1.2.1 ตรัสรู้

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

พุทธประวัติ คือ ประวัติของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นศาสดาและผู้ก่อตั้ง พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้ามีพระนามว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติเมื่อ วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี พระบิดาคือ พระเจ้า สุทโธทนะกษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ พระมารดาคือ พระนางสิริมหามายา เมื่อพระชนมายุได้ ๗ พรรษา ได้ทรงศึกษาศิลปวิทยาการต่าง ๆ เพื่อเตรียม เป็นกษัตริย์ในอนาคต คราวหนึ่งเสด็จประพาสอุทยานได้พบเทวทูตทั้ง ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย ทรงสังเวช สลดพระทัย และเห็นนักบวช ซึ่งอยู่ ในอาการที่สงบก็ทรงพอพระทัย และ เป็นสาเหตุที่ให้ตัดสินพระทัยออก ผนวชในคืนที่ระโอรสพระนามว่า ราหุล ประสูติ ซึ่งขณะนั้นพระองค์ มีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา

การตรัสรู้

เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชริมฝั่งแม่น้ำอโนมา เมื่อผนวชแล้วได้ไปศึกษาอยู่ที่สำานักของอาฬารดาบสกาลามโคตร และอุททกดาบสรามบุตรจนสำเร็จก็ทรงเห็นว่ายังไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้ จึงเสด็จแสวงหาธรรมด้วยพระองค์เองเจ้าชายสิทธัตถะได้แสวงหาหนทางตรัสรู้โดยการบำเพ็ญทุกรกิริยา (ทุก-กะ-ระ-กิ-ริ-ยา) คือ การทรมานร่างกาย เช่น กลั้นลมหายใจ อดอาหาร จนร่างกายซูบผอม

เมื่อยังไม่พบหนทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกวิธีทรมานร่างกาย เหล่าปัญจวัคคีย์ที่คอยปรนนิบัติพระองค์ขณะบำเพ็ญทุกรกิริยาเห็นว่า พระองค์เลิกบำเพ็ญเพียร จึงพากันทิ้งพระองค์หนีไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน(อิ-สิ-ปะ-ตะ-นะ-มะ-รึก-คะ-ทา-ยะ-วัน) พระองค์ทรงดำเนินทางสายกลางโดยการหันมาเสวยอาหาร เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและบำเพ็ญเพียรโดยการนั่งสมาธิ จนเกิดปัญญาบรรลุญาณขั้นต่าง ๆ และตรัสรู้อริยสัจ ๔ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ขณะที่มีพระชนมายุ ๓๕พรรษา

คลิกเรื่องต่อไป
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1547 Articles
https://www.kruaof.com