จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการเขียนโปรแกรมได้อย่างถูกต้อง (K)
2. อธิบายวิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้ (K)
3. ตรวจสอบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการเขียนโปรแกรมได้ (P)
4. ตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมควบคู่กับผังงานได้ (P)
5. เล็งเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของการตรวจสอบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในโปรแกรม (A)
สาระการเรียนรู้
– การออกแบบและเขียนโปรแกรมที่มีการตรวจสอบเงื่อนไขที่ครอบคลุมทุกกรณีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องตรงตามความต้องการ
– หากมีข้อผิดพลาดให้ตรวจสอบการทำงานทีละคำสั่ง เมื่อพบจุดที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้องให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
– การฝึกตรวจหาข้อผิดพลาดจากโปรแกรมของผู้อื่น จะช่วยพัฒนาทักษะการหาสาเหตุของปัญหาได้ดียิ่งขึ้น
– ตัวอย่างโปรแกรม เช่น โปรแกรมตรวจสอบเลขคู่ เลขคี่ โปรแกรมรับข้อมูลน้ำหนักหรือส่วนสูงแล้วแสดงผลความสมส่วนของร่างกาย โปรแกรมสั่งให้ตัวละครทำตามเงื่อนไขที่กำหนด
– ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น Scratch,logo
คำถามประจำเรื่อง
- หลังจากนักเรียนเขียนโปรแกรมเสร็จแล้ว สิ่งที่นักเรียนควรทำเป็นอันดับแรกคืออะไร
ศึกษาจากคลิปยูทูป
ความผิดพลาดที่เกิดจากการเขียนโปรแกรมมักจะมีอยู่ 3 ประเภทได้แก่ ความผิดพลาดทางไวยากรณ์ ความผิดพลาดทางการประมวลผล และความผิดพลาดทางตรรกะ เมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น วิธีการตรวจสอบที่ง่ายที่สุด คือ การพิจารณาคำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรมควบคู่กับผังงาน หรือจะเรียกได้ว่าเป็นการพิจารณาควบคู่กันทีละบรรทัดระหว่างผังงานที่ใช้ออกแบบกับการเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษา Scrach เมื่อพบข้อผิดพลาดจึงสามารถลงมือแก้ไขคำสั่งในโปรแกรมให้ถูกต้อง
Logical Error คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการคำนวณที่ผิดพลาด
การตรวจสอบข้อผิดพลาดมีความสำคัญอย่างไรบ้างกับการเขียนโปรแกรม
การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมเป็นการตรวจสอบดูว่า เมื่อทำชิ้นงานเสร็จเรียบร้อยแล้วมีความถูกต้องตรงตามความต้องการหรือไม่ ถ้าเกิดข้อผิดพลาดให้ทำการปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานให้ดีขึ้น เป็นการทำให้การเขียนโปรแกรมมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพในการใช้งานมากยิ่งขึ้น