การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สะเต็มศึกษา (STEM Education) คือการสอนแบบบูรณาการข้าม กลุ่มสาระวิชา (Interdisciplinary Integration) ระหว่างศาสตร์สาขาต่างๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science: S) เทคโนโลยี (Technology: T) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineer: E) และ คณิตศาสตร์ (Mathematics: M) โดยนําจุดเด่นของธรรมชาติตลอดจนวิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชามาผสมผสานกันอย่างลงตัว เพื่อให้ ผู้เรียนนําความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา การค้นคว้าและการพัฒนาสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์โลก ปัจจุบัน ซึ่งอาศัยการจัดการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนหลายสาขาร่วมมือกันเพราะในการทํางานจริงหรือในชีวิตประจําวันนั้นต้องใช้ความรู้หลายด้านในการทํางานทั้งสิ้นไม่ได้แยกใช้ความรู้เป็นส่วนๆ นอกจากนี้ STEM Education ยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทักษะที่จําเป็นสําหรับ ศตวรรษที่ 21 อีกด้วย ทั้งนี้ STEM Education เป็นการจัดการศึกษาที่มีแนวคิดและลักษณะ (พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. 2556 : 49- 56 ; สมชาย อุ่นแก้ว. 2560 : 1-17) ดังนี้

  1. เป็นการบูรณาการข้ามกลุ่มสาระวิชา (Interdisciplinary Integration) นั่นคือเป็น การบูรณาการระหว่างศาสตร์สาขาต่างๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (S) เทคโนโลยี (T) วิศวกรรมศาสตร์ (E) และ คณิตศาสตร์ (M) ทั้งนี้ได้นําจุดเด่นของธรรมชาติตลอดจนวิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชามาผสมผสานกันอย่างลงตัว กล่าวคือ
    • วิทยาศาสตร์ (S) เน้นเกี่ยวกับความเข้าใจในธรรมชาติ โดยนักการศึกษามักชี้แนะให้ อาจารย์ครูผู้สอนใช้วิธีการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการสืบเสาะ (Inquiry-based Science Teaching) กิจกรรมการสอนแบบแก้ปัญหา (Scientific Problem-based Activities) ซึ่งเป็นกิจกรรม ที่เหมาะกับผู้เรียนระดับประถมศึกษา แต่ไม่เหมาะกับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา หรือมหาวิทยาลัย เพราะ ทําให้ผู้เรียนเบื่อหน่ายและไม่สนใจ แต่การสอนวิทยาศาสตร์ใน STEM Education จะทําให้นักเรียน สนใจ มีความกระตือรือร้น รู้สึกท้าทายและเกิดความมั่นใจในการเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนสนใจที่จะเรียนใน สาขาวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นที่สูงขึ้นและประสบความสําเร็จในการเรียน
    • เทคโนโลยี (T) เป็นวิชาที่เกี่ยวกับกระบวนการแก้ปัญหา ปรับปรุง พัฒนาสิ่งต่างๆ หรือกระบวนการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนเรา โดยผ่านกระบวนการทํางานทาง เทคโนโลยีที่เรียกว่า Engineering Design หรือ Design Process ซึ่งคล้ายกับกระบวนการสืบเสาะ ดังนั้น เทคโนโลยีจึงไม่ใช่เฉพาะคอมพิวเตอร์หรือ ICT เพียงอย่างเดียว แต่เป็นสิ่งอํานวยความสะดวก มากมายในชีวิตประจําวัน
    • วิศวกรรมศาสตร์ (E) เป็นกิจกรรมการคิดสร้างสรรค์ การออกแบบพัฒนา ประยุกต์ ดัดแปลงสิ่งต่างๆ ให้เป็นนวัตกรรม นําของเก่ามาประยุกต์ใช้ใหม่ให้ดีกว่าเดิม หรือคิดค้นสิ่งใหม่สําหรับ การใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวัน นักเรียนได้ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่ง งานออกแบบ พัฒนา ดัดแปลง ประยุกต์ใช้สิ่งตางๆ สามารถกําหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทั้งแบบง่ายๆ หรือแบบยุ่งยากซับซ้อน ขึ้นอยู่กับระดับชั้นของผู้เรียน สามารถปฏิบัติได้ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึง ระดับอุดมศึกษา
    • คณิตศาสตร์ (M) ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการคํานวณเท่านั้น แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ องค์ประกอบอื่นที่สําคัญ ดังนี้
      • ประการแรก คือ กระบวนการคิดคณิตศาสตร์ (Mathematical Thinking) ซึ่งได้แก่
        การเปรียบเทียบ การจําแนก/จัดกลุ่ม การจัดแบบรูป และการบอกรูปร่างและคุณสมบัติ
      • ประการที่สอง คือ ภาษาคณิตศาสตร์ เด็กจะสามารถถ่ายทอดความคิดหรือ ความเข้าใจความคิดรวบยอด (Concept) ทางคณิตศาสตร์ได้โดยใช้ภาษาคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร เช่น มากกว่า น้อยกว่า เล็กกว่า ใหญกว่า ฯลฯ
      • ประการสุดท้าย คือ การส่งเสริมการคิด คณิตศาสตร์ขั้นสูง (Higher-Level Math
        Thinking) จากกิจกรรมการเล่นของเด็กหรือการทํากิจกรรมในชีวิตประจําวัน
  2. เป็นการบูรณาการที่สามารถจัดสอนได้ในทุกระดับชั้นตั้งแต่ชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษาตอนปลาย โดยพบว่าใน ประเทศสหรัฐอเมริกาได้กําหนดเป็นนโยบายทางการศึกษาให้แต่ละรัฐนํา STEM Education มาใช้ ผลจากการศึกษา พบว่า ครูผู้สอนใช้วิธีการสอนแบบ Project-based Learning, Problem-based Learning, Design-based Learning ทําให้นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ พัฒนาชิ้นงานได้ดีและถ้าครูผู้สอนสามารถใช้ STEM Education ในการสอนได้เร็วเท่าใดก็จะยิ่งเพิ่ม ความสามารถและศักยภาพผู้เรียนได้มากขึ้นเท่านั้นซึ่งในขณะนี้ในบางรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกามีการ นํา STEM Education ไปสอนตั้งแต่ระดับวัยก่อนเรียน (Preschool) ด้วย
  3. เป็นการสอนที่ทําให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างครบถ้วน และสอดคล้องกับ แนวการพัฒนาคนให้มีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 เช่น
    • ด้านปัญญา ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหาวิชา
    • ด้านทักษะการคิด ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิด โดยเฉพาะการคิดขั้นสูง เช่น การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
    • ด้านคุณลักษณะ ผู้เรียนมีทักษะการทํางานกลุ่มทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การเป็นผู้นําตลอดจนการน้อมรับคําวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น

