10. การรวบรวมข้อมูล ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

จุดประสงค์การเรียนรู้

    1. อธิบายขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลได้ถูกต้อง (K)
    2. บอกวิธีการรวบรวมข้อมูลได้ (K)
    3. เขียนการวางแผนรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้ (P)
    4. เห็นความสำคัญของการรวบรวมข้อมูล และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน (A)

สาระการเรียนรู้

  • การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น  การเปรียบเทียบความสอดคล้อง สมบูรณ์ของข้อมูล  จากหลายแหล่ง แหล่งต้นตอของข้อมูล ผู้เขียน    วันที่เผยแพร่ข้อมูล
  • การรวบรวมข้อมูล ประมวลผล สร้างทางเลือก  ประเมินผล จะทำให้ได้สารสนเทศเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ตที่  หลากหลายในการรวบรวม ประมวลผล สร้างทางเลือก ประเมินผล นำเสนอ จะช่วยให้การแก้ปัญหาทำได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ

คำถามประจำเรื่อง

  • ถ้านักเรียนต้องการทำรายงานนักเรียนจะมีวิธีการรวบรวมข้อมูลอย่างไร
  • ในการรวบรวมข้อมูล ถ้าขาดขั้นตอนการวางแผนและพิจารณาเลือกแหล่งข้อมูลจะส่งผลอย่างไรบ้าง

ศึกษาจากคลิปยูทูป

 กำหนดวัตถุประสงค์ และความต้องการของสิ่งที่สนใจเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติเป็นอัน เป็นอย่างแรกในการรวบรวมข้อมูลเพื่อให้การกำหนดวัตถุประสงค์และขอบข่ายของข้อมูลที่ต้องการค้นหา ถ้าต้องการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง

วางแผนและพิจารณาเลือกแหล่งข้อมูล จะต้องทำการวิเคราะห์ว่ามีแหล่งข้อมูลใดบ้างที่มีข้อมูลที่ต้องการอยู่โดยจะต้องเลือกแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น บุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยตรง หน่วยงานของรัฐ หรือแหล่งข้อมูลที่ตนเองได้เข้าร่วมอยู่ในเหตุการณ์ เพราะจะทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ

 กำหนดวิธีการรวบรวมข้อมูล เป็นการเลือกวิธีการรวบรวมข้อมูลโดยพิจารณาแหล่งข้อมูลว่าเป็นอะไร แล้วจึงเลือกวิธีการรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสม ตำแหน่งข้อมูลโดยวิธีการรวบรวมข้อมูลสามารถแบ่งได้ 4 วิธีดังนี้
1 การสังเกตการสำรวจและจดบันทึก
2 การสอบถามหรือการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
3 การสำรวจโดยการใช้แบบสอบถาม แบบทดสอบ
4 การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหรือข้อมูลที่ผู้อื่นรวบรวมไว้แล้ว

 ค้นหาและรวบรวมข้อมูล เมื่อเริ่มดำเนินการรวบรวมข้อมูลควรกำหนดสิ่งที่ต้องการทำแล้วลงมือปฏิบัติและเลือกวิธีการรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสม

 สรุปผลข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการแล้วต้องนำข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ มาพิจารณาเปรียบเทียบกันแล้วจึงนำข้อมูลที่รวบรวม ได้มาประมวลผลให้เป็นสารสนเทศที่ต้องการ

การรวบรวมข้อมูล คือ การนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มารวบรวมไว้ในรูปแบบที่เหมาะสมด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้ การสังเกตเป็นการค้นหาข้อมูลด้วยตนเองโดยตรง เช่น การสังเกตเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน การสัมภาษณ์หรือการสอบถามเป็นการรวบรวมข้อมูลจากคนอื่น โดยผู้ถามใช้คำพูดในการถามและตอบใช้คำพูดในการตอบ การตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นแบบรายการคำถามที่ทำให้ผู้อื่นเขียนคำตอบลงในแบบสอบถามของผู้ถาม 

การสรุปผลข้อมูลที่รวบรวมไว้แล้วทำได้โดยการนำข้อมูลมาจัดกระทำโดยวิธีใดวิธีหนึ่งเช่นการบันทึกลงตารางเพื่อเปรียบเทียบและเรียงลำดับข้อมูลโดยข้อมูลที่ผ่านกระบวนการจัดกระทำแล้วได้ผลลัพธ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เรียกว่า สารสนเทศ ซึ่งการนำเอาสารสนเทศสามารถทำได้หลายลักษณะเช่นการพูดรายงานการจัดป้ายนิเทศ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1547 Articles
https://www.kruaof.com