4 เทคนิค ทำเว็บไซต์อย่างไร ให้น่าเชื่อถือ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ทุกคนทราบกันดี ว่าเว็บไซต์เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ ซึ่งก็ต้องยอมรับด้วยว่าการที่จะสร้างความไว้ใจให้เกิดขึ้นได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากปัจจุบันการก่ออาชญากรรมบนโลกออนไลน์นั้น มีให้เราพบเห็นได้กันเป็นจำนวนมาก

ถ้าหากคุณกำลังอยากที่จะเริ่มทำธุรกิจ ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเฉพาะบนเว็บไซต์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเลยก็คือ องค์ประกอบของเว็บไซต์ ที่จะต้องมาควบคู่กับการทำ เว็บไซต์น่าเชื่อถือ อีกด้วย เพราะหากเจ้าของแบรนด์ หรือเจ้าของธุรกิจทำเว็บไซต์ออกมา ไม่น่าไว้วางใจ ไม่น่าเชื่อถือ ลูกค้าหรือคนที่เข้ามาในเว็บไซต์ อาจมองว่าเป็นเว็บไซต์ปลอม เว็บไซต์อันตรายได้

มาสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ด้วยเทคนิคง่าย ๆ ในการ ทำเว็บไซต์ ของคุณดูน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยมีอยู่ด้วยกัน 4 เทคนิค ครอบคลุม (1) ออกแบบเว็บไซต์ ให้เหมาะสมกับธุรกิจ (2) อัพเดทเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง (3) มีข้อมูลที่ติดต่อผู้ขายได้ชัดเจน และ (4) รีวิวจากผู้ใช้งานจริง

1. ออกแบบเว็บไซต์ ให้เหมาะสมกับธุรกิจ

การออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับธุรกิจนั้น นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งในที่นี้ จะขอพูดถึงเรื่องของ การเลือกใช้ฟอนต์ที่เหมาะสม สำหรับการทำเว็บไซต์

ขั้นแรกเลย ตัวอักษร (Font) ที่จะนำมาใช้ จะต้องมีความเป็นมาตรฐานสากล อ่านง่าย ตัวอย่างฟอนต์ที่มีความเป็นสากล เช่น Arial, Verdana, Times New Roman, Tahoma เป็นต้น 

โดยขนาดของฟอนต์ต้องพอเหมาะ ไม่เล็กหรือใหญ่มากจนเกินไป และอย่าลืมเลือกใช้สีตัวอักษรที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ชัดเจนในที่นี้ก็ไม่ควรเป็นสีที่มีความฉูดฉาด หรืออ่อนมากจนเกินไป เพราะถ้าหากเลือกใช้สีที่ผิด บางทีมันอาจจะกลืนเข้ากับสีพื้นหลัง จนทำให้ไม่เห็นข้อความได้

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะขึ้นชื่อว่าเป็นยุคที่ภาษาไทยวิบัติ เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่เริ่มใช้ภาษาโซเชียลที่เป็นภาษาแปลก ๆ กันมากขึ้น แต่การ ทำเว็บไซต์ ก็ยังควรเน้นการสะกดตัวอักษรให้มีความถูกต้องมากที่สุด เพราะตัวอักษรในเว็บไซต์ของคุณจะสามารถเปลี่ยนมุมมอง และความรู้สึกของตัวอักษรเหล่านี้ เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมได้ ดังนั้น ข้อนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมากไม่แพ้กับข้ออื่นเลย

2. อัพเดทเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง

เว็บไซต์ที่ดี ที่น่าสนใจ จะมีสิ่งหนึ่งที่สามารถสะกดลูกค้าให้กล้ากดสั่งซื้อสินค้าบนหน้าเว็บไซต์ นั่นก็คือ การอัปเดตข้อมูลอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้หน้าเว็บไซต์มีความเป็นปัจจุบันให้มากที่สุด 

ดังนั้น การทำเว็บไซต์ จึงควรมีการอัพเดตข้อมูล และความเคลื่อนไหวต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ก็จะทำให้เว็บไซต์ดูมีความน่าเชื่อถือต่อธุรกิจ และไม่ถูกมองว่าเป็นเว็บไซต์ที่ถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง

