ONET ป.6 วิทย์ มฐ. 4.2

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม

การใช้เหตุผลเชิงตรรกะเป็นการนํากฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ครอบคลุมทุกกรณีมาใช้พิจารณาในการแก้ปัญหาการอธิบายการทํางาน หรือการคาดการณ์ผลลัพธ์

สถานะเริ่มต้นของการทํางานที่แตกต่างกันจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างปัญหา เช่น เกม OX โปรแกรมที่มีการคํานวณ โปรแกรมที่มีตัวละครหลายตัวและมีการสั่งงานที่แตกต่างหรือมีการสื่อสารระหว่างกัน การเดินทางไปโรงเรียนโดยวิธีการต่าง ๆ

การออกแบบโปรแกรมอย่างง่าย เช่น การออกแบบโดยใช้ storyboard หรือการออกแบบอัลกอริทึม

การเขียนโปรแกรมเป็นการสร้างลําดับของคําสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการหากมีข้อผิดพลาดให้ตรวจสอบการทํางานทีละคําสั่ง เมื่อพบจุดที่ทําให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้อง ให้ทําการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

ตัวอย่างโปรแกรมที่มีเรื่องราว เช่น นิทานที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้ การ์ตูนสั้น เล่ากิจวัตรประจําวัน ภาพเคลื่อนไหว

การฝึกตรวจหาข้อผิดพลาดจากโปรแกรมของผู้อื่นจะช่วยพัฒนาทักษะการหาสาเหตุของปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น Scratch, Logo

การรวบรวมข้อมูล ทําได้โดยกําหนดหัวข้อที่ต้องการเตรียมอุปกรณ้ในการจดบันทึก

การประมวลผลอย่างง่าย เช่น เปรียบเทียบ จัดกลุ่ม เรียงลําดับ การหาผลรวม

วิเคราะห์ผลและสร้างทางเลือกที่เป็นไปได้ ประเมินทางเลือก (เปรียบเทียบ ตัดสิน)

การนําเสนอข้อมูลที่ทําได้หลายลักษณะตามความเหมาะสม เช่น การบอกเล่า เอกสารรายงาน โปสเตอร์โปรแกรมนําเสนอ

การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน เช่น การสํารวจเมนูอาหารกลางวันโดยใช้ซอฟต์แวร์สร้างแบบสอบถามและเก็บข้อมูล ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทํางาน เพื่อประมวลผลข้อมูล รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการและสร้างรายการอาหารสําหรับ 5 วัน ใช้ซอฟต์แวร์นําเสนอผลการสํารวจรายการอาหารที่เป็นทางเลือกและข้อมูลด้านโภชนาการ

การใช้เหตุผลเชิงตรรกะเป็นการนํากฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ครอบคลุมทุกกรณีมาใช้พิจารณาในการแก้ปัญหา การอธิบายการทํางาน หรือการคาดการณ์ผลลัพธ์

สถานะเริ่มต้นของการทํางานที่แตกต่างกันจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างปัญหา เช่น เกม Sudoku โปรแกรมทํานายตัวเลข โปรแกรมสร้างรูปเรขาคณิตตามค่าข้อมูลเข้า การจัดลําดับการทํางานบ้านในช่วงวันหยุด จัดวางของในครัว

การออกแบบโปรแกรมสามารถทําได้โดยเขียนเป็นข้อความหรือผังงาน

การออกแบบและเขียนโปรแกรมที่มีการตรวจสอบเงื่อนไขที่ครอบคลุมทุกกรณีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามความต้องการ

หากมีข้อผิดพลาดให้ตรวจสอบการทํางานทีละคําสั่ง เมื่อพบจุดที่ทําให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้องให้ทําการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

การฝึกตรวจหาข้อผิดพลาดจากโปรแกรมของผู้อื่นจะช่วยพัฒนาทักษะการหาสาเหตุของปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างโปรแกรม เช่น โปรแกรมตรวจสอบเลขคู่เลขคี่ โปรแกรมรับข้อมูลนํ้าหนักหรือส่วนสูง แล้วแสดงผล ความสมส่วนของร่างกาย โปรแกรมสั่งให้ตัวละครทําตามเงื่อนไขที่กําหนด

การรวบรวมข้อมูล ประมวลผล สร้างทางเลือกประเมินผลจะทําให้ได้สารสนเทศเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ตที่หลากหลายในการรวบรวม ประมวลผล สร้างทางเลือกประเมินผลนําเสนอ จะช่วยให้การแก้ปัญหาทําได้อย่างรวดเร็วถูกต้องและแม่นยํา

ตัวอย่างปัญหา เช่น ถ่ายภาพและสํารวจแผนที่ในท้องถิ่นเพื่อนําเสนอแนวทางในการจัดการพื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์ ทําแบบสํารวจความคิดเห็นออนไลน์ และวิเคราะห์ข้อมูล นําเสนอข้อูลโดยการใช้ blog หรือ web page

การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนจะช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้เหตุผลเชิงตรรกะเป็นการนํากฎเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่ครอบคลุมทุกกรณีมาใช้พิจารณาในการแก้ปัญหา

แนวคิดของการทํางานแบบวนซํ้าและเงื่อนไข

การพิจารณากระบวนการทํางานที่มีการทํางานแบบวนซํ้าหรือเงื่อนไขเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างปัญหา เช่น การค้นหาเลขหน้าที่ต้องการให้เร็วที่สุด การทายเลข 1-1,000,000 โดยตอบให้ถูกภายใน 20 คําถาม การคํานวณเวลาในการเดินทางโดยคํานึงถึงระยะทาง เวลา จุดหยุดพัก

การออกแบบโปรแกรมสามารถทําได้โดยเขียนเป็นข้อความหรือผังงาน

การออกแบบและเขียนโปรแกรมที่มีการใช้ตัวแปร การวนซํ้า การตรวจสอบเงื่อนไข

หากมีข้อผิดพลาดให้ตรวจสอบการทํางานทีละคําสั่งเมื่อพบจุดที่ทําให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้อง ให้ทําการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

การฝึกตรวจหาข้อผิดพลาดจากโปรแกรมของผู้อื่นจะช่วยพัฒนาทักษะการหาสาเหตุของปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างโปรแกรม เช่น โปรแกรมเกม โปรแกรมหาค่า ค.ร.น. เกมฝึกพิมพ์

การค้นหาอย่างมีประสิทธิภาพเป็นการค้นหาข้อมูลที่ได้ตรงตามความต้องการในเวลาที่รวดเร็วจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือหลายแหล่ง และข้อมูลมีความสอดคล้องกัน

การใช้เทคนิคการค้นหาขั้นสูง เช่น การใช้ตัวดําเนินการการระบุรูปแบบของข้อมูล หรือชนิดของไฟล์

การจัดลําดับผลลัพธ์จากการค้นหาของโปรแกรมค้นหา

การเรียบเรียง สรุปสาระสําคัญ (บูรณาการกับวิชาภาษาไทย)

4 ตัวเลือก 1คําตอบ (2 ข้อ) 10 คะแนน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1547 Articles
https://www.kruaof.com