3.1.3 การใช้สูตรพื้นฐานการคำนวณ    

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การใช้สูตรพื้นฐานการคำนวณในโปรแกรมตารางคำนวณ Microsoft Excel 2016 เช่น + (บวก), – (ลบ), * (คูณ), / (หาร) และ ^ (ยกกำลัง)  จะต้องใส่เครื่องหมาย = (เท่ากับ) นำหน้าสูตรก่อน แล้วตามด้วยตำแหน่งเซลล์ หรือตัวเลขที่เป็นเหมือนตัวแปรที่จะนำค่าไปคำนวณ  พื้นฐานการคำนวณโปรแกรม Microsoft Excel 2016 แบ่งชนิดของสูตรออกเป็น 4 ชนิด คือ

  1. ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operator)
  2. ตัวดำเนินการอ้างอิง (Reference Operator)
  3. สูตรในการเปรียบเทียบ (Comparison Formula)
  4. ตัวดำเนินการข้อความ (Text Operation)

เมื่อข้อมูลมีมากขึ้น อาจจะต้องใช้เวลาในการหาคำตอบที่นานขึ้น หรืออาจจำเป็นต้องใช้เครื่องมือเพื่อช่วยในการหาคำตอบ เช่น เครื่องคิดเลข ซึ่ง โปรแกรมตารางคำนวณ Microsoft Excel 2016 มีความสามารถในการช่วยหาคำตอบ จากข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็ว

การใช้สูตรพื้นฐานการคำนวณในโปรแกรมตารางคำนวณ Microsoft Excel 2016 จะต้องใส่เครื่องหมาย = (เท่ากับ) นำหน้าสูตรก่อน แล้วตามด้วยตำแหน่งเซลล์ หรือตัวเลขที่เป็นเหมือนตัวแปรที่จะนำค่าไปคำนวณ  พื้นฐานการคำนวณโปรแกรม Microsoft Excel 2016 แบ่งชนิดของสูตรออกเป็น 4 ชนิด ครอบคลุม 1) การคำนวณโดยตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ 2) การคำนวณโดยตัวดำเนินการอ้างอิง 3) การคำนวณโดยสูตรในการเปรียบเทียบ และ 4) การคำนวณโดยตัวดำเนินการข้อความ

1. ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operator)

คือ “เครื่องหมายคำนวณ” เช่น บวก, ลบ, คูณ, หาร และยกกำลัง ซึ่งตัวแปรที่ใช้กับตัดำเนินการนี้จะต้องเป็นข้อมูลตัวเลขเท่านั้น และผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็นตัวเลขเช่นเดียวกัน

2. ตัวดำเนินการอ้างอิง (Reference Operator)

ใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งเซลล์บนเวิร์กชีต โดยใช้เครื่องหมาย , (comma), : (colon)  หรือเว้นวรรค (space) ในการอ้างอิงถึงกลุ่มเซลล์บนเวิร์กชีต

3. สูตรในการเปรียบเทียบ (Comparison Formula)

ใช้เปรียบเทียบข้อมูล เช่น = (เท่ากับ), > (มากกว่า) เป็นต้น โดยแปรผลในเชิงตรรกะคือ TRUE (จริง) หรือ FALSE (เท็จ) เช่น 15>20 คือ 15 มากกว่า 20 หรือไม่ ซึ่งก็คือไม่ใช่ก็เป็น เท็จ (FALSE)

4. ตัวดำเนินการข้อความ (Text Operation)

ใช้สำหรับเชื่อมข้อความ  อาจจะเป็นข้อความแบบค่าคงที่  หรือข้อความที่เก็บอยู่ในเซลล์มาแสดงร่วมกันได้ หรือจะใช้เชื่อมเนื้อหาหลายๆ เซลล์ให้แสดงที่เซลล์ใหม่ได้

สูตรการคำนวณใน Excel จะคำนวณจากซ้ายไปขวาเสมอ  แต่เครื่องหมายคำนวณทางคณิตศาสตร์ต่างๆ จะมีลำดับความสำคัญต่างกัน โดยจะประมวลผลจากตัวดำเนินการระดับสูงไปยังระดับรองลงมา  หรือตามลำดับการคำนวณภายในสูตร เช่น A5+B5*C5-10 จะกระโดดข้ามเครื่องหมาย + ไปทำที่เครื่องหมาย * (คูณ) ก่อนตามลำดับความสำคัญแล้วจึงย้อนกลับไปคำนวณยังเครื่องหมายที่เหลือ และถ้าในสูตรคำนวณเดียวกันมีตัวดำเนินการที่มีระดับความสำคัญเท่าๆกัน เช่น + หรือ – ก็จะคำนวณจากซ้ายไปขวาจนครบตามปกติ

หากใช้สูตรผิด อาจจะมีข้อความแปลกๆ ปรากฏขึ้น นั่นคือ การ Error

ความหมายและแนวทางแก้ไขรูปแบบของ Error ในโปรแกรม Microsoft Excel 2016

Error แนวทางการแก้ไข
#VALUE!มี 2 กรณีหลัก ๆ คือ 1.ใส่ข้อมูลผิดประเภทลงไป เช่น ใส่ Text ลงไปใน Argument ที่จะต้องเป็น Number  เช่น =LEFT(“inwexcel”,“abc”) 2.ใส่ข้อมูลเป็น Range ลงไปใน Argument ที่ควรจะใส่ Cell เดียว เช่น =LEN(A1:C1) ซึ่งถ้าต้องการจะทำแบบนี้ จะต้องใช้สูตรแบบที่ Advance กว่าปกติที่เรียกว่า Array Formula แทน
#NAME?เกิดขึ้นเพราะระบุชื่อ Function หรือ Defined Name ที่ไม่มีอยู่จริง
#NUM!ตัวเลขที่ใช้มีปัญหา เช่น มีค่าน้อยหรือมากเกินไป
#DIV/0เกิดจากการหารด้วยช่องที่มีค่าเป็น 0 หรือเป็น Blank
#REFใส่ Cell Reference ที่ไม่มีตัวตน มักเกิดจากการไปลบCell/Row/Column หลังจากใส่สูตรไปแล้ว
#N/Aหากข้อมูลไม่เจอ มักเกิดกับ Function พวก Lookup ข้อมูลต่าง ๆ
#NULL!เกิดจาการใช้ Reference Operator ที่เป็นแบบ Intersect (หาส่วนที่ซ้อนทับกัน) โดยใช้เครื่องหมาย ช่องว่าง แต่ปรากฏว่าไม่มี Range ที่ Intersect กันเลย บางที Error นี้อาจเกิดจากการไม่ได้ตั้งใจพิมพ์เครื่องหมาย space ลงไปก็ได้
########จริง ๆ ไม่ใช่ Error เพียงแต่ข้อมูลมีความยาวเกินกว่าที่จะแสดงให้เห็นใน 1 ช่องได้ เจะต้องยืดความกว้างคอลัมน์ให้กว้างขึ้น หรือเปลี่ยนรูปแบบ Number Format ให้ตัวเลขสั้นลง

โปรแกรมตารางคำนวณ Microsoft Excel 2016 มีการใช้สูตรที่ช่วยในเรื่องของการคำนวณที่หลากหลาย ทำให้ลดระยะเวลาในการคิดประมวลผลเมื่อมีข้อมูลที่มาก ๆ ช่วยให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำในการนำผลการคำนวณไปใช้ในการวิเคราะห์ต่อไป

คลิกเรื่องต่อไป
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com