วิธีค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพด้วย Google Search ที่ขับเคลื่อนด้วย AI (Search On 2020)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

จากงาน Search On 2020 ที่จัดขึ้นในวันนี้ (searchon.withgoogle.com) Google ได้แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ที่ทันสมัยที่สุดมาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ Google เพื่อสานต่อพันธกิจในการจัดระเบียบข้อมูลของโลก และทำให้ข้อมูลดังกล่าวสามารถเข้าถึงและเป็นประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง

ซึ่งสามารถรับชมพรีเซนเทชั่นฉบับเต็มโดย Prabhakar Raghavan รองประธานอาวุโส (SVP)  และหัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ท่านอื่นๆ ของ Google ได้จากลิงก์ด้านบน ทั้งนี้ เราได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่างๆ ที่ประกาศภายในงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ช่วยให้คุณพบสิ่งที่ต้องการ

เมื่อปีที่แล้ว Google ได้เปิดตัวอัลกอริทึมสำหรับการประมวลผลภาษาที่เรียกว่า BERT เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่คุณค้นหาบน Google Search มากยิ่งขึ้น วันนี้ Google ได้นำอัลกอริทึม BERT มาใช้กับทุกข้อความค้นหาที่เป็นภาษาอังกฤษแล้ว ซึ่งจะช่วยให้ผลการค้นหามีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ Google ยังได้นำเสนอความก้าวหน้าใหม่ๆ ในการจัดอันดับการค้นหาซึ่งเป็นผลมาจากการวิจัยเกี่ยวกับ AI ล่าสุด ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการทำความเข้าใจ ‘คำที่สะกดผิด’ และ ‘ข้อความเฉพาะ’ บนหน้าเว็บได้ดียิ่งขึ้น รวมถึง ‘หัวข้อย่อย’ ที่เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ใช้สนใจ ซึ่งจะช่วยให้เนื้อหามีความหลากหลายมากขึ้นเมื่อคุณทำการค้นหาแบบกว้างๆ  ซึ่งจะเริ่มใช้อัลกอริทึมดังกล่าวภายในสิ้นปีนี้ โดยในเบื้องต้นจะรองรับการค้นหาด้วยภาษาอังกฤษก่อน

เข้าใจตอนสำคัญในวิดีโอ

ด้วยการใช้แนวทางใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ทำให้สามารถเข้าใจความหมายเชิงลึกของวิดีโอและระบุตอนสำคัญในวิดีโอได้โดยอัตโนมัติ วิธีนี้ทำให้ Google สามารถแท็กตอนสำคัญเหล่านั้นในวิดีโอเพื่อให้คุณเลือกชมเนื้อหาที่ต้องการได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าคุณกำลังมองหาขั้นตอนการทำอาหาร หรือลูกดังค์ปิดเกมในวิดีโอไฮไลต์แมทช์บาสเก็ตบอล คุณก็จะค้นพบตอนสำคัญเหล่านั้นได้อย่างง่ายดาย ซึ่งในปีนี้ Google ได้เริ่มทดสอบเทคโนโลยีนี้แล้ว และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ เทคโนโลยีใหม่นี้จะครอบคลุม 10% ของการค้นหาบน Google

เข้าถึงข้อมูลคุณภาพสูงในช่วงโควิด-19

Google กำลังทำการปรับปรุงใหม่หลายอย่างเพื่อช่วยให้คุณเดินทางและทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การอัปเดตความหนาแน่นของสถานที่แบบเรียลไทม์ทำให้คุณเห็นว่าสถานที่นั้นมีผู้ใช้บริการหนาแน่นมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถรักษาระยะห่างได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ Google ยังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้กับ Live View เพื่อช่วยให้คุณได้รับข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับร้านค้าที่คุณสนใจก่อนที่จะเข้าใช้บริการ แต่ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีการเพิ่มข้อมูลด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับโควิด-19 ลงในโปรไฟล์ธุรกิจใน Google Search และ Google Maps ด้วย

วิธีนี้จะช่วยให้คุณทราบว่าร้านค้าที่คุณจะไปมีกฎให้ผู้ใช้บริการต้องสวมหน้ากากอนามัย จำเป็นต้องจองล่วงหน้า หรือมีมาตรการป้องกันความปลอดภัยเป็นพิเศษอื่นๆ  เช่น การตรวจวัดอุณหภูมิหรือไม่ เป็นต้น และ Google ได้ใช้เทคโนโลยี Google Duplex เพื่อช่วยให้ธุรกิจในท้องถิ่นอัปเดตข้อมูลทางออนไลน์ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เช่น เวลาเปิดทำการ และสินค้าคงคลัง เป็นต้น

