เหนือสัมผัสทั้ง 5 ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า VEST

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของคนเรา ทำหน้าที่รับรู้รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และถูกตีความโดยสมอง เหล่านี้เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่การรับรู้ที่อยู่เหนือประสบการณ์จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 เราอาจเรียกมันว่า สัมผัสที่ 6 และจะเป็นไปได้หรือไม่ ที่คนเราจะมีสัมผัสพิเศษเพิ่มขึ้นมา

โดยปกติ การรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ มักนำไปสู่ประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่เรากำลังใช้มือหมุนหาคลื่นวิทยุ ตาเราจะเห็นเลขคลื่นที่เปลี่ยนไป หูจะได้ยินเสียงที่เปลี่ยนไป และมือจะรู้สึกได้ถึงการหมุนที่เร็วหรือช้า พูดง่าย ๆ ก็คือ เมื่อความรู้สึกหนึ่งทำงาน ความรู้สึกอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องก็จะทำงานด้วยเช่นกัน การรับรู้ข้อมูลได้มากกว่า 2 ทางในเวลาเดียวกันเช่นนี้เรียกว่า Synesthesia หรือความรู้สึกร่วมกัน

ในเมื่อสมองสามารถรับรู้ข่าวสารได้มากกว่า 2 ทางขึ้นไป และนักวิจัยชี้ว่า แท้จริงแล้ว สมองเพียงทำการอนุมานข้อมูลที่ได้แล้วทำการตีความ ก่อนสร้างเป็นรูปร่างของ “ความจริง” ขึ้นมา ดังนั้น ถ้าให้สมองมีความรู้สึกใหม่ ๆ นอกเหนือจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะสามารถทำให้สัมผัสถึง “ความจริง” ที่ละเอียดลึกซึ้งมากขึ้นได้หรือไม่

เครื่องมือชนิดหนึ่งจึงได้ถูกสร้างขึ้นมา โดยมีชื่อว่า VEST (Versatile Extra-Sensory Transducer) โดยเครื่องมือที่ว่านี้ หน้าตาเหมือนกับเสื้อกั๊ก มีมอเตอร์สั่นสะเทือนติดตั้งไว้รอบเอว และทำหน้าที่สั่นเตือนได้หลากหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองข้อมูลรอบข้างทั้งหมด แถมตัวซอฟต์แวร์ที่ทำการควบคุม ยังเปิดให้ทุกคนสามารถเข้าไปปรับแต่งเองได้อีกด้วย (Open Source)

มาถึงการใช้งานกันบ้าง ยกตัวอย่างเช่น สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน การรับรู้ข้อความผ่านการสั่นสะเทือนจะช่วยเสริมเสียงรอบข้างให้ดีขึ้น หรือการซื้อขายหุ้น ผู้ใช้อาจซื้อขายหุ้นได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น โดยใช้ความรู้สึกจากการสั่นว่า หุ้นตัวใดที่มีความกังวลต่อความผันผวน เป็นต้น ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า การใช้งานขึ้นอยู่กับจินตนาการของผู้ใช้ โดยเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ใช้จะเริ่มคุ้นชินกับการสั่นสะเทือนและให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ รูปแบบการสั่นสะเทือนของ VEST จะกลายเป็นให้ความรู้สึกที่คล้ายกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 และดูเหมือนอยู่เหนือจิตสำนึกหรือการรับรู้ปกติของมนุษย์เรา

ในปัจจุบัน อุปกรณ์นี้ได้มีการใช้งานในกลุ่มผู้บกพร่องทางการได้ยิน ผ่านอุปกรณ์แบบสวมข้อมือที่เรียกว่า BUZZ ซึ่งเป็นรุ่นเล็กของ VEST นอกจากช่วยในการได้ยินข้อความหรือเสียงจากมนุษย์แล้ว เสียงอื่น ๆ เช่น เสียงปิดประตูจากระยะไกล เสียงคนเดินเข้ามาในห้อง หรือกระทั่งเสียงต่าง ๆ ก็สามารถส่งผ่านด้วยการสั่นสะเทือนไปยังสมองได้ ดังนั้น สิ่งประดิษฐ์นี้จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน เพราะถึงแม้วิธีฟื้นการได้ยินที่ดีที่สุดจะเป็นการปลูกถ่ายประสาทหูเทียม แต่เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายแล้ว VEST อาจเป็นตัวเลือกที่มีความน่าสนใจมากกว่า เพราะราคาถูกกว่าราว 1 ใน 40 ของค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเลยทีเดียว

