โพสต์ “เกรียน” เสี่ยงติดคุก “คิด ก่อน คลิก”

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การท่องโลกออนไลน์ ทำให้เราพบเจอข่าวสารเรื่องราวต่าง  ๆ มากมาย หลายเรื่องก็กระตุกต่อมคิด หลายเรื่องก็กระตุกต่อมให้อยากรู้ต่อ หรือทำให้อดไม่ได้ที่จะกระโดดเข้าไปมีส่วนร่วม  เราสามารถแชร์หรือส่งต่อข่าวสารข้อมูลนั้นออกไป เพราะอยากให้คนอื่น ๆ รู้ด้วย บางครั้งเราดาวน์โหลดภาพหรือคลิปวิดีโอมาเก็บไว้ หลายครั้งที่เราเข้าร่วมวงสนทนาออนไลน์ วิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวอย่างออกรสประหนึ่งว่าเราเป็นผู้ร่วมประสบเหตุ เป็นญาติ หรือแม้แต่เป็นผู้เสียหายเอง โดยขาดความตระหนักว่าการแชร์ การแท็ก การโพสต์แสดงความคิดเห็นนั้นจะมีผลต่อใคร อย่างไรต่อไป

โลกออนไลน์เป็นโลกที่จะแสดงความคิดเห็น โพสต์หรือส่งต่อข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ แต่ความเป็นอิสระนี้ก็ใช่ว่าจะไร้กรอบกติกา เนื่องจากคนบนโลกออนไลน์นั้น มีตัวตนอยู่จริง เป็นคนเหมือน ๆ กัน ที่มีความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก ที่อาจจะเหมือนเรา คล้ายเรา หรือแตกต่างจากเรา

การโพสต์โดยไม่คิดไตร่ตรอง อาจส่งผลให้เขาได้รับผลกระทบจากเนื้อหาเรื่องราว ข้อคิดเห็น หรือคำด่าทอเสียดสีต่าง ๆ จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจของผู้โพสต์ ผู้แชร์ หรือผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือคอมเมนต์ก็ตาม

นอกจากนี้ การโพสต์หรือส่งต่อข้อมูลข่าวสารบางอย่างนั้นผิดกฎหมาย เช่น สื่อลามกอนาจาร การพนัน ข่าวปลอม หมิ่นประมาท เนื้อหาข้อมูลเท็จที่กระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม หรือความมั่นคงปลอดภัย แม้แต่การโฆษณาขายสินค้าที่สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ผู้คนในวงกว้าง ฯลฯ

พ.ร.บ.คอมฯ กลไกดูแลความมั่นคงปลอดภัยบนโลกไซเบอร์

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ นั้นเป็นกฎหมายหลักที่ใช้กำกับดูแลการกระทำบนโลกออนไลน์ แม้จะเป็นเรื่องเข้าใจยากและต้องอาศัยการตีความทางกฎหมาย แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ใช้ทุกคนจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองกระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ทำให้เราพ้นผิดหรือได้รับการละเว้นโทษ

การส่งอีเมลหรือข้อความโฆษณาขายสินค้าไปให้คนจำนวนมาก ๆ การฝากร้านขายของในอินสตาแกรม การส่งข้อความลูกโซ่ ตัวอย่าง เช่น ให้อ่านคำสวดอธิษฐานตามนี้ดัง ๆ 10 รอบแล้วแชร์ไปให้เพื่อนอีก 10 คน แล้วคุณจะโชคดี เหล่านี้ก่อความเดือดร้อนรำคาญให้ประชาชนและทำให้เกิดเนื้อหาขยะ ที่ไม่เป็นประโยชน์มากมายบนเครือข่าย เป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 11ตาม พ.ร.บ.คอม มีโทษปรับไม่เกิน 1-2 แสนบาท

การโพสต์ด้วยคึกคะนองว่าตนเป็นคนวางระเบิดหน้าห้างสรรพสินค้า ปล่อยข่าวดาวหางกำลังจะพุ่งชนโลก เขื่อนกำลังจะแตก หุ้นตัวนั้นจะขึ้นตัวนี้จะลงให้รีบวางแผนทำกำไร โรงไฟฟ้าปิดซ่อมบำรุงจะทำให้ไฟดับทั้งเมือง ใช้สบู่เหลวทำให้ตายเร็วกว่าสบู่ก้อน ฯลฯ ถ้าไม่เป็นความจริงก็เข้าข่ายการส่งข้อมูลข่าวสารปลอมหรือบิดเบือนข้อมูลเท็จ ที่ทำให้เกิดความตื่นตระหนก เสียหาย กระทบต่อความปลอดภัยของประชาชน ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน ความมั่นคงของประเทศ การก่อการร้าย หรือการโพสต์ข้อมูลที่มีลักษณะลามกอนาจารที่ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ เหล่านี้มีความผิดตามมาตรา 142 วงเล็บ 1-4 ของ พ.ร.บ.คอม มีโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

