ฮันนีมูน Honey Moon คืออะไร?

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ฮันนีมูน (honeymoon) คือ ช่วงเวลาที่คู่บ่าวสาวเดินทางไปพักผ่อนตามลำพัง หลังจากการแต่งงาน

แต่จริงๆแล้ว รากศัพท์ของคำว่า Honeymoon มาจาก ศัพท์ภาษาอังกฤษโบราณสองคำรวมกัน นั่นก็คือคำว่า Hony และคำว่า Moone

Hony หรือ Honey แปลว่า น้ำผึ้ง เปรียบเสมือน ความหวานชื่นของการแต่งงาน ซึ่งหากย้อนกลับไปในสมัยโบราณ ชาวยุโรปจะมีประเพณีมอบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้แก่คู่บ่าวสาว ซึ่งเรียกว่า “ไวน์น้ำผึ้ง” (mead) ที่เกิดจากการหมักของ น้ำผึ้ง และ น้ำ โดยใช้ระยะเวลาในการหมักนานหนึ่งเดือน โดยมีความเชื่อว่า การดื่มไวน์น้ำผึ้งจะทำให้ชีวิตของบ่าวสาวมีแต่ความสุข

Moone หรือ Moon แปลว่า พระจันทร์ หรือ ที่ในประเพณีของชาวยุโรป จะเปรียบเทียบระยะเวลาความหวานในชีวิตคู่ กับ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของพระจันทร์ (ข้างขึ้น-ข้างแรม) ที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาทุกๆ 1 เดือน ซึ่งลักษณะที่เปลี่ยนไปของพระจันทร์ จะช่วยสะท้อนให้คู่บ่าวสาวได้ตระหนักถึง ความรักที่อาจเปลี่ยนแปลง และความหวานที่อาจจืดจางลงได้เช่นกัน

ระยะเวลาของการฮันนีมูนคือเท่าไหร่? นานแค่ไหน?

จริงๆแล้ว ระยะเวลาของการฮันนีมูน ไม่มีการกำหนดวันสิ้นสุดที่ตายตัว โดยส่วนมาก ระยะสิ้นสุดของการฮันนีมูน มักจะเกิดขึ้นจากความตื่นเต้นที่ลดลงหลังการแต่งงาน และค่อยๆ จืดจางหายไปแน่นอนว่า หลังจากการแต่งงานจะเป็นช่วงเวลาที่พีคที่สุด ตื่นเต้นที่สุด และแปลกใหม่ที่สุด ของคู่รักที่พึ่งแต่งงานใหม่ แต่การสูญเสียความตื่นเต้น หลังจากพวกคุณได้ใช้ชีวิตร่วมกันไปซักระยะ ก็ไม่ควรถูกตีความ และเข้าใจผิดว่าเป็นการสูญเสียความรักนะ

ข้อดีของการไปฮันนีมูน มีอะไรบ้าง?

1. ฉลองแบบสองต่อสอง

ฮันนีมูน ฉลองแบบสองต่อสอง

การที่คุณทั้งสองไปฮันนีมูนด้วยกันหลังแต่งงาน คุณสองคนจะได้ใช้เวลาเฉลิมฉลองกันตามลำพังในสถานะใหม่ นั่นก็คือ สถานะของ สามี-ภรรยา ซึ่งการไปเที่ยวด้วยกันแบบสองต่อสอง จะทำให้คุณทั้งคู่ได้ศึกษากันและกัน และรู้จักตัวตนกันมากขึ้นด้วย

2. พักผ่อนจากความเหนื่อยล้า

ฮันนีมูน พักผ่อนจากความเหนื่อยล้า

หลังจากที่คู่รักเหน็ดเหนื่อยกับการจัดเตรียมงานแต่งงานมานานหลายเดือน การได้ไปเที่ยว พักผ่อนกับคู่รักที่ร่วมเหนื่อยมาด้วยกัน ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในช่วงเวลาหลังแต่งงานเลยล่ะ

3. สร้างช่วงเวลาที่น่าจดจำฮันนีมูน สร้างช่วงเวลาน่าจดจำการไปเที่ยวกับคนรู้ใจหลังจากการแต่งงาน เป็นช่วงเวลาที่น่าประทับใจ และน่าจดจำเสมอ การไปฮันนีมูนหลังแต่งงานจะช่วยเพิ่มๆความทรงจำดีๆร่วมกันระหว่างคู่รัก ซึ่งพวกคุณก็จะสามารถหยิบโมเมนต์ต่างๆ มาคุยย้อนความหลังกันได้อีกยาวๆเลยล่ะ

