จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายประเภทของแหล่งข้อมูลได้ถูกต้อง (K)
2. จำแนกข้อมูลตามแหล่งข้อมูลได้อย่างถูกต้อง (K)
3. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลจากทางอินเทอร์เน็ตได้ (P)
4. เห็นความสำคัญของแหล่งข้อมูลและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน (A)
สาระการเรียนรู้
– การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต และการพิจารณาผลการค้นหา
– การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น เปรียบเทียบความสอดคล้อง สมบูรณ์ของข้อมูลจากหลายแหล่ง แหล่งต้นตอของข้อมูล ผู้เขียน วันที่เผยแพร่ข้อมูล
– ข้อมูลที่ดีต้องมีรายละเอียดครบทุกด้าน เช่น ข้อดี และข้อเสีย ประโยชน์และโทษ
คำถามประจำเรื่อง
- ถ้าต้องการข้อมูลต่าง ๆ มาจัดทำรายงานจะสามารถสืบค้นข้อมูลจากที่ใดได้บ้าง
ศึกษาจากคลิปยูทูป
แหล่งข้อมูล คือ สถานที่หรือแหล่ง ที่เกิดข้อมูล ซึ่งแหล่งข้อมูล จะมีความแตกต่างกันไปตามข้อมูลที่ต้องการ เช่น บ้านเป็นแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับนักเรียน โดยบันทึกข้อมูลไว้ในทะเบียนบ้าน ห้องสมุดเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ต่างๆ สามารถแบ่งข้อมูลตามลักษณะการเกิดได้ ดังนี้
1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลทั่วไปที่เกิดจากการเก็บรวบรวม หรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง อาจเป็นการสอบถาม การสัมภาษณ์ การจดบันทึก และการจัดหาด้วยเครื่องอัตโนมัติ
แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริง ที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง การทดสอบ ข้อมูลการเข้าชั้นเรียนของนักเรียนแต่ละภาคการศึกษา ซึ่งเก็บข้อมูลโดยวิธีการเช็คชื่อเข้าเรียน มีข้อดี คือ มีโอกาสได้รับข้อมูลมาก เพราะว่าผู้วิจัยสามารถจะใช้ในการสำรวจ การสังเกตด้วยตัวเอง และมีความคล่องตัวในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่โดยทั่วไป
2 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้มีผู้รวบรวมไว้แล้ว ในลักษณะเอกสาร ตีพิมพ์เผยแพร่ และตำราทางวิชาการ เช่น ข้อมูลสถิติ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อใช้งานหรือนำไปประมวลผลต่อ
การหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ทำให้สะดวกสบายและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปหาข้อมูล แต่มีข้อควรระวัง ข้อมูลบางส่วนอาจคาดเคลื่อนหรือเป็นข้อมูลที่ล้าสมัย ขาดความครบถ้วนสมบูรณ์ แล้วความน่าเชื่อถือ