การย่อยในลำไส้เล็ก

สารอาหารกับการดำรงชีวิต
สารอาหารกับการดำรงชีวิต
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

   อาหารจะเคลื่อนจากกระเพาะอาหารผ่านกล้ามเนื้อหูรูดเข้าสู่ลำไส้เล็ก การย่อยอาหารในลำไส้เล็กเกิดจากการทำงานของอวัยวะ 3 ชนิด คือ ตับ ตับอ่อน และผนังลำไส้เล็ก ดังภาพ

ภาพที่ 4 อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อยในลำไส้เล็ก
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 14

 ตับ ทำหน้าที่สร้างน้ำดีเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี จากถุงน้ำดีมีท่อเปิดเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัม น้ำดีจะช่วยกระจายไขมันให้แตกตัวออกเป็นเม็ดเล็ก ๆ แล้วเอนไซม์ไลเพสจะทำการย่อยต่อไปจนได้กรดไขมันและกลีเซอรอล นอกจากนี้ตับยังทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและสารบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อร่างกายรวมทั้งเก็บสะสมวิตามินและธาตุเหล็ก

ตับอ่อน ทำหน้าที่สร้งเอนไซม์หลายชนิด เช่น เอนไซม์อะไมเลส  ย่อยคาร์โบไฮเดรตให้เป็นกลูโคส เอนไซม์ไลเพส ย่อยไขมันขนาดเล็กให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล เอนไซม์ทริปซินย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน นอกจากนี้ ตับอ่อนยังสร้างสารโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบสปล่อยออกมา เพื่อลดความเป็นกรด ของอาหารที่มาจากกระเพาะอาหาร

ลำไส้เล็ก มีลักษณะเป็นท่อยาวประมาณ 7 เมตร ขดอยู่ในช่องท้อง ลำไส้เล็กส่วนต้นต่อจากกระเพาะอาหารยาวประมาณ 0.30 เมตร เรียก ดูโอดินัม ลำเส้นเล็กส่วนกลางยาวประมาณ 2.5 เมตร เรียก เจจูนัม และส่วนของลำไส้เล็กส่วนสุดท้ายยาวประมาณ 4 เมตร เรียกว่า ไอเลียม ผนังด้านในของลำไส้เล็กมีลักษณะเป็นปุ่มไม่เรียบ เรียกว่า วิลไล

การย่อยในลำไส้เล็ก ต้องอาศัยเอนไซม์จากตับอ่อน ซึ่งประกอบด้วยเอนไซม์ ต่าง ๆ ดังนี้
            1. ทริปซิน (trypsin) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนหรือเพปไทด์ให้เป็นกรดอะมิโน
            2. อะไมเลส (amylase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลกลูโคส
            3. ไลเพส (lipase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยไขมันขนาดเล็กให้เป็นกรดไขมันและ กลีเซอรอล

อาหารที่เหลือจากการย่อยและดูดซึม รวมทั้งอาหารที่ย่อยไม่ได้ เช่น เซลลูโลส จะผ่านมายัง ลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะดูดน้ำ แร่ธาตุ และวิตามินบางชนิดจากอาหารกลับสู่ร่างกาย ส่วนที่เหลือเป็นกากอาหารจะเคลื่อนไปที่ส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ รอการกำจัดออกทางทวารหนัก

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com