เซลล์

สารอาหารกับการดำรงชีวิต
สารอาหารกับการดำรงชีวิต
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เซลล์ เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต เช่น เซลล์เม็ดเลือด เซลล์กระดูก เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท ถ้าเซลล์ชนิดเดียวกันมารวมตัวกันเพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เราเรียกลุ่มเซลล์เหล่านั้นว่า เนื้อเยื่อ เช่น เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อประสาท และกลุ่มเนื้อเยื่อหลายชนิดที่รวมกันเพื่อทำหน้าที่เรียก อวัยวะ เช่น ปาก หลอดอาหาร ตับ ตับอ่อน และอวัยวะหลาย ๆ ชนิดมาทำหน้าที่สำคัญร่วมกันเรียก ระบบอวัยวะ เช่น ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร ระบบประสาท ระบบที่กล่าวมาและที่ยังไม่ได้กล่าวถึงอีกหลายระบบทำงานประสานกัน ประกอบกันเป็นรูปร่างเป็น ร่างกาย ของสิ่งมีชีวิตดังแผนภาพ

ระบบอวัยวะหน้าที่ตัวอย่างอวัยวะที่เกี่ยวข้อง
ระบบย่อยอาหารย่อยอาหาร ดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้วเข้าสู่กระแสเลือดปาก หลอดอาหาร
กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก
ถุงน้ำดี ตับ ตับอ่อน
ระบบไหลเวียนเลือดนำอาหารและแก๊สออกซิเจนไปยังเซลล์ต่าง ๆ และนำของเสียออกจากเซลล์เลือด หลอดเลือดดำ
หลอดเลือดแดง หัวใจ ม้าม
ตับ
ระบบหายใจนำแก๊สออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ออกนอกร่างกายสร้างพลังงานให้แก่เซลล์
จมูก หลอดลม ปอด
ถุงลมในปอด หลอดเลือดฝอย
กะบังคม กระดูกซี่โครง
ระบบขับถ่ายขับของเสียออกนอกร่างกายไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ
หน่วยไต ต่อมเหงื่อ ผัวหนัง
ปอด ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก
ระบบสืบพันธุ์สร้างเซลล์สืบพันธุ์ สืบพันธุ์อัณฑะ ต่อมลูกหมาก รังไข่
มดลูก อวัยวะเพศ
ระบบประสาทควบคุมการทำงานของร่างกาย
โดยมีสมองเป็นศูนย์กลาง แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ
สมอง ไขสันหลัง
อวัยวะรับสัมผัส
ระบบโครงกระดูกเป็นโครงร่างของร่างกาย ป้องกัน  การกระทบกระเทือนให้อวัยวะภายในกะโหลกศีรษะ กระดูกคอ
กระดูกอก ไหปลาร้า
กระดูกสันหลัง ก้นกบ แขน
ขา สะบัก
ระบบกล้ามเนื้อควบคุมการเคลื่อนไหว เป็นแหล่งให้พลังงานแก่เซลล์กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ
กล้ามเนื้อหัวใจ
ระบบต่อมไร้ท่อสร้างฮอร์โมนต่อมไร้ท่อต่าง ๆ
ระบบห่อหุ้มร่างกายป้องกันการกระทบกระเทือน ควบคุม อุณหภูมิรับความรู้สึกและสะสมอาหารผิวหนัง หลอดเลือด ขน ผม
ตารางที่ 1 หน้าที่และตัวอย่างอวัยวะที่เกี่ยวข้องของระบบอวัยวะต่าง ๆ

โครงสร้างของร่างกายเปรียบเสมือนโรงงานที่ประกอบด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ไตเปรียบเหมือนเครื่องกรอง ผิวหนังเปรียบเทียบเครื่องปรับอุณหภูมิ ระบบไหลเวียนเลือดเปรียบเหมือนระบบลำเลียงและคมนาคม

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com