10 สาเหตุโรควูบ อาการหน้ามืดเป็นลมที่อาจถึงตาย !

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วูบโดยไม่รู้ตัว หลังมีอาการหน้ามืด เวียนหัว ตาลาย ภาวะนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจบอกโรคที่ซ่อนอยู่ในร่างกายเราได้ด้วย

โรควูบ หรืออาการหน้ามืดเป็นลมหมดสติอย่างกะทันหันเป็นภาวะที่ไม่ปกติของร่างกาย ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจว่าอาการวูบส่วนมากเกิดจากภาวะอ่อนเพลีย ทั้งที่จริงแล้วอาการวูบ หน้ามืด เวียนศีรษะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ และในบางเคสอาการวูบยังเป็นสัญญาณของโรคที่ซ่อนอยู่ในตัวเราด้วย ลองมาดูกันว่า อาการวูบ เวียนหัว ส่วนใหญ่เกิดจากอะไรได้บ้าง

อาการวูบ เกิดจากสาเหตุอะไร

1. ภาวะอ่อนเพลีย พักผ่อนน้อ

          หากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ ก็เป็นไปได้ที่เลือดจะไปเลี้ยงสมองส่วนควบคุมความรู้สึกลดลง ทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลม และหมดสติอย่างกะทันหันได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นภาวะวูบจากอาการอ่อนเพลียอาจสัมพันธ์กับภาวะร่างกายขาดน้ำ ยืนตากแดดนาน ๆ หรือไม่ได้รับประทานอาหารจนส่งผลให้ความดันเลือดตกได้ และเกิดอาการวูบหมดสติตามมา
          ทว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว อาการวูบในเคสนี้จะเป็นอยู่ไม่นาน หากได้นั่งพักสักระยะ ความดันเลือดก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หายจากอาการวูบได้เองในที่สุด

2. ไอแรง เบ่งปัสสาวะหรืออุจจาระแรง ๆ

การกดดันร่างกายด้วยการพยายามเบ่งปัสสาวะหรืออุจจาระ หรือแม้แต่การไออย่างรุนแรงก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ความดันเลือดตก เพราะร่างกายพยายามลดความกดดันด้วยการสั่งให้หัวใจเต้นช้าลงนั่นเอง ซึ่งภาวะวูบในเคสนี้อาจไม่ถึงกับหมดสติไปในทันที แต่อาจมีอาการวูบ หน้ามืด ตัวเย็น เหงื่อชื้น และหากอยู่นิ่ง ๆ สักระยะ อาการวูบก็จะหายไปได้เอง ความดันเลือดก็จะเข้าที่เข้าทาง

3. ความเครียด วิตกกังวล

          ความเครียดและอาการวิตกกังวลก็เป็นสาเหตุของโรควูบได้ โดยเฉพาะคนที่ตกอยู่ในสภาวะเครียดหนัก ๆ หรือวิตกกังวลอยู่กับอะไรบางอย่างเป็นอย่างมาก ความดันเลือด ณ ขณะนั้นอาจแกว่งและลดระดับลงจนก่อให้เกิดอาการหน้ามืด วูบหมดสติได้ในบางราย ซึ่งเคสนี้จะพบได้บ่อยกับคนที่เจอเหตุการณ์รุนแรง หรือได้รับข่าวร้ายอย่างไม่ทันตั้งตัว

4. ระบบประสาทไวกว่าปกติ

ในบางคนที่มีภาวะระบบประสาทไวกว่าปกติ เมื่อเจอเข้ากับสิ่งเร้า เช่น อากาศร้อน ภาวะกดดัน ความกลัวอย่างรุนแรง หัวใจก็จะเต้นเร็วผิดปกติ ส่งผลให้เลือดสูบฉีดในร่างกายค่อนข้างมาก ซึ่งสมองก็จะพยายามควบคุมโดยสั่งการให้หัวใจเต้นช้าลง ความดันเลือดก็จะต่ำกว่าปกติ ส่งผลให้เลือดสูบฉีดไปเลี้ยงสมองแบบขาดตอน ก่อให้เกิดอาการหน้ามืด วูบหมดสติได้เช่นกัน

5. การรับประทานยาบางชนิด

 ยาบางประเภทก็มีผลให้เกิดอาการวูบได้ด้วย อย่างยาลดความดันโลหิต หากกินมากเกินไป ความดันในร่างกายอาจตกได้ ก่อให้เกิดอาการวูบเมื่อเปลี่ยนท่า ยกตัวอย่างเช่น เมื่อนั่งนาน ๆ แล้วลุกขึ้นยืนอาจทำให้ความดันเลือดลดลง ก่อเป็นอาการวูบหมดสติได้ ซึ่งส่วนมากจะพบอาการนี้ในผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่น ๆ หรือผู้ป่วยที่กินยาทางระบบประสาท เช่น ยาคลายกังวล ยานอนหลับ และยาแก้ปวดบางชนิดที่มีส่วนผสมของฝิ่น ก็อาจมีอาการวูบบ่อย ๆ เช่นกัน
          นอกจากนี้ในบางคนที่กินยาลดความอ้วน ที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะก็อาจมีอาการวูบ หมดสติ หรือบางรายอาการหนักถึงขั้นเสียชีวิตก็มีให้เห็นมาแล้ว ดังนั้นอย่ากินยาลดความอ้วนกันเลยดีกว่า อยากผอมก็ควรออกกำลังกายและคุมอาหารจะปลอดภัยที่สุด

