คำอธิบายรายวิชา วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ศึกษา คำสั่ง คำขอร้อง ภาษาท่าทาง คำแนะนำในการเล่นเกม การวาดภาพ การทำอาหารและเครื่องดื่ม และการประดิษฐ์ การอ่านออก ข้อความ นิทาน บทกลอน ตามหลักการอ่านออกเสียง ศึกษาวงคำศัพท์สะสมทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรมประมาณ 350-400 คำ การใช้พจนานุกรม การเลือก /ระบุประโยคหรือข้อความสั้น ๆ สัญลักษณ์ เครื่องหมายที่อ่านให้ตรงกับความหมาย เกี่ยวกับ ตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่าง นันทนาการ สุขภาพ สวัสดิการ การซื้อ-ขาย ลมฟ้าอากาศ การหาใจความสำคัญในประโยค บทสนทนา นิทาน เรื่องเล่าและการตอบคำถามจากเรื่องที่ฟัง และอ่าน การพูดและเขียนบทสนทนาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างตนเอง เพื่อน และบุคคลใกล้ตัวและสำนวนการตอบรับ การใช้คำสั่ง คำขอร้อง คำขออนุญาต คำแนะนำที่มี 2-3 ขั้นตอน  การใช้คำศัพท์ สำนวนภาษา ประโยคที่แสดงความต้องการ และขอความช่วยเหลือ การตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่าง ๆ การขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัว กิจกรรม และเรื่องใกล้ตัว การแสดงความรู้สึก พร้อมทั้งการให้เหตุผลประกอบ ต่าง ๆ และการใช้เครื่องหมายวรรคตอน การนำเสนอความคิดรวบยอด ในรูปแบบของภาพ แผนผัง แผนภูมิ ตาราง จากเรื่องที่ฟังและอ่าน การพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัว การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยาท่าทาง ในการติดต่อปฏิสัมพันธ์ตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา การเข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม การเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคต่าง ๆ และการใช้เครื่องหมายวรรคตอน การลำดับตามโครงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย การค้นคว้า รวบรวม และการนำเสนอคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น การใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน สถานศึกษาและในท้องถิ่น การใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้นและการรวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องใกล้ตัวจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ

โดยใช้ทักษะ กระบวนการเรียนรู้ทางภาษาที่หลากหลาย เน้นการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน เน้นการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การฝึกปฏิบัติตามสถานการณ์ต่าง ๆ กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการศึกษาค้นคว้า และสืบค้นข้อมูล 

เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถอ่านออก เขียนได้ และมีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมกับวัย และสถานการณ์ต่าง ๆ ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เห็นประโยชน์ของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง รักความเป็นไทย สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น และดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข       

   

คลิกเรื่องต่อไป
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

แนวคิดเชิงนามธรรม: แกะเปลือกปัญหาเพื่อเข้าถึงแก่นแท้

แนวคิดเชิงนามธรรมเป็นมากกว่าการประเมินความสำคัญของปัญหา มันเป็นกระบวนการที่ช่วยให้เรา มองข้ามรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อ เห็นภาพรวม หรือ แก่นแท้ ของปัญหาอย่างชัดเจนขึ้น ลองเปรียบเทียบกับการปอกผลไม้: เปลือกผลไม้: แทน รายละเอียดปลีกย่อย หรือข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา เนื้อผลไม้: คือ แก่นแท้ของปัญหา หรือข้อมูลที่สำคัญที่เราต้องการนำมาใช้ในการวิเคราะห์และแก้ไข ทำไมแนวคิดเชิงนามธรรมจึงสำคัญ? ช่วยให้เข้าใจปัญหาได้ง่ายขึ้น: เมื่อเราตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไป จะทำให้เราเห็นภาพรวมของปัญหาได้ชัดเจนขึ้น และเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาได้ง่ายขึ้น ช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ: เมื่อเราเข้าใจแก่นแท้ของปัญหาแล้ว ก็จะสามารถเลือกวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมได้อย่างตรงจุด และประหยัดเวลาและทรัพยากรมากขึ้น ช่วยให้สื่อสารปัญหาได้อย่างชัดเจน:...

การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลตามข้อตกลงการใช้: เข้าใจและปฏิบัติตามสัญญา Creative Commons

สัญญา Creative Commons (CC) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถกำหนดเงื่อนไขการใช้งานผลงานของตนได้อย่างชัดเจน โดยอนุญาตให้ผู้อื่นนำผลงานไปใช้ต่อได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประเภทของสัญญา CC ทำไมต้องเข้าใจสัญญา Creative Commons? หลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์: การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลโดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ อาจถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้ ให้เครดิตผู้สร้าง: การให้เครดิตผู้สร้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญา CC เป็นการแสดงความเคารพต่อผู้สร้างสรรค์ผลงาน ส่งเสริมการแบ่งปันความรู้: การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลที่ได้รับอนุญาตภายใต้สัญญา CC ช่วยให้เกิดการเผยแพร่ความรู้และข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ประเภทของสัญญา Creative Commons สัญญา...

ผลกระทบ แนวทางป้องกัน และวิธีการแก้ปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างแยกไม่ออก การใช้งานอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ นำมาซึ่งความสะดวกสบายและประสิทธิภาพในการทำงานและการสื่อสาร แต่ในขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบหากเราไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่ปลอดภัย การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว: เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลส่วนบุคคล อาจนำไปสู่การถูกหลอกลวงหรือการใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด การถูกแฮ็ก: ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจเข้าควบคุมอุปกรณ์ของเราเพื่อขโมยข้อมูลหรือทำลายระบบ การถูกคุกคามทางออนไลน์: เช่น การถูกกลั่นแกล้ง การถูกคุกคาม หรือการถูกข่มขู่ การติดไวรัส: โปรแกรมที่เป็นอันตรายอาจเข้ามาทำลายระบบคอมพิวเตอร์หรือขโมยข้อมูล การเสพติดอินเทอร์เน็ต: การใช้เวลากับอุปกรณ์ดิจิทัลมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจ แนวทางป้องกัน สร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง: ใช้รหัสผ่านที่ประกอบด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ ตัวเล็ก...

วิธีการป้องกันความเป็นส่วนตัวและข้อมูลของตนเองในยุคดิจิทัล

ในยุคที่ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญและมีมูลค่าสูง การรักษาความเป็นส่วนตัวและปกป้องข้อมูลของตนเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อไปนี้คือวิธีการป้องกันที่คุณสามารถทำได้: การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวบนโซเชียลมีเดียและแอปพลิเคชัน จำกัดการเข้าถึงข้อมูล: ปรับตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้แคบลง ใครบ้างที่สามารถเห็นโพสต์ รูปภาพ หรือข้อมูลส่วนตัวของคุณ ตรวจสอบแอปพลิเคชันที่ขออนุญาตเข้าถึงข้อมูล: ก่อนอนุญาตให้แอปพลิเคชันเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว เช่น สถานที่ตั้ง รายชื่อติดต่อ หรือรูปภาพ ควรพิจารณาให้รอบคอบว่าจำเป็นต้องให้สิทธิ์เหล่านั้นหรือไม่ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเป็นประจำ: บริษัทเทคโนโลยีมักมีการปรับเปลี่ยนนโยบายความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอ จึงควรตรวจสอบและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าเป็นประจำ การสร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง หลีกเลี่ยงการใช้รหัสผ่านซ้ำ: ไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับบัญชีต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ซับซ้อน: รวมตัวอักษรใหญ่เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ ใช้ตัวจัดการรหัสผ่าน: ช่วยในการจัดเก็บรหัสผ่านที่ซับซ้อนหลายรหัส การระวังภัยไซเบอร์ ระวังอีเมลขยะและลิงก์ที่น่าสงสัย:...

About ครูออฟ 1564 Articles
https://www.kruaof.com