มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลกและบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
โลกมีทั้งนํ้าจืดและนํ้าเค็มซึ่งอยู่ในแหล่งนํ้าต่าง ๆ ที่มีทั้งแหล่งนํ้าผิวดิน เช่น ทะเล มหาสมุทร บึง แม่นํ้าและแหล่งนํ้าใต้ดิน เช่น นํ้าในดิน และนํ้าบาดาล นํ้าทั้งหมดของโลกแบ่งเป็นนํ้าเค็มประมาณร้อยละ 97.5 ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรและแหล่งนํ้าอื่น ๆ และที่เหลืออีกประมาณ
ร้อยละ 2.5 เป็นนํ้าจืด ถ้าเรียงลําดับปริมาณนํ้าจืดจากมากไปน้อยจะอยู่ที่ ธารนํ้าแข็ง และพืดนํ้าแข็ง นํ้าใต้ดิน ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวและนํ้าแข็งใต้ดิน ทะเลสาบความชื้นในดิน ความชื้นในบรรยากาศ บึง แม่นํ้า และนํ้าในสิ่งมีชีวิต
วัฏจักรนํ้า เป็นการหมุนเวียนของนํ้าที่มีแบบรูปซํ้าเดิม และต่อเนื่องระหว่างนํ้าในบรรยากาศ นํ้าผิวดิน และนํ้าใต้ดิน โดยพฤติกรรมการดํารงชีวิตของพืชและสัตว์ ส่งผลต่อวัฏจักรนํ้า
ไอนํ้าในอากาศจะควบแน่นเป็นละอองนํ้าเล็ก ๆ โดยมีละอองลอย เช่น เกลือ ฝุ่นละออง ละอองเรณูของดอกไม้เป็นอนุภาคแกนกลาง เมื่อละอองนํ้าจํานวนมากเกาะกลุ่มรวมกันลอยอยู่สูงจากพื้นดินมาก เรียกว่า เมฆ แต่ละอองนํ้าที่เกาะกลุ่มรวมกันอยู่ใกล้พื้นดิน เรียกว่า หมอก ส่วนไอนํ้าที่ควบแน่นเป็นละอองนํ้าเกาะอยู่บนพื้นผิววัตถุใกล้พื้นดิน เรียกว่า นํ้าค้าง ถ้าอุณหภูมิใกล้พื้นดินตํ่ากว่าจุดเยือกแข็งนํ้าค้างก็จะกลายเป็นนํ้าค้างแข็ง
ฝน หิมะ ลูกเห็บ เป็นหยาดนํ้าฟ้าซึ่งเป็นนํ้าที่มีสถานะต่าง ๆ ที่ตกจากฟ้าถึงพื้นดิน ฝนเกิดจากละอองนํ้าในเมฆที่รวมตัวกันจนอากาศไม่สามารถพยุงไว้ได้ จึงตกลงมา หิมะเกิดจากไอนํ้าในอากาศระเหิดกลับเป็นผลึกนํ้าแข็ง รวมตัวกันจนมีนํ้าหนักมากขึ้นจนเกินกว่า อากาศจะพยุงไว้จึงตกลงมา ลูกเห็บเกิดจากหยดนํ้าที่เปลี่ยนสถานะเป็นนํ้าแข็ง แล้วถูกพายุพัดวนซํ้าไปซํ้า
มาในเมฆฝนฟ้าคะนองที่มีขนาดใหญ่และอยู่ในระดับสูงจนเป็นก้อนนํ้าแข็งขนาดใหญ่ขึ้นแล้วตกลงมา
หินเป็นวัสดุแข็งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยแร่ตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป สามารถจําแนกหินตามกระบวนการเกิดได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร
หินอัคนีเกิดจากการเย็นตัวของแมกมา เนื้อหินมีลักษณะเป็นผลึก ทั้งผลึกขนาดใหญ่และขนาดเล็ก บางชนิดอาจเป็นเนื้อแก้วหรือมีรูพรุน
หินตะกอน เกิดจากการทับถมของตะกอน เมื่อถูกแรงกดทับและมีสารเชื่อมประสานจึงเกิดเป็นหิน เนื้อหินกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเม็ดตะกอนมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด บางชนิดเป็นเนื้อผลึกที่ยึดเกาะกันเกิดจากการตกผลึกหรือตกตะกอนจากนํ้าโดยเฉพาะนํ้าทะเล บางชนิดมีลักษณะเป็นชั้น ๆ จึงเรียกอีกชื่อว่า หินชั้น
หินแปร เกิดจากการแปรสภาพของหินเดิม ซึ่งอาจเป็นหินอัคนี หินตะกอน หรือหินแปร โดยการกระทําของความร้อน ความดัน และปฏิกิริยาเคมีเนื้อหินของหินแปรบางชนิดผลึกของแร่เรียงตัวขนานกันเป็นแถบบางชนิดแซะออกเป็นแผ่นได้ บางชนิดเป็นเนื้อผลึกที่มีความแข็งมาก