การตัดต่อ แต่งเติม หรือดัดแปลงภาพ ที่ทำให้คนอื่นเสียหาย อับอาย ถูกดูถูกดูหมิ่น ถูกเกลียด มีโทษจำคุก 3 ปี ปรับไม่เกินสองแสนบาท แม้กระทำการดังกล่าวกับคนที่ตายไปแล้ว พ.ร.บ.คอม มาตรา 163 นี้ ก็ให้พ่อ แม่ คู่สมรส หรือลูกของผู้ตาย ซึ่งได้รับความเสียหายอับอายต่างๆ ร้องทุกข์แทนได้

กฎหมายอื่น ๆ ที่ร่วมดูแล

นอกจาก พ.ร.บ.คอม แล้ว ยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่กำกับดูแลโลกออนไลน์อยู่ด้วย เช่น ประมวลกฎหมายอาญา หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ทำให้การกระทำหลายอย่างเป็นความผิดตามกฎหมายด้วย เช่น

  • การเขียนข้อความด่า ประจาน ทำให้คนอื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง โดยข้อมูลที่โพสต์นั้นปรากฏชื่อ รูปภาพ หรือข้อมูลส่วนตัวที่ทำให้รู้ว่าคนที่ถูกพาดพิงนั้นเป็นใคร มีความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 328  มีโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  • การครอบครองหรือส่งต่อสื่อลามกอนาจารเด็ก มีความผิดตามกฎหมายอาญา โดยการครอบครองมีโทษจำคุกสุดสุด 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากส่งต่อมีโทษจำคุกสูงสุด 7 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การเผยแพร่สื่อลามกอนาจารทางออนไลน์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอม มาตรา 14 (4) ด้วย
  • การลงรูปภาพเด็กหรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวเด็ก ทำให้เด็กได้รับความเสียหายทั้งทางจิตใจ ชื่อเสียง หรือโพสต์เพื่อประโยชน์ของตัวเอง มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก มาตรา 27 มีโทษจำคุกสูงสุด 6 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การกระทำด้วยเหตุจูงใจเดียวอาจกระทำความผิดหลายกฎหมายหลายมาตราได้ เช่น เกรียนคีย์บอร์ดโกรธเพื่อนด้วยเรื่องส่วนตัว จึงแอบเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์และอีเมลของเพื่อน ลบข้อมูลที่สำคัญไปหลายอย่าง ทั้งยังส่งอีเมลในนามของเพื่อนไปหาเจ้านาย โดยแนบภาพตัดต่อของเจ้านายให้ดูตลกขบขัน พูดถึงเจ้านายในทางเสียหาย ปล่อยข่าวว่าเจ้านายคนนี้ทุจริต ทำให้บริษัทล้มละลาย จะต้องเลิกจ้างพนักงานหลายพันคน กรณีนี้ มีการกระทำความผิดตามมาตรา 5, 6, 7, 14, 16 ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ทั้งหมิ่นประมาทในที่สาธารณะ ตามกฎหมายอาญามาตรา 328 ด้วย

ดังนั้น ก่อนจะโพสต์หรือส่งต่อข้อมูลใด ๆ ให้คิดให้หนัก หรือหากเป็นการแชร์ของคนอื่นก็ควรตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่าเป็นข้อมูลความจริงหรือไม่ กระทบหรือไปละเมิดสิทธิคนอื่น ทำให้เขาเสียหายหรือไม่ มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมายใดหรือไม่ ถ้าเข้าข่ายเป็นความผิดหรือไม่แน่ใจ ให้งดโพสต์หรือส่งต่อข้อมูลนั้น ๆ ดีกว่า

ดาวน์โหลด พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)


เชิงอรรถ
1 มาตรา 11 “ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท”

“ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

โดยรัฐมนตรีออกประกาศกําหนดลักษณะและวิธีการส่ง รวมทั้งลักษณะและปริมาณของ ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่เป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับ และลักษณะอันเป็นการบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย”

2 มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิด ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง (1) มิได้กระทําต่อประชาชน แต่เป็นการกระทําต่อบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ผู้กระทํา ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้”

มาตรา 16 ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําต่อภาพของผู้ตาย และการกระทํานั้นน่าจะทําให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ผู้กระทําต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เป็นการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยสุจริตอันเป็น การติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทํา ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งและวรรคสองเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย”

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1547 Articles
https://www.kruaof.com