ระบบหายใจ

สารอาหารกับการดำรงชีวิต
สารอาหารกับการดำรงชีวิต
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

     สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการพลังงานเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของการดำรงชีวิต พลังงานเหล่านี้ได้มาจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างอาหารกับแก๊สออกซิเจน ปฏิกิริยาเคมีนี้เป็นกระบวนการสลายสารอาหาร เพื่อให้เกิดพลังงานในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า การหายใจ

ภาพที่ 9 อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ
ที่มา: หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 33
 

กระบวนการหายใจ

กระบวนการหายใจมี 3 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นแรก เป็นกระบวนการเกี่ยวข้องกับการสูดลมหายใจ (2) ขั้นที่สอง เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างพื้นที่ผิวของปอดกับเลือด และ (3) ขั้นที่สาม เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างเลือดกับเซลล์ในร่างกาย

การสูดลมหายใจ

การสูดลมหายใจ เกิดขึ้นเมื่ออากาศผ่านรูจมูก เข้าสู่โพรงจมูก หลอดลม ขั้วปอด และเข้าสู่ปอด เมื่อมีการแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากปอดสู่บรรยากาศ

การหายใจเข้าออก เกิดจากการทำงานร่วมกันของกะบังลมและกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครง ขณะที่กระดูกซี่โครงเลื่อนขึ้นสูง กะบังคมลดต่ำลง ทำให้ปริมาตรช่องอกมีมากขึ้น ความดันอากาศลดลง อากาศภายนอกจึงผ่านเข้าสู่ปอดเป็นจังหวะ หายใจเข้า และขณะที่กระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำลง กะบังลมเลื่อนสูงขึ้น ทำให้ปริมาณของช่องอกน้อยลง ความดันอากาศภายในช่องอกสูงขึ้น อากาศภายในจึงออกจากปอดสู่บรรยากาศภายนอกร่างกายเป็นการหายใจออก ดังภาพ

ภาพที่ 10 การหายใจเข้า – ออก
ที่มา: หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 34

กระบังลม เป็นแผ่นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะโค้งนูนคล้ายรูปโดมคั่นระหว่างช่องออกกับช่องท้องมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของช่องอก

การแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างพื้นที่ผิวของปอดกับเลือด

เมื่อเราหายใจเข้า อากาศจะผ่านเข้าจมูก หลอดลม และเข้าสู่ปอด ที่ปอดมีถุงลมเล็ก ๆ ห้อมล้อมด้วยหลอดเลือดฝอย การแลกเปลี่ยนแก๊สในร่างกายของมนุษย์เกิดขึ้นที่ปอดและเนื้อเยื่อที่ปอด เป็นการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างถุงลมในปอดแพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอยที่ห้อมล้อมรอบถุงลมเพื่อส่งไปยังหัวใจต่อไป

ภาพที่ 11 การแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างหลอดเลือดฝอยและถุงลม
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 24

หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดที่มีแก๊สออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย แก๊สออกซิเจนจะแพร่เข้าสู่เซลล์ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำให้เซลล์ได้รับแก๊สออกซิเจน หลังจากนั้นเกิดปฏิกิริยาเคมี แล้วได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แพร่เข้าสู่หลอดเลือดไหลเข้าสู่หัวใจ แล้วสูบฉีดไปยังหลอดเลือดฝอยรอบถุงลมในปอด

ภายในปอดประกอบด้วยถุงลม ซึ่งเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนแก๊สเป็นจำนวนมาก ถุงลมมีผนังบางมาก และมีหลอดเลือดฝอยห่อหุ้มอยู่ ด้านนอก ดังภาพ

ภาพที่ 12 โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของมนุษย์
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 25

แผนผัง การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของแก๊สต่าง ๆ ขณะหายใจ

แก๊สออกซิเจนในถุงลม –> ผ่านผนังหลอดเลือดฝอย –> จับกับเฮโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง –> หัวใจ –> เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย เกิดกระบวนการหายใจระดับเซลล์ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และพลังงาน ดังสมการ

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แพร่เข้าผนังหลอดเลือดฝอยเข้าสู่เลือด –> หัวใจห้องบนขวา –> หัวใจห้องล่างขวา –> ปอด แล้วแพร่ผ่านผนังบาง ๆ ของถุงลมในปอด –> หายใจออก

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com