หินในธรรมชาติทั้ง 3 ประเภท มีการเปลี่ยนแปลงจากประเภทหนึ่งไปเป็นอีกประเภทหนึ่ง หรือประเภทเดิมได้ โดยมีแบบรูปการเปลี่ยนแปลงคงที่และต่อเนื่องเป็นวัฏจักร
ซากดึกดําบรรพ์เกิดจากการทับถมหรือการประทับรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีต จนเกิดเป็นโครงสร้างของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏอยูในหินในประเทศไทยพบซากดึกดําบรรพ์ที่หลากหลาย เช่น พืช ปะการัง หอย ปลา เต่า ไดโนเสาร์และรอยตีนสัตว์
ซากดึกดําบรรพ์สามารถใช้เป็นหลักฐานหนึ่งที่ช่วยอธิบายสภาพแวดล้อมของพื้นที่ในอดีตขณะเกิดสิ่งมีชีวิตนั้น เช่น หากพบซากดึกดําบรรพ์ของหอยนํ้าจืดสภาพแวดล้อมบริเวณนั้นอาจเคยเป็นแหล่งนํ้าจืดมาก่อน และหากพบซากดึกดําบรรพ์ของพืช สภาพแวดล้อมบริเวณนั้นอาจเคยเป็นป่ามาก่อน นอกจากนี้ซากดึกดําบรรพ์ยังสามารถใช้ระบุอายุของหิน และเป็นข้อมูลในการ
ศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
ลมบก ลมทะเล และมรสุม เกิดจากพื้นดินและพื้นนํ้าร้อนและเย็นไม่เท่ากันทําให้อุณหภูมิอากาศเหนือพื้นดินและพื้นนํ้าแตกต่างกัน จึงเกิดการเคลื่อนที่ของอากาศจากบริเวณที่มีอุณหภูมิตํ่าไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง
ลมบกและลมทะเลเป็นลมประจําถิ่นที่พบบริเวณชายฝั่ง โดยลมบกเกิดในเวลากลางคืน ทําให้มีลมพัดจากชายฝั่งไปสู่ทะเล ส่วนลมทะเลเกิดในเวลากลางวันทําให้มีลมพัดจากทะเลเข้าสู่ชายฝั่ง
มรสุมเป็นลมประจําฤดูเกิดบริเวณเขตร้อนของโลกซึ่งเป็นบริเวณกว้างระดับภูมิภาค ประเทศไทยได้รับผลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงประมาณกลางเดือนตุลาคมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ทําให้เกิดฤดูหนาว และได้รับผลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงประมาณกลางเดือนพฤษภาคมจนถึงกลางเดือนตุลาคมทําให้เกิดฤดูฝน ส่วนช่วงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์จนถึงกลางเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงเปลี่ยนมรสุมและประเทศไทยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรแสงอาทิตย์เกือบตั้งตรงและตั้งตรงประเทศไทยในเวลาเที่ยงวันทําให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่อากาศจึงร้อนอบอ้าวทําให้เกิดฤดูร้อน
นํ้าท่วม การกัดเซาะชายฝั่ง ดินถล่ม แผ่นดินไหว และสึนามิ มีผลกระทบต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน
มนุษย์ควรเรียนรู้วิธีปฏิบัติตนให้ปลอดภัย เช่น ติดตามข่าวสารอย่างสมํ่าเสมอ เตรียมถุงยังชีพให้พร้อมใช้ตลอดเวลาและปฏิบัติตามคําสั่งของผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัดเมื่อเกิดภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย
ปรากฏการณ์เรือนกระจกเกิดจากแก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศของโลกกักเก็บความร้อนแล้วคายความร้อนบางส่วนกลับสู่ผิวโลก ทําให้อากาศบนโลกมีอุณหภูมิเหมาะสมต่อการดํารงชีวิต
หากปรากฏการณ์เรือนกระจกรุนแรงมากขึ้น จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก มนุษย์จึงควรร่วมกันลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดแก๊สเรือนกระจก
4 ตัวเลือก 1 คําตอบ (3ข้อ) 15 คะแนน