ถ้าหากมีลูกค้าคนนึงต้องการที่จะซื้อสินค้าในเว็บไซต์ของเรา แต่พอเห็นหน้าเว็บไซต์แล้ว กลับพบว่าหน้าเว็บไม่มีการอัพเดทข้อมูลอะไรเลยมาหลายเดือนแล้ว ก็จะทำให้ลูกค้าเกิดความไม่แน่ใจแล้วล่ะ ว่าเว็บไซต์นี้ยังขายสินค้าอยู่มั้ย เมื่อสั่งซื้อไปแล้วจะได้รับสินค้าจริงหรือเปล่า จนอาจจะส่งผลทำให้ไม่ซื้อสินค้ากับเราไปในที่สุด

3. มีข้อมูลที่ติดต่อผู้ขายได้ชัดเจน

เว็บไซต์น่าเชื่อถือ มากแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการลงข้อมูลของผู้ขายว่าครบถ้วน และเป็นข้อมูลที่จริงมากเพียงใด ซึ่งข้อมูลหลัก ๆ ที่จำเป็นต้องมีก็คือ ชื่อของบริษัท ที่อยู่ เบอร์โทร แผนที่ร้านค้า เพื่อยืนยันการมีตัวตน และช่องทางการติดต่ออื่น ๆ ที่สามารถติดต่อได้ง่ายและรวดเร็ว นอกจากนี้หากมีการจดทะเบียนพาณิชย์พร้อมและมีหลักฐานชัดเจน ก็จะยิ่งสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้น  

ช่องทางที่อยากแนะนำนั่นก็ คือ Google My Business 

Google My Business คือ โปรไฟล์สำหรับร้านค้าและธุรกิจ ที่จะแสดงผลบนหน้าผลการค้นหา (SERP) ของ Google Search และ Google Maps เพื่อแสดงตำแหน่งหน้าร้านหรือสถานที่ตั้ง สำหรับให้บริการของธุรกิจขนาดเล็ก ไปจนถึงธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ ในบริเวณที่มีผู้คนค้นหา สินค้า ร้านค้า หรือบริการต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังมองหาสินค้าตัวนึงบนเว็บไซต์ และกำลังตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าตัวนั้นอยู่พอดี แต่คุณสังเกตเห็นว่าเว็บไซต์นี้เค้าไม่ขึ้นข้อมูลและช่องทางการติดต่อเจ้าของร้านให้คุณเลย ดูแล้วไม่ค่อยน่าเชื่อถือสักเท่าไหร่กับอีกร้านนึงที่มีสินค้าแบบที่คุณต้องการเช่นเดียวกัน แต่ในเว็บไซต์ขึ้นข้อมูลของร้านค้า และช่องทางเพื่อให้คุณติดต่อสอบถามกับเจ้าของร้านได้อย่างชัดเจน โดยที่คุณไม่ต้องมานั่งกังวลว่าซื้อไปแล้วจะได้รับสินค้าจริงมั้ยเหมือนเว็บแรก ลองคิดดู คุณอยากจะซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ไหน ? 

4. รีวิวจากผู้ใช้งานจริง

การอ้างอิงถึงผู้ที่เคยใช้บริการแล้ว หรือแคปภาพรีวิวจากลูกค้ามาลงบนหน้าเว็บไซต์ จะแสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์นี้เคยให้บริการกับลูกค้ารายอื่น ๆ จริง ยิ่งถ้าเป็นลูกค้าที่มีชื่อเสียงด้วยแล้ว จะทำให้ผู้พบเห็นที่เข้ามาในเว็บไซต์ เกิดความเชื่อถือเพิ่มขึ้นอีกด้วย         

การบอกเล่าประสบการณ์ที่ดีของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจผ่านบนหน้าเว็บไซต์ของคุณ จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของธุรกิจให้ดูดี และเป็นที่น่าจดจำได้