6. ภาวะความดันต่ำ

          ถ้ายังไม่สูงอายุ และมักจะวูบบ่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อเคลื่อนไหว อาจเป็นไปได้ว่าคุณกำลังมีภาวะความดันเลือดต่ำ ซึ่งเคสนี้จะเกิดอาการหน้ามืดบ่อย ๆ เมื่อขยับเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็ว เช่น นอนอยู่แล้วลุกขึ้นนั่งโดยทันที หันหน้าเร็ว ๆ อาการหน้ามืดจะถามหา หรือลุก-นั่งเร็ว ๆ ก็อาจวูบหมดสติได้เช่นกัน ดังนั้นหากพบว่าตัวเองมีอาการวูบบ่อย ๆ ให้ลองปรึกษาแพทย์ดู

7. โรคเบาหวาน

          ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่คุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเสี่ยงต่อภาวะวูบหมดสติได้ง่าย ทั้งจากสาเหตุระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือสาเหตุด้านภาวะขาดน้ำ จากอาการปัสสาวะบ่อยมาก

8. ภาวะโลหิตจาง

          ภาวะโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็กค่อนข้างพบได้บ่อยในวัยสาว โดยเป็นภาวะที่ร่างกายขาดธาตุเหล็ก ทำให้ไม่สามารถสร้างฮีโมโกลบินได้เพียงพอ ซึ่งอาจเกิดจากการรับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ ภาวะประจำเดือนมามาก หรือมีการเสียเลือดเรื้อรังจากสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งหากพบว่าตัวเองมักจะหน้ามืดและวูบบ่อย ๆ ลองไปตรวจระดับฮีโมโกลบินในร่างกายบ้างก็น่าจะดี

9. ความผิดปกติของหัวใจ

เมื่อการทำงานของหัวใจผิดปกติไป แน่นอนว่าจะส่งผลไปถึงการสูบฉีดเลือดและระดับความดันโลหิต ก่อให้เกิดอาการวูบหมดสติบ่อย ๆ ในคนไข้กลุ่มนี้ได้ ซึ่งสาเหตุของอาการวูบที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจก็มีตั้งแต่โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง และโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ซึ่งจะมีผลให้การสูบฉีดเลือดไม่คล่องตัว เลือดก็จะไปเลี้ยงสมองไม่พอนั่นเอง

10. ความผิดปกติของสมอง

 เช่น ภาวะหลอดเลือดสมองอุดตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดจากโรคทางสมองอื่น ๆ เช่น โรคลมชัก หรือเกิดความผิดปกติของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการวิงเวียนบ่อย ๆ ได้ เป็นต้น

          นอกจากนี้ อาการวูบยังอาจเกิดได้เพราะออกกำลังกายหนักเกินไป หรือการเสียน้ำ เสียเลือดออกจากร่ายกายมากเกินไป รวมทั้งคนที่ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก ๆ ก็มีโอกาสเกิดอาการวูบได้เช่นกัน

อาการวูบ อันตรายไหม

          โดยทั่วไปแล้ว อาการวูบที่เกิดจากความอ่อนเพลีย พักผ่อนน้อย ความเครียด ไม่ได้อันตรายมากนัก หากนั่งพักสักครู่อาการก็จะดีขึ้น แต่ทว่าในบางครั้งอาการวูบอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น เกิดวูบขณะกำลังขับรถ หรืออยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตราย เช่น กำลังข้ามถนน เดินอยู่ริมแม่น้ำ แม้กระทั่งการวูบล้มลงไปจนศีรษะกระแทกพื้น ตกจากที่สูง ก็ทำให้ได้รับบาดเจ็บได้ ดังนั้นอาการนี้จึงไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ หากเป็นบ่อยควรไปตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงจะดีที่สุด

