ONET ป.6 วิทย์ มฐ. 2.3

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

มาตรฐาน ว 2.3 เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงานปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำวัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

เมื่อมองสิ่งต่าง ๆ โดยมีวัตถุต่างชนิดกันมากั้นแสงจะทําให้ลักษณะการมองเห็นสิ่งนั้น ๆ ชัดเจนต่างกันจึงจําแนกวัตถุที่มากั้นออกเป็นตัวกลางโปร่งใสซึ่งทําให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจน ตัวกลางโปร่งแสงทําให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน และวัตถุทึบแสง ทําให้มองไม่เห็นสิ่งต่าง ๆ นั้น

การได้ยินเสียงต้องอาศัยตัวกลาง โดยอาจเป็นของแข็งของเหลว หรืออากาศ เสียงจะส่งผ่านตัวกลางมายังหู

เสียงที่ได้ยินมีระดับสูงตํ่าของเสียงต่างกันขึ้นกับความถี่ของการสั่นของแหล่งกําเนิดเสียง โดยเมื่อแหล่งกําเนิดเสียงสั่นด้วยความถี่ตํ่าจะเกิดเสียงตํ่า แต่ถ้าสั่นด้วยความถี่สูงจะเกิดเสียงสูง ส่วนเสียงดังค่อยที่ได้ยินขึ้นกับพลังงานการสั่นของแหล่งกําเนิดเสียง โดยเมื่อแหล่งกําเนิดเสียงสั่นด้วยพลังงานมากจะเกิดเสียงดังแต่ถ้าแหล่งกําเนิดเสียงสั่นด้วยพลังงานน้อยจะเกิดเสียงค่อย

เสียงดังมาก ๆ เป็นอันตรายต่อการได้ยินและเสียงที่ก่อให้เกิดความรําคาญเป็นมลพิษทางเสียง เดซิเบล เป็นหน่วยที่บอกถึงความดังของเสียง

วงจรไฟฟ้าอย่างง่ายประกอบด้วย แหล่งกําเนิดไฟฟ้าสายไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแหล่งกําเนิดไฟฟ้า เช่น ถ่านไฟฉาย หรือ แบตเตอรี่ทําหน้าที่ให้พลังงานไฟฟ้า สายไฟฟ้าเป็นตัวนําไฟฟ้าทําหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างแหล่งกําเนิดไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้าด้วยกัน เครื่องใช้ไฟฟ้ามีหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานอื่น

เมื่อนําเซลล์ไฟฟ้าหลายเซลล์มาต่อเรียงกัน โดยให้ขั้วบวกของเซลล์ไฟฟ้าเซลล์หนึ่งต่อกับขั้วลบของอีกเซลล์หนึ่งเป็นการต่อแบบอนุกรม ทําให้มีพลังงานไฟฟ้าเหมาะสมกับเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรมสามารถนําไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวัน เช่น การต่อเซลล์ไฟฟ้าในไฟฉาย

การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมเมื่อถอดหลอดไฟฟ้าดวงใดดวงหนึ่งออกทําให้หลอดไฟฟ้าที่เหลือดับทั้งหมด ส่วนการต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนาน เมื่อถอดหลอดไฟฟ้าดวงใดดวงหนึ่งออก หลอดไฟฟ้าที่เหลือก็ยังสว่างได้ การต่อหลอดไฟฟ้าแต่ละแบบสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การต่อหลอดไฟฟ้าหลายดวงในบ้าน จึงต้องต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนาน เพื่อเลือกใช้หลอด
ไฟฟ้าดวงใดดวงหนึ่งได้ตามต้องการ

เมื่อนําวัตถุทึบแสงมากั้นแสงจะเกิดเงาบนฉากรับแสงที่อยู่ด้านหลังวัตถุ โดยเงามีรูปร่างคล้ายวัตถุที่ทําให้เกิดเงา เงามัวเป็นบริเวณที่มีแสงบางส่วนตกลงบนฉากส่วนเงามืดเป็นบริเวณที่ไม่มีแสงตกลงบนฉากเลย

4 ตัวเลือก 1 คําตอบ (2 ข้อ) 10 คะแนน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com