การสร้าง เว็บไซต์น่าเชื่อถือ นั้น มีมากมายหลายวิธี โดยทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ที่จะทำให้ลูกค้า และผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์นั้นเกิดความสนใจ ซึ่งในบางครั้งการที่จะทำเว็บไซต์ให้ดีขึ้นมาได้ คุณเองอาจจะต้องให้ความใส่ใจในหลาย ๆ องค์ประกอบ เพื่อที่จะให้เว็บดูมีความน่าเชื่อถือ และสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ที่พบเห็นได้ ลองนำทั้ง 4 เทคนิคไปใช้กับเว็บไซต์ของคุณดู เราทำได้คุณเองก็ทำได้เช่นกัน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สาระสำคัญของการเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถือเป็นการปูพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณและการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัลนี้ ทำไมต้องเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึม? พัฒนากระบวนการคิด: การออกแบบอัลกอริทึมช่วยฝึกให้เด็กคิดเป็นขั้นเป็นตอน วิเคราะห์ปัญหา และหาทางแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการออกแบบอัลกอริทึมเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรม และการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์: การออกแบบอัลกอริทึมมีหลายวิธี เด็กๆ สามารถคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันได้ พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกัน: การทำงานกลุ่มในการออกแบบอัลกอริทึมช่วยให้เด็กเรียนรู้การทำงานร่วมกันและการสื่อสาร อัลกอริทึมคืออะไร? อัลกอริทึมก็เหมือนกับสูตรอาหารหรือคู่มือการประกอบเฟอร์นิเจอร์ คือชุดคำสั่งที่ระบุขั้นตอนในการทำงานอย่างชัดเจน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น อัลกอริทึมในการต้มไข่ต้มก็คือ 1. นำไข่ใส่หม้อ...

สาระสำคัญของการฝึกฝนการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมต้องฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหา? พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ปัญหา แยกแยะประเด็นสำคัญ และวางแผนแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพิ่มความมั่นใจ: เมื่อนักเรียนสามารถแก้ปัญหาได้เอง จะส่งผลให้มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการแก้ปัญหาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในสายอาชีพต่างๆ ส่งเสริมการเรียนรู้แบบอัตโนมัติ: การแก้ปัญหาจะทำให้นักเรียนค้นพบวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองมากขึ้น วิธีการฝึกฝน จัดกิจกรรมที่ท้าทาย: ให้โจทย์ปัญหาที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ สอนวิธีการคิดแบบมีระบบ: แนะนำขั้นตอนการแก้ปัญหา เช่น การกำหนดปัญหา การหาข้อมูล...

สาระสำคัญของการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียน ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในอนาคต เหตุผลที่ต้องฝึกฝนทักษะเหล่านี้ในระดับชั้น ม.1 พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนพัฒนากระบวนการคิดที่เป็นระบบ มีขั้นตอนในการแก้ปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้: ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีขึ้น เข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้ง เตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาต่อ: เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน พัฒนาทักษะการสื่อสาร: ช่วยให้นักเรียนสามารถสื่อสารความคิดเห็นของตนเองได้อย่างชัดเจนและมีเหตุผล เสริมสร้างความมั่นใจ: การฝึกฝนทำให้เกิดความมั่นใจในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ วิธีการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะ ตั้งคำถาม: สอนให้นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์ หาเหตุผลสนับสนุน: ฝึกให้นักเรียนหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง เปรียบเทียบและหาความแตกต่าง:...

สาระสำคัญของการเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการ สาระสำคัญที่นักเรียนจะได้เรียนรู้มีดังนี้ 1. เข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ: การวิเคราะห์ปัญหา: เรียนรู้ที่จะแยกแยะปัญหาออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อให้เข้าใจปัญหาได้อย่างชัดเจน การออกแบบอัลกอริทึม: ฝึกคิดขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ การเขียนรหัสลำลอง: ฝึกเขียนคำอธิบายขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ การทดสอบและปรับปรุง: เรียนรู้ที่จะตรวจสอบผลลัพธ์และแก้ไขข้อผิดพลาด 2. พัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะ: การใช้เหตุผล: ฝึกใช้เหตุผลในการตัดสินใจและเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม การเปรียบเทียบ: ฝึกเปรียบเทียบข้อมูลและหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ การสรุป: ฝึกสรุปผลจากข้อมูลที่ได้ 3. สร้างสรรค์และนวัตกรรม: การคิดนอกกรอบ: ฝึกคิดหาแนวทางแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่แตกต่าง การสร้างสรรค์ผลงาน:...

About ครูออฟ 1553 Articles
https://www.kruaof.com