จากแนวคิดข้างต้นนักการศึกษาก็ยังได้มีบูรณาการศาสตร์อื่นประกอบเพื่อให้การจัดการศึกษา STEM Education นั้นครอบคลุมและพัฒนาผู้เรียนได้อย่างแท้จริงแบบรอบด้าน เช่น การจัดการศึกษา STEAM Education ที่มีการบูรณาการศิลปะ (A) ทําให้ผู้เรียนมีโอกาสถ่ายทอดหรือประยุกต้ใช้แนวคิดสําคัญ (Concept) ด้วยความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการยิ่งขึ้นผู้เรียนยังสามารถสื่อสารความคิดของตนเอง ในรูปแบบของดนตรีและการเคลื่อนไหว การสื่อสารด้วยภาษาท่าทางหรือ การวาดภาพ หรือการสร้างโมเดลจําลอง ทําให้ชิ้นงานนั้นๆ มีองค์ประกอบด้านความสวยงามและ ความพึงพอใจเพิ่มขึ้น เกิดเป็นชิ้นงานที่มีความสมบูรณ์ทั้งการใช้งานและความพอใจ นอกจาก STEM Education จะเป็นการบูรณาการศาสตร์ทั้ง 4 สาขาดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังเป็นการบูรณาการด้านบริบท (Context Integration) ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวันอีกด้วย ซึ่งจะทําให้การสอนนั้นมี ความหมายต่อผู้เรียน ทําให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการเรียนนั้นๆ และสามารถนําไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวันได์ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการทํางาน การเพิ่มมูลค่า และสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับ ประเทศด้านเศรษฐกิจได้

