14. อาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

จุดประสงค์การเรียนรู้

    1. อธิบายความหมายของอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตได้ถูกต้อง (K)
    2. ยกตัวอย่างอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตได้ (K)
    3. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันการเกิดปัญหาอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตได้ (P)
    4. เล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต (A)

สาระการเรียนรู้

  • การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต และการพิจารณาผลการค้นหา
  • การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น เปรียบเทียบความสอดคล้อง สมบูรณ์ของข้อมูล  จากหลายแหล่ง แหล่งต้นตอของข้อมูล ผู้เขียน  วันที่เผยแพร่ข้อมูล
  • อันตรายจากการใช้งานและอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต

คำถามประจำเรื่อง

  • นักเรียนมีวิธีป้องกันการเกิดอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตที่อาจจะเกิดขึ้นกับตนเองอย่างไร
  • นักเรียนคิดว่าการเกิดปัญหาอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง
  • นักเรียนคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต

ศึกษาจากคลิปยูทูป

 อาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ต คือ การใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เพื่อให้คนอื่นเกิดความเสียหายหรือเสื่อมเสียชื่อเสียง โดยอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นบ่อยๆมีตัวอย่างดังนี้

อาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ต เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เพื่อให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายหรือเสื่อมเสียชื่อเสียง และอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตเป็นการกระทำที่ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อทำให้มุ่งหวังเจาะระบบคอมพิวเตอร์ หรือใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อทำร้ายหรือขโมยข้อมูล ของบุคคลอื่น โดยมุ่งหวังให้บุคคลใดได้ประโยชน์ ซึ่งจาก พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งวิธีการที่อาชญากรใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดอาชญากรรมได้ 3 แบบ คือ 
1 การเจาะหรือทำลายระบบคอมพิวเตอร์ 
2 การทำลายหรือขโมยข้อมูลคอมพิวเตอร์ 
3 การนำคอมพิวเตอร์มากระทำความผิด

การก่ออาชญากรรมภายในโรงเรียน เป็นการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์เช่นการใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปเพื่อนแล้วส่งต่อไปยังบุคคลอื่นผ่านอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาต

การละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นการคัดลอกและนำผลงานของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ไปใช้ประโยชน์โดยอาจนำไปจำหน่ายหรือเผยแพร่ใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาต

การแพร่ภาพอนาจารทางออนไลน์ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวลามกอนาจารลงบนอินเทอร์เน็ต

การก่ออาชญากรรมทางการเงิน เป็นการนำข้อมูลทางการเงินของผู้อื่นไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วทำให้ผู้เป็นเจ้าของเกิดความเดือดร้อน

 การเจาะระบบ เป็นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทำลายระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น หรือนำข้อมูลที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นออกมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือส่งโปรแกรมไวรัสไปรบกวนการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น

การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ เป็นการเจาะระบบคอมพิวเตอร์แล้วนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์หรือนำมาข่มขู่เพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ 

การป้องกันการเกิดปัญหาอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตมีดังต่อไปนี้ 

1 ตัดสัญญาณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน 

2 การดาวน์โหลดข้อมูลไฟล์งานหรือเอกสารต่างๆจากอินเทอร์เน็ต ควรดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ที่มี ความน่าเชื่อถือได้เท่านั้น

3 ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวลงบนเว็บไซต์ต่างๆหรือถ้าจำเป็นต้องเปิดควรเปิดเผยเท่าที่จำเป็นเท่านั้น 

4 ตั้งรหัสผ่านในการเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ให้คาดเดาได้ยากและไม่บอกรหัสในการเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับผู้อื่นรวมทั้งเปลี่ยนรหัสผ่านทุกๆ 2-3 เดือน 

5 ตรวจสอบระบบ ว่ามีโปรแกรมป้องกันไวรัสติดตั้งมาพร้อมระบบปฏิบัติการและตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้มีการตั้งค่าโปรแกรมทำงานแล้ว

ที่มา https://www.matichonweekly.com/column/article_48813

 Hacker คือ ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบและพยายามหาวิธีการหรือ หรือหาช่องโหว่ของระบบเพื่อแอบลักลอบเข้าสู่ระบบเพื่อล้วงความลับหรือแอบดูข้อมูลข่าวสาร 

กิจกรรม

คลิกเรื่องต่อไป
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com