3.1.4 การใช้ฟังก์ชัน (Function) ในการคำนวณ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

Function (ฟังก์ชัน) คือ ชุดคำสั่งในการคำนวณอัตโนมัติเป็นฟังก์ชันสำเร็จรูปที่ได้เขียนเอาไว้เรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ใส่ชื่อฟังก์ชัน แล้วระบุค่าที่จะนำไปคำนวณตามรูปแบบของฟังก์ชัน หรือเรียกว่า Argument (อาร์กิวเมนต์) ฟังก์ชันพื้นฐาน ประกอบด้วย

  1. Sum (ผลรวม) หาผลรวมตัวเลข
  2. Max (ค่ามากที่สุด) หาค่าสูงสุดของตัวเลขที่เลือก
  3. Min (ค่าที่น้อยที่สุด) หาค่าต่ำสุดของตัวเลขที่เลือก                                                   
  4. Average (ค่าเฉลี่ย) หาค่าเฉลี่ย
  5. Count Numbers (นับจำนวนตัวเลข) นับจำนวนเซลล์ที่เก็บค่าตัวเลขเอาไว้
  6. More Functions… เลือกฟังก์ชันอื่นๆ
ฟังก์ชั่นความหมายตัวอย่าง
SUMรวมค่าทั้งหมด=SUM (A1:D1)
MAXหาค่าสูงสุด=MAX (A1:A10)
MINหาค่าน้อยสุด=MIN (A1:A10)
AVERAGEหาค่าเฉลี่ย=AVERAGE (A1:A10)
COUNTนับตัวเลข=COUNT (A1:A10)

1. การใช้ฟังก์ชันในการหาผมรวม (Sum) ของกลุ่มตัวเลข คลิกที่ฟังก์ชัน Sum เลือก Drag คลุมช่วงข้อมูลตัวเลขที่ต้องการ (จะปรากฎฟังก์ชัน =SUM(A1:A4)) เสร็จแล้วกดปุ่ม Enter

2. การใช้ฟังก์ชันในการหาค่าต่ำสุด (Max) ของกลุ่มตัวเลข คลิกที่ฟังก์ชัน Max เลือก Drag คลุมช่วงข้อมูลตัวเลขที่ต้องการ (จะปรากฎฟังก์ชัน =MAX(A1:A4)) เสร็จแล้วกดปุ่ม Enter

3. การใช้ฟังก์ชันในการหาค่าต่ำสุด (Min) ของกลุ่มตัวเลข คลิกที่ฟังก์ชัน Min เลือก Drag คลุมช่วงข้อมูลตัวเลขที่ต้องการ (จะปรากฎฟังก์ชัน =MIN(A1:A4)) เสร็จแล้วกดปุ่ม Enter

4. การใช้ฟังก์ชันในการหาค่าเฉลี่ย (Average) ของกลุ่มตัวเลข คลิกที่ฟังก์ชัน Average เลือก Drag คลุมช่วงข้อมูลตัวเลขที่ต้องการ (จะปรากฎฟังก์ชัน = AVERAGE(A1:A4)) เสร็จแล้วกดปุ่ม Enter

5. การใช้ฟังก์ชันในการหาค่าจำนวนนับของข้อมูล (Count) ของกลุ่มตัวเลข คลิกที่ฟังก์ชัน Count Number เลือก Drag คลุมช่วงข้อมูลตัวเลขที่ต้องการ (จะปรากฎฟังก์ชัน = COUNT(A1:A4)) เสร็จแล้ว กดปุ่ม Enter

6. ฟังก์ชันเพิ่มเติม (More Functions) เมื่อผู้ใช้สามารถที่จะกำหนดให้เซลล์ของ Excel ทำการคำนวณแบบพื้นฐานโดยสูตรใช้เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ได้แล้ว แต่บางครั้งการคำนวณจะกระทำกับข้อมูลที่มี ขนาดใหญ่และมีการอ้างถึงชื่อเซลล์ที่มีจำนวนมาก อาจทำให้การพิมพ์สูตรมีความยาวและเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้

