การพัฒนาหลักสูตรสามารถพัฒนาได้หลายระดับ ขึ้นอยู้กับจุดมุ่งหมายการพัฒนาหลักสูตร นั้นๆ ว่าจะพัฒนาส่วนใด ส่วนหนึ่งของหลักสูตร เราสามารถแบ่งการพัฒนาหลักสูตรออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1. หลักสูตระดับชาติ เป็นหลักสูตรแกน หรือหลักสูตรแม่บทในระดับการศึกษาต่างๆ เช่น หลักสูตรประถมศึกษา หลักสูตรมัธยมศึกษา หลักสูตรอาชีวะศึกษา หลักสูตรการฝึกหัดครู เป็นต้น ซึ่งมี หน่วยงานที่ทําหน้าที่รับผิดชอบ เช่น ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. หลักสูตรระดับท้องถิ่นหรือระดับสถานศึกษา เป็นการนําหลักสูตรระดับชาติมาพัฒนา ปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น ตามลักษณะทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและลักษณะพิเศษของท้องถิ่น เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียน ผู้ที่มีหน้าที่ในการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่น ได้แก่ เขตการศึกษาต่างๆ หน่วยศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้สอน สถานประกอบการ หรือสถานศึกษาในท้องถิ่น
3. หลักสูตรระดับชั้นเรียน เป็นการออกแบบหลักสูตรเพื่อจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน หรือเป็นหลักสูตรกิจกรรมสําหรับเสริมทักษะต่างๆ ที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนปกติ โดยครูนํา คําอธิบายรายวิชาหรือโครงสร้างรายวิชาจากหลักสูตรสถานศึกษามาวิเคราะห์ พัฒนาสู่การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ ผู้ที่มีหน้าที่พัฒนาหลักสูตรในระดับนี้ คือ ครูผู้สอน โดยการสนับสนุนของผู้บริหารสถานศึกษา
ที่มา หนังสือพื้นฐานการวิจัยทางหลักสูตรและการสอน ผศ.ดร.มนตรี วงษ์สว่าง