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

แนวคิดเชิงนามธรรม: แกะเปลือกปัญหาเพื่อเข้าถึงแก่นแท้

แนวคิดเชิงนามธรรมเป็นมากกว่าการประเมินความสำคัญของปัญหา มันเป็นกระบวนการที่ช่วยให้เรา มองข้ามรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อ เห็นภาพรวม หรือ แก่นแท้ ของปัญหาอย่างชัดเจนขึ้น ลองเปรียบเทียบกับการปอกผลไม้: เปลือกผลไม้: แทน รายละเอียดปลีกย่อย หรือข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา เนื้อผลไม้: คือ แก่นแท้ของปัญหา หรือข้อมูลที่สำคัญที่เราต้องการนำมาใช้ในการวิเคราะห์และแก้ไข ทำไมแนวคิดเชิงนามธรรมจึงสำคัญ? ช่วยให้เข้าใจปัญหาได้ง่ายขึ้น: เมื่อเราตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไป จะทำให้เราเห็นภาพรวมของปัญหาได้ชัดเจนขึ้น และเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาได้ง่ายขึ้น ช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ: เมื่อเราเข้าใจแก่นแท้ของปัญหาแล้ว ก็จะสามารถเลือกวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมได้อย่างตรงจุด และประหยัดเวลาและทรัพยากรมากขึ้น ช่วยให้สื่อสารปัญหาได้อย่างชัดเจน:...

การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลตามข้อตกลงการใช้: เข้าใจและปฏิบัติตามสัญญา Creative Commons

สัญญา Creative Commons (CC) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถกำหนดเงื่อนไขการใช้งานผลงานของตนได้อย่างชัดเจน โดยอนุญาตให้ผู้อื่นนำผลงานไปใช้ต่อได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประเภทของสัญญา CC ทำไมต้องเข้าใจสัญญา Creative Commons? หลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์: การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลโดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ อาจถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้ ให้เครดิตผู้สร้าง: การให้เครดิตผู้สร้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญา CC เป็นการแสดงความเคารพต่อผู้สร้างสรรค์ผลงาน ส่งเสริมการแบ่งปันความรู้: การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลที่ได้รับอนุญาตภายใต้สัญญา CC ช่วยให้เกิดการเผยแพร่ความรู้และข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ประเภทของสัญญา Creative Commons สัญญา...

ผลกระทบ แนวทางป้องกัน และวิธีการแก้ปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างแยกไม่ออก การใช้งานอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ นำมาซึ่งความสะดวกสบายและประสิทธิภาพในการทำงานและการสื่อสาร แต่ในขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบหากเราไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่ปลอดภัย การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว: เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลส่วนบุคคล อาจนำไปสู่การถูกหลอกลวงหรือการใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด การถูกแฮ็ก: ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจเข้าควบคุมอุปกรณ์ของเราเพื่อขโมยข้อมูลหรือทำลายระบบ การถูกคุกคามทางออนไลน์: เช่น การถูกกลั่นแกล้ง การถูกคุกคาม หรือการถูกข่มขู่ การติดไวรัส: โปรแกรมที่เป็นอันตรายอาจเข้ามาทำลายระบบคอมพิวเตอร์หรือขโมยข้อมูล การเสพติดอินเทอร์เน็ต: การใช้เวลากับอุปกรณ์ดิจิทัลมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจ แนวทางป้องกัน สร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง: ใช้รหัสผ่านที่ประกอบด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ ตัวเล็ก...

วิธีการป้องกันความเป็นส่วนตัวและข้อมูลของตนเองในยุคดิจิทัล

ในยุคที่ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญและมีมูลค่าสูง การรักษาความเป็นส่วนตัวและปกป้องข้อมูลของตนเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อไปนี้คือวิธีการป้องกันที่คุณสามารถทำได้: การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวบนโซเชียลมีเดียและแอปพลิเคชัน จำกัดการเข้าถึงข้อมูล: ปรับตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้แคบลง ใครบ้างที่สามารถเห็นโพสต์ รูปภาพ หรือข้อมูลส่วนตัวของคุณ ตรวจสอบแอปพลิเคชันที่ขออนุญาตเข้าถึงข้อมูล: ก่อนอนุญาตให้แอปพลิเคชันเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว เช่น สถานที่ตั้ง รายชื่อติดต่อ หรือรูปภาพ ควรพิจารณาให้รอบคอบว่าจำเป็นต้องให้สิทธิ์เหล่านั้นหรือไม่ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเป็นประจำ: บริษัทเทคโนโลยีมักมีการปรับเปลี่ยนนโยบายความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอ จึงควรตรวจสอบและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าเป็นประจำ การสร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง หลีกเลี่ยงการใช้รหัสผ่านซ้ำ: ไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับบัญชีต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ซับซ้อน: รวมตัวอักษรใหญ่เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ ใช้ตัวจัดการรหัสผ่าน: ช่วยในการจัดเก็บรหัสผ่านที่ซับซ้อนหลายรหัส การระวังภัยไซเบอร์ ระวังอีเมลขยะและลิงก์ที่น่าสงสัย:...

About ครูออฟ 1563 Articles
https://www.kruaof.com