ค้นหาสิ่งที่คุณเห็น และสำรวจข้อมูลในแบบ 3 มิติ

มีหลายสิ่งหลายอย่างที่หากเราสามารถมองเห็นภาพได้ก็จะทำให้มีความเข้าใจสิ่งนั้นได้ดีขึ้น ฟีเจอร์ใหม่ๆ ใน Google Lens และ AR (Augmented Reality) ใน Google Search ช่วยให้คุณเรียนรู้ ช้อปสินค้า และค้นพบสิ่งต่างๆ ในรูปแบบใหม่ๆ จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้หลายคนต้องเผชิญกับความท้าทายในการเรียนจากบ้าน ตอนนี้ Google Lens สามารถช่วยคุณทำการบ้านคณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ได้แล้ว ในขณะเดียวกันการเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing ก็ทำให้วิธีการซื้อสินค้าของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างมาก

ดังนั้น Google จึงทำให้การเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์เป็นเรื่องง่ายขึ้น ไม่ว่าคุณจะมองหาเสื้อกันหนาว หรือต้องการชมรถใหม่อย่างใกล้ชิด (ฟีเจอร์รถยนต์เปิดให้ใช้งานเฉพาะในสหรัฐอเมริกา) แต่ไม่สามารถไปที่โชว์รูมได้

ต้องการหาเพลง แต่ไม่รู้ว่าจะเสิร์ชว่าอะไร แค่ร้องก็เจอ   

แน่นอนว่าทุกคนต่างก็เคยมีประสบการณ์ที่มีเพลงติดอยู่ในหัว แต่จำเนื้อเพลงไม่ได้ ตอนนี้แค่ฮัมเพลงเพื่อค้นหา ระบบ AI ของ Google ก็สามารถจับคู่ทำนองกับเพลงที่คุณต้องการค้นหาได้ ฟีเจอร์นี้รองรับหลายภาษา รวมถึงภาษาไทยสำหรับผู้ที่ใช้ Android ด้วย 

ผู้คนใช้ Google Search เพื่อค้นหาข้อมูลที่มีคุณภาพสูงสุด และความมุ่งมั่นในคุณภาพส่งผลให้ Google Search แตกต่างจากเสิร์ชเอนจินรายอื่นตั้งแต่ที่เปิดให้บริการวันแรกนับจนถึงปัจจุบัน ทุกๆ ปี Google ได้ทำการปรับปรุงหลายพันรายการเพื่อให้ Google Search มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และทดสอบการเปลี่ยนแปลงแต่ละรายการอย่างเข้มงวดเพื่อให้มั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นเกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้

ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยระดับโลก

เพื่อให้ผู้คนและข้อมูลของพวกเขาปลอดภัย Google จึงลงทุนในความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยระดับโลก Google เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมในด้านการรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ใช้ในขณะค้นหาข้อมูลด้วยเทคโนโลยี Safe Browsing และการป้องกันสแปม โดย Google เชื่อว่าความเป็นส่วนตัวเป็นสิทธิสากล นอกจากนี้ Google ยังมุ่งมั่นที่จะมอบเครื่องมือที่จำเป็นในการควบคุมความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้ทุกคน 

การเข้าถึงแบบเปิดสำหรับทุกคน 

Google มุ่งมั่นที่จะสร้างการเข้าถึงแบบเปิด (open access) สำหรับทุกคน  รวมทั้งมุ่งมั่นที่จะช่วยให้เว็บแบบเปิด (open web) เติบโต นับตั้งแต่ที่ Google Search เปิดให้บริการ มีผู้เข้าชมเว็บแบบเปิดเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี Google เปิดให้บริการฟรีสำหรับทุกคนและเข้าใช้งานได้จากอุปกรณ์ใดก็ได้ โดยรองรับมากกว่า 150 ภาษาทั่วโลก และ Google จะยังคงเดินหน้าขยายขีดความสามารถในการให้บริการผู้คนทั่วโลกต่อไป 

สิ่งเหล่านี้เป็นหัวใจหลักในการดำเนินงานของ Google มาอย่างยาวนาน และเป็นสิ่งที่ทำให้ Google Search เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้สำหรับผู้คนกว่าพันล้านคนที่เข้ามาใช้บริการเพื่อค้นหาข้อมูลในแต่ละวัน

หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณ และสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน Search On 2020 และการประกาศต่างๆ ได้ในบล็อกนี้ และในโฟลเดอร์นี้ประกอบไปด้วยภาพความละเอียดสูง และ GIF ที่คุณสามารถนำไปใช้ประกอบบทความของคุณได้