สมองมนุษย์เรานั้น มีความซับซ้อนและทรงประสิทธิภาพอย่างมาก ไม่แน่ว่าในอนาคต เครื่องมือหรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ อาจขยายขอบเขตความสามารถและการรับรู้ของมนุษย์เราไปได้อีกเกินกว่าจะจินตนาการไปถึงก็เป็นได้

แหล่งข้อมูล
Discovery. 人の第六感を創り出すデバイス登場!様々な分野での活用期待 (อุปกรณ์สร้างสัมผัสที่ 6 ของมนุษย์ ). สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2562
Psychology Today. Synesthesia. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2562

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีในบล็อกคำสั่งของโปรแกรมภาษาสแครช

สีของบล็อกคำสั่งใน Scratch จะแบ่งออกเป็นกลุ่มหลักๆ ดังนี้: สีม่วง: บล็อกควบคุม (Control) เช่น เมื่อคลิกธงเขียว, รอ, ทำซ้ำ สีส้ม: บล็อกการมองเห็น (Looks) เช่น พูด, เปลี่ยนชุด, เปลี่ยนขนาด สีฟ้า: บล็อกเสียง (Sound) เช่น เล่นเสียง,...

4.1.1 รู้จักกับโปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPoint

Microsoft PowerPoint คืออะไร? Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างงานนำเสนอ (Presentation) โดยมีลักษณะเป็นสไลด์ (Slide) แต่ละแผ่น ซึ่งสามารถใส่ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เสียง และองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ PowerPoint มีประโยชน์อย่างไร สร้างงานนำเสนอที่น่าสนใจ: ช่วยให้นักเรียนนำเสนอรายงาน...

วิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี

การสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เพราะโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว การใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติและสร้างสรรค์ จะช่วยให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดและหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบ นี่คือวิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี: 1. กำหนดเวลา: ตั้งเวลา: กำหนดเวลาที่ชัดเจนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง เช่น 1 ชั่วโมงต่อวัน ใช้แอปพลิเคชันช่วย: มีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยในการติดตามและจำกัดเวลาการใช้งานโซเชียลมีเดีย 2. สร้างกิจวัตร: หาอะไรทำ: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย พบปะเพื่อน เพื่อลดเวลาที่ใช้ไปกับโซเชียลมีเดีย วางแผนวัน: วางแผนกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน...

วิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO (Fear of Missing Out) บนโซเชียลมีเดีย

ความรู้สึก FOMO หรือกลัวว่าจะพลาดอะไรดีๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวบนโซเชียลมีเดียนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่การปล่อยให้ความรู้สึกนี้ครอบงำชีวิตประจำวันมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตได้ ดังนั้น มาลองดูวิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO กันค่ะ 1. ตระหนักถึงความเป็นจริง: ภาพที่เห็นบนโซเชียลมีเดียไม่ใช่ชีวิตจริงทั้งหมด: สิ่งที่เราเห็นบนโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคนอื่นๆ การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆ บนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกด้อยค่า ทุกคนมีช่วงเวลาที่ดีและไม่ดี: ไม่มีใครมีความสุขตลอดเวลา การเห็นคนอื่นมีความสุขตลอดเวลาบนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตของตัวเองไม่ดีพอ 2. จำกัดเวลาในการใช้โซเชียลมีเดีย: กำหนดเวลา: ตั้งเวลาที่แน่นอนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง สร้างกิจวัตร: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ...

About ครูออฟ 1632 Articles
https://www.kruaof.com