ฟังก์ชันเพิ่มเติม (More Functions)

RANK เลือกค่าที่ต้องการ แล้วค่านั้นอยู่อันดับเท่าไหร่จากช่วงทั้งหมด เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการค้นหาลำดับของตัวเลขหรือเซลล์ที่ต้องการ ว่าค่าดังกล่าวนั้น อยู่ในอันดับที่เท่าไหร่ของช่วงที่เราเลือก เช่น หาว่าคะแนนสอบของนาย A อยู่อันดับที่เท่าไร จากคะแนนสอบของเด็กทั้งห้อง

LEN หาจำนวนตัวอักษรของคำหรือเซลล์ที่เลือก ใช้สำหรับต้องการทราบจำนวนตัวอักษรในเซลล์ โดยจะนับทุกตัวอักษรทั้งวรรณยุกต์และอักขระพิเศษต่างๆ

WEEKDAY ดูว่าวันดังกล่าวเป็นวันอะไร ฟังก์ชั่นนี้ ใช้ในกรณีที่มีข้อมูลวันที่ เช่น วัน/เดือน/ปี แล้วต้องการทราบว่าค่าดังกล่าวเป็นวันอะไรในสัปดาห์ (อาทิตย์, จันทร์, อังคาร) โดยจะได้ค่ามาเป็นตัวเลข 1=วันอาทิตย์ 2=วันจันทร์ 3=วันพุธ ไล่ไป

DAYS หาจำนวนวันที่ต่างกันจากวันที่ ฟังก์ชั่นนี้ใช้สำหรับการคำนวนจำนวนวัน จากเซลล์ที่มีข้อมูลเป็นวันที่ 2 เซลล์ เช่น คุณต้องการทราบว่า 20-Jul-21 กับ 12-Dec-21 ห่างกันกี่วัน สามารถใช้ DAYS คำนวนได้

IF การใส่เงื่อนไข ฟังก์ชั่นเงื่อนไข if…then…else ใช้กรณีที่ต้องการทำงานด้วยเงื่อนไขบางอย่าง ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไข ให้แสดงผลลัพธ์ A ถ้าผิดจากเงื่อนไข ให้แสดงผลลัพธ์ B เป็นต้น เช่น ถ้านักเรียนได้คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ถือว่าผ่าน แต่ถ้าน้อยกว่าถือว่าสอบตก

การป้อนข้อมูลในโปรแกรมตารางคำนวณ Microsoft Excel 2016 สามารถทำได้ โดยการพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการลงไปในเซลล์ (Cell) ได้เลย เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้วก็กด Enter หรือลูกศร ขึ้น ลง ซ้าย ขวา เพื่อที่จะป้อนข้อมูลในเซลล์อื่น ๆ โดยแต่ละเซลล์ จะมีชื่อเรียก เช่น เมื่อเลือกที่คอลัมภ์ B แถว 3 เซลล์จะมีชื่อว่า B3

     การหาค่าเปอร์เซ็นต์จากชุดตัวเลข สูตรการหาค่าเปอร์เซ็นต์จากค่าตัวเลขทั้งหมด เริ่มจากหาผลรวมของตัวเลขทั้งหมด จากนั้นนำเซลล์ที่ต้องการหาค่าเปอร์เซนต์ไปหาร แล้วคูณด้วย 100 ดังสมการนี้ =(จำนวนผลรวม/ตัวเลขในเซลล์)*100

ฟังก์ชันที่ใช้ในการคำนวณ รวมทั้งฟังก์ชันอื่นๆ เพิ่มเติม ช่วยให้การคำนวณข้อมูลมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เพียงแต่ต้องเข้าใจการทำงานของแต่ละฟังก์ชัน ก็จะช่วยให้นำมาใช้ในการประมวลผลข้อมูลได้ และนำผลของการคำนวณที่ได้ไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คลิกเรื่องต่อไป
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com