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

แนวคิดเชิงนามธรรม: แกะเปลือกปัญหาเพื่อเข้าถึงแก่นแท้

แนวคิดเชิงนามธรรมเป็นมากกว่าการประเมินความสำคัญของปัญหา มันเป็นกระบวนการที่ช่วยให้เรา มองข้ามรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อ เห็นภาพรวม หรือ แก่นแท้ ของปัญหาอย่างชัดเจนขึ้น ลองเปรียบเทียบกับการปอกผลไม้: เปลือกผลไม้: แทน รายละเอียดปลีกย่อย หรือข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา เนื้อผลไม้: คือ แก่นแท้ของปัญหา หรือข้อมูลที่สำคัญที่เราต้องการนำมาใช้ในการวิเคราะห์และแก้ไข ทำไมแนวคิดเชิงนามธรรมจึงสำคัญ? ช่วยให้เข้าใจปัญหาได้ง่ายขึ้น: เมื่อเราตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไป จะทำให้เราเห็นภาพรวมของปัญหาได้ชัดเจนขึ้น และเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาได้ง่ายขึ้น ช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ: เมื่อเราเข้าใจแก่นแท้ของปัญหาแล้ว ก็จะสามารถเลือกวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมได้อย่างตรงจุด และประหยัดเวลาและทรัพยากรมากขึ้น ช่วยให้สื่อสารปัญหาได้อย่างชัดเจน:...

การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลตามข้อตกลงการใช้: เข้าใจและปฏิบัติตามสัญญา Creative Commons

สัญญา Creative Commons (CC) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถกำหนดเงื่อนไขการใช้งานผลงานของตนได้อย่างชัดเจน โดยอนุญาตให้ผู้อื่นนำผลงานไปใช้ต่อได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประเภทของสัญญา CC ทำไมต้องเข้าใจสัญญา Creative Commons? หลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์: การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลโดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ อาจถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้ ให้เครดิตผู้สร้าง: การให้เครดิตผู้สร้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญา CC เป็นการแสดงความเคารพต่อผู้สร้างสรรค์ผลงาน ส่งเสริมการแบ่งปันความรู้: การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลที่ได้รับอนุญาตภายใต้สัญญา CC ช่วยให้เกิดการเผยแพร่ความรู้และข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ประเภทของสัญญา Creative Commons สัญญา...

ผลกระทบ แนวทางป้องกัน และวิธีการแก้ปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างแยกไม่ออก การใช้งานอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ นำมาซึ่งความสะดวกสบายและประสิทธิภาพในการทำงานและการสื่อสาร แต่ในขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบหากเราไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่ปลอดภัย การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว: เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลส่วนบุคคล อาจนำไปสู่การถูกหลอกลวงหรือการใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด การถูกแฮ็ก: ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจเข้าควบคุมอุปกรณ์ของเราเพื่อขโมยข้อมูลหรือทำลายระบบ การถูกคุกคามทางออนไลน์: เช่น การถูกกลั่นแกล้ง การถูกคุกคาม หรือการถูกข่มขู่ การติดไวรัส: โปรแกรมที่เป็นอันตรายอาจเข้ามาทำลายระบบคอมพิวเตอร์หรือขโมยข้อมูล การเสพติดอินเทอร์เน็ต: การใช้เวลากับอุปกรณ์ดิจิทัลมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจ แนวทางป้องกัน สร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง: ใช้รหัสผ่านที่ประกอบด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ ตัวเล็ก...

วิธีการป้องกันความเป็นส่วนตัวและข้อมูลของตนเองในยุคดิจิทัล

ในยุคที่ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญและมีมูลค่าสูง การรักษาความเป็นส่วนตัวและปกป้องข้อมูลของตนเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อไปนี้คือวิธีการป้องกันที่คุณสามารถทำได้: การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวบนโซเชียลมีเดียและแอปพลิเคชัน จำกัดการเข้าถึงข้อมูล: ปรับตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้แคบลง ใครบ้างที่สามารถเห็นโพสต์ รูปภาพ หรือข้อมูลส่วนตัวของคุณ ตรวจสอบแอปพลิเคชันที่ขออนุญาตเข้าถึงข้อมูล: ก่อนอนุญาตให้แอปพลิเคชันเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว เช่น สถานที่ตั้ง รายชื่อติดต่อ หรือรูปภาพ ควรพิจารณาให้รอบคอบว่าจำเป็นต้องให้สิทธิ์เหล่านั้นหรือไม่ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเป็นประจำ: บริษัทเทคโนโลยีมักมีการปรับเปลี่ยนนโยบายความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอ จึงควรตรวจสอบและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าเป็นประจำ การสร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง หลีกเลี่ยงการใช้รหัสผ่านซ้ำ: ไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับบัญชีต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ซับซ้อน: รวมตัวอักษรใหญ่เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ ใช้ตัวจัดการรหัสผ่าน: ช่วยในการจัดเก็บรหัสผ่านที่ซับซ้อนหลายรหัส การระวังภัยไซเบอร์ ระวังอีเมลขยะและลิงก์ที่น่าสงสัย:...

About ครูออฟ 1563 Articles
https://www.kruaof.com