอนการแก้ปัญหา เช่น การกำหนดปัญหา การหาข้อมูล...

สาระสำคัญของการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียน ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในอนาคต เหตุผลที่ต้องฝึกฝนทักษะเหล่านี้ในระดับชั้น ม.1 พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนพัฒนากระบวนการคิดที่เป็นระบบ มีขั้นตอนในการแก้ปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้: ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีขึ้น เข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้ง เตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาต่อ: เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน พัฒนาทักษะการสื่อสาร: ช่วยให้นักเรียนสามารถสื่อสารความคิดเห็นของตนเองได้อย่างชัดเจนและมีเหตุผล เสริมสร้างความมั่นใจ: การฝึกฝนทำให้เกิดความมั่นใจในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ วิธีการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะ ตั้งคำถาม: สอนให้นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์ หาเหตุผลสนับสนุน: ฝึกให้นักเรียนหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง เปรียบเทียบและหาความแตกต่าง:...

สาระสำคัญของการเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการ สาระสำคัญที่นักเรียนจะได้เรียนรู้มีดังนี้ 1. เข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ: การวิเคราะห์ปัญหา: เรียนรู้ที่จะแยกแยะปัญหาออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อให้เข้าใจปัญหาได้อย่างชัดเจน การออกแบบอัลกอริทึม: ฝึกคิดขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ การเขียนรหัสลำลอง: ฝึกเขียนคำอธิบายขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ การทดสอบและปรับปรุง: เรียนรู้ที่จะตรวจสอบผลลัพธ์และแก้ไขข้อผิดพลาด 2. พัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะ: การใช้เหตุผล: ฝึกใช้เหตุผลในการตัดสินใจและเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม การเปรียบเทียบ: ฝึกเปรียบเทียบข้อมูลและหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ การสรุป: ฝึกสรุปผลจากข้อมูลที่ได้ 3. สร้างสรรค์และนวัตกรรม: การคิดนอกกรอบ: ฝึกคิดหาแนวทางแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่แตกต่าง การสร้างสรรค์ผลงาน:...

About ครูออฟ 1553 Articles
https://www.kruaof.com