เป็นโรคไต ห้ามกินอะไร

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

“อย่ากินเค็มมาก เดี๋ยวเป็นโรคไต” เป็นประโยคที่เราอาจได้ยินจากผู้หลักผู้ใหญ่ หรือคนใกล้ตัวบ่อยๆ เมื่อเรานั่งทานอาหารโต๊ะเดียวกัน แน่นอนว่าการทานรสเค็มมากๆ เป็นสาเหตุสำคัญของโรคไตอย่างที่ทุกคนเข้าใจกันนั่นแหละ หลายคนสาดน้ำปลาไม่ยั้ง ส้มตำลาบน้ำตก ยำรสจัดๆ ของชอบสุดๆ ไปๆ มาๆ ตรวจสุขภาพประจำปี รู้ตัวอีกทีก็เป็นโรคไต หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตเสียแล้ว

นอกจากต้องลดเค็มโดยด่วนแล้ว ยังต้องควบคุมอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงด้วย เพราะอะไร และอาหารอะไรบ้างที่มีโพแทสเซียมสูงที่คุณควรเลี่ยง มาดูกัน

ทำไมเป็นโรคไต แล้วต้องเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียม?

โพแทสเซียม เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง ที่ช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อในร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ

ส่วนไตมีหน้าที่กรองเอาสารอาหารที่ประโยชน์กลับขึ้นไปดูแลร่างกายผ่านกระแสเลือด และแยกเอาสารอาหารที่เกินความจำเป็นออกไป

หากไตเสื่อม ไตก็จะกรองเอาโพแทสเซียมออกจากร่างกายได้น้อยลง ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตจึงควรจำกัดการทานอาหารที่มีโพแทสเซียมไม่ให้สูงเกินไปนั่นเอง

โพแทสเซียมสูง จะส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

หากร่างกายมีปริมาณโพแทสเซียมสูงเกินไป อาจมีอาการเหนื่อยหอบ อ่อนเพลีย ใจสั่น คลื่นไส้ เป็นตะคริว ชีพจรเต้นช้าลง ไปจนถึงหัวใจหยุดเต้น

ผู้ป่วยโรคไต ห้ามทานอาหารที่มีโพแทสเซียม?

จะให้ไม่ทานเลยก็ไม่ได้ เพราะอย่างไรก็ตาม โพแทสเซียมยังพอมีประโยชน์กับผู้ป่วยโรคไตอยู่บ้าง เพราะโพแทสเซียมช่วยลดอาการบวมน้ำในร่างกายของผู้ป่วย ช่วยปรับสมดุลของน้ำในร่างกายให้เป็นปกติ และป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวอีกด้วย

อาหารโพแทสเซียม ที่ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง

ผักสด โดยเฉพาะผักสีเข้มๆ นมไขมันต่ำ หรือไม่มีไขมัน ถั่วต่างๆ และธัญพืช

ตัวอย่างอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง

  • – ผงโกโก้
  • – ลูกพรุนอบแห้ง
  • – ลูกเกด
  • – เมล็ดทานตะวัน
  • – อินทผาลัม
  • – ปลาแซลมอน
  • – ผักโขมสด
  • – เห็ด
  • – กล้วย
  • – ส้ม

เพราะฉะนั้นอาหารที่ผู้ป่วยโรคไตสามารถทานได้ คืออาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ คือผักผลไม้ที่มีสีซีดๆ เช่น ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนูขาว ฟักเขียว ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา แต่ก็สามารถทานสลับระหว่างอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง-ต่ำ เพื่อรักษาสมดุลของโพแทสเซียมในร่างกายได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้วิธีลดปริมาณโพแทสเซียมในผัก คือการลวกในน้ำร้อนก่อนทาน จะช่วยลดปริมาณโพแทสเซียมได้ถึง 30-40% ค่ะ

แต่หากพบปริมาณโพแทสเซียมในเลือดสูงผิดปกติ ควรงดผลไม้ทุกชนิด แล้วทานแต่ผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com