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สาระสำคัญของการเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถือเป็นการปูพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณและการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัลนี้ ทำไมต้องเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึม? พัฒนากระบวนการคิด: การออกแบบอัลกอริทึมช่วยฝึกให้เด็กคิดเป็นขั้นเป็นตอน วิเคราะห์ปัญหา และหาทางแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการออกแบบอัลกอริทึมเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรม และการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์: การออกแบบอัลกอริทึมมีหลายวิธี เด็กๆ สามารถคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันได้ พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกัน: การทำงานกลุ่มในการออกแบบอัลกอริทึมช่วยให้เด็กเรียนรู้การทำงานร่วมกันและการสื่อสาร อัลกอริทึมคืออะไร? อัลกอริทึมก็เหมือนกับสูตรอาหารหรือคู่มือการประกอบเฟอร์นิเจอร์ คือชุดคำสั่งที่ระบุขั้นตอนในการทำงานอย่างชัดเจน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น อัลกอริทึมในการต้มไข่ต้มก็คือ 1. นำไข่ใส่หม้อ...

สาระสำคัญของการฝึกฝนการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมต้องฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหา? พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ปัญหา แยกแยะประเด็นสำคัญ และวางแผนแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพิ่มความมั่นใจ: เมื่อนักเรียนสามารถแก้ปัญหาได้เอง จะส่งผลให้มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการแก้ปัญหาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในสายอาชีพต่างๆ ส่งเสริมการเรียนรู้แบบอัตโนมัติ: การแก้ปัญหาจะทำให้นักเรียนค้นพบวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองมากขึ้น วิธีการฝึกฝน จัดกิจกรรมที่ท้าทาย: ให้โจทย์ปัญหาที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ สอนวิธีการคิดแบบมีระบบ: แนะนำขั้นตอนการแก้ปัญหา เช่น การกำหนดปัญหา การหาข้อมูล...

สาระสำคัญของการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียน ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในอนาคต เหตุผลที่ต้องฝึกฝนทักษะเหล่านี้ในระดับชั้น ม.1 พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนพัฒนากระบวนการคิดที่เป็นระบบ มีขั้นตอนในการแก้ปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้: ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีขึ้น เข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้ง เตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาต่อ: เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน พัฒนาทักษะการสื่อสาร: ช่วยให้นักเรียนสามารถสื่อสารความคิดเห็นของตนเองได้อย่างชัดเจนและมีเหตุผล เสริมสร้างความมั่นใจ: การฝึกฝนทำให้เกิดความมั่นใจในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ วิธีการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะ ตั้งคำถาม: สอนให้นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์ หาเหตุผลสนับสนุน: ฝึกให้นักเรียนหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง เปรียบเทียบและหาความแตกต่าง:...

สาระสำคัญของการเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการ สาระสำคัญที่นักเรียนจะได้เรียนรู้มีดังนี้ 1. เข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ: การวิเคราะห์ปัญหา: เรียนรู้ที่จะแยกแยะปัญหาออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อให้เข้าใจปัญหาได้อย่างชัดเจน การออกแบบอัลกอริทึม: ฝึกคิดขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ การเขียนรหัสลำลอง: ฝึกเขียนคำอธิบายขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ การทดสอบและปรับปรุง: เรียนรู้ที่จะตรวจสอบผลลัพธ์และแก้ไขข้อผิดพลาด 2. พัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะ: การใช้เหตุผล: ฝึกใช้เหตุผลในการตัดสินใจและเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม การเปรียบเทียบ: ฝึกเปรียบเทียบข้อมูลและหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ การสรุป: ฝึกสรุปผลจากข้อมูลที่ได้ 3. สร้างสรรค์และนวัตกรรม: การคิดนอกกรอบ: ฝึกคิดหาแนวทางแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่แตกต่าง การสร้างสรรค์ผลงาน:...

About ครูออฟ 1553 Articles
https://www.kruaof.com