4. วางแผนอนาคตร่วมกันฮันนีมูน วางแผนอนาคตการไปฮันนีมูนเป็นช่วงเวลาที่คู่รักจะได้อยู่ด้วยกันตามลำพัง ทำให้พวกคุณสามารถพูดคุยกันได้อย่างเปิดอก และสามารถวางแผนชีวิตร่วมกันในอนาคตได้อย่างสบายใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำเรือนหอ หรือ วางแผนการมีลูก

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สาระสำคัญของการเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถือเป็นการปูพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณและการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัลนี้ ทำไมต้องเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึม? พัฒนากระบวนการคิด: การออกแบบอัลกอริทึมช่วยฝึกให้เด็กคิดเป็นขั้นเป็นตอน วิเคราะห์ปัญหา และหาทางแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการออกแบบอัลกอริทึมเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรม และการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์: การออกแบบอัลกอริทึมมีหลายวิธี เด็กๆ สามารถคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันได้ พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกัน: การทำงานกลุ่มในการออกแบบอัลกอริทึมช่วยให้เด็กเรียนรู้การทำงานร่วมกันและการสื่อสาร อัลกอริทึมคืออะไร? อัลกอริทึมก็เหมือนกับสูตรอาหารหรือคู่มือการประกอบเฟอร์นิเจอร์ คือชุดคำสั่งที่ระบุขั้นตอนในการทำงานอย่างชัดเจน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น อัลกอริทึมในการต้มไข่ต้มก็คือ 1. นำไข่ใส่หม้อ...

สาระสำคัญของการฝึกฝนการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมต้องฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหา? พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ปัญหา แยกแยะประเด็นสำคัญ และวางแผนแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพิ่มความมั่นใจ: เมื่อนักเรียนสามารถแก้ปัญหาได้เอง จะส่งผลให้มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการแก้ปัญหาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในสายอาชีพต่างๆ ส่งเสริมการเรียนรู้แบบอัตโนมัติ: การแก้ปัญหาจะทำให้นักเรียนค้นพบวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองมากขึ้น วิธีการฝึกฝน จัดกิจกรรมที่ท้าทาย: ให้โจทย์ปัญหาที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ สอนวิธีการคิดแบบมีระบบ: แนะนำขั้นตอนการแก้ปัญหา เช่น การกำหนดปัญหา การหาข้อมูล...

สาระสำคัญของการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียน ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในอนาคต เหตุผลที่ต้องฝึกฝนทักษะเหล่านี้ในระดับชั้น ม.1 พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนพัฒนากระบวนการคิดที่เป็นระบบ มีขั้นตอนในการแก้ปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้: ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีขึ้น เข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้ง เตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาต่อ: เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน พัฒนาทักษะการสื่อสาร: ช่วยให้นักเรียนสามารถสื่อสารความคิดเห็นของตนเองได้อย่างชัดเจนและมีเหตุผล เสริมสร้างความมั่นใจ: การฝึกฝนทำให้เกิดความมั่นใจในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ วิธีการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะ ตั้งคำถาม: สอนให้นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์ หาเหตุผลสนับสนุน: ฝึกให้นักเรียนหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง เปรียบเทียบและหาความแตกต่าง:...

สาระสำคัญของการเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการ สาระสำคัญที่นักเรียนจะได้เรียนรู้มีดังนี้ 1. เข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ: การวิเคราะห์ปัญหา: เรียนรู้ที่จะแยกแยะปัญหาออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อให้เข้าใจปัญหาได้อย่างชัดเจน การออกแบบอัลกอริทึม: ฝึกคิดขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ การเขียนรหัสลำลอง: ฝึกเขียนคำอธิบายขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ การทดสอบและปรับปรุง: เรียนรู้ที่จะตรวจสอบผลลัพธ์และแก้ไขข้อผิดพลาด 2. พัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะ: การใช้เหตุผล: ฝึกใช้เหตุผลในการตัดสินใจและเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม การเปรียบเทียบ: ฝึกเปรียบเทียบข้อมูลและหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ การสรุป: ฝึกสรุปผลจากข้อมูลที่ได้ 3. สร้างสรรค์และนวัตกรรม: การคิดนอกกรอบ: ฝึกคิดหาแนวทางแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่แตกต่าง การสร้างสรรค์ผลงาน:...

About ครูออฟ 1553 Articles
https://www.kruaof.com