ความดันเลือด (blood pressure) ขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวเพื่อสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดง ดังนี้ ความดันของหลอดเลือดแดงที่อยู่ใกล้หัวใจจะมีความดันสูงกว่าหลอดเลือดแดงที่อยู่ไกลหัวใจ ส่วนในหลอดเลือดดำจะมีความดันต่ำกว่าหลอดเลือดแดงเสมอ ความดันเลือดมีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท (mmHg) เป็นค่าตัวเลข 2 ค่า คือ ค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว และค่าความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว เช่น 110/70 มิลลิเมตรของปรอท ตัวเลขค่าแรก 110 คือ ค่าของความดันเลือดสูงสุด ขณะหัวใจบีบตัว เรียกว่า ความดันซิสโทลิก ตัวเลขตัวหลัง 70 คือค่าของความดันเลือดต่ำสุดที่หัวใจคลายตัว เรียกว่า ความดันไดแอสโทลิก
เครื่องมือวัดความดันเลือดเรียกว่า “มาตรวัดความดันเลือด” จะใช้คู่กับ สเตตโทนสโคป (stethoscope) โดยจะวัดความดันที่หลอดเลือดแดง
ปกติความดันเลือดสูงสุดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจมีค่า 100 + อายุ และความดันเลือดขณะที่หัวใจรับเลือดไม่ควรเกิน 90 มิลลิเมตรของปรอท ถ้าเกินจะเป็นโรคความดันเลือดสูง ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายประการ เช่น หลอดเลือดตีบตัน คอเลสตอรอลในเลือดสูง โกรธง่ายหรือเครียดอยู่เป็นประจำ พบมากในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีจิตใจอยู่ในสภาวะเครียด นอกจากนี้ยังเกิดอารมณ์โกรธ ทำให้ร่างกายผลิตสารชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งสารนี้จะมีผลต่อการบีบตัวของหัวใจโดยตรง