การตรวจสอบข่าวปลอม(Fake News)

การตรวจสอบข่าวปลอม(Fake News)
การตรวจสอบข่าวปลอม(Fake News)
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

1. ที่มา / แหล่งอ้างอิง ใครเขียน ใครเผยแพร่ น่าเชื่อถือหรือไม่?

สิ่งที่ที่เราต้องดูเลยก็คือ ข่าวนี้คนเขียนคือใคร เผยแพร่ทางไหน มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือความเกี่ยวข้องในด้านนั้นจริงหรือไม่ หรือเนื้อหาข่าวนั้นอ้างอิงจากเว็บหรือแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะมีเว็บไซต์ที่ข้อมูลไม่น่าเชื่อถืออยู่มากมาย โดยเราสามารถดูข่าวจากหลายๆช่องทางประกอบกันได้ หากเป็นเรื่องที่มาจากองค์กรที่ชื่อไม่คุ้นเคย ควรตรวจสอบเพื่อความแน่ใจอีกครั้งหนึ่ง

2. หัวข้อข่าว / คำที่ใช้ ใส่อารมณ์เกินจริงเน้น “เรียกร้องความสนใจ”

ข่าวปลอมมักมีการพาดหัวที่สะดุดตา อ่านแล้วให้ความรู้สึกใส่อารมณ์เวอร์เกินจริง เน้นใช้ตัวหนาและเครื่องหมายตกใจ! (อัศเจรีย์) เพื่อเรียกร้องความสนใจ เน้นกระตุ้นให้คนอยากกดเข้าไปดูหรือแชร์ไปด่า หากข้อความพาดหัวมีความหวือหวาจนเกินไป ที่ทำให้เรารู้สึกว่าไม่น่าเป็นไปได้ ข่าวนั้นอาจจะเป็นข่าวปลอม ให้ลองพิจรณาให้ดีว่า ข่าวที่เรากำลังจะแชร์นั้น เราอยากแชร์ไปเพื่ออะไร

3. สังเกตชื่อ Link และ URL จะผิดแปลก จงใจเลียนแบบให้เข้าใจผิด

ลิงก์ของข่าวที่แชร์มาอาจจะมี URL คล้ายกับ URL ของสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ โดยมีเว็บไซต์ข่าวปลอมจำนวนมากที่เปลี่ยนแปลง URL เพียงเล็กน้อยเพื่อเลียนแบบแหล่งข่าวจริง ต้องเข้าไปอ่านเนื้อหาและชื่อให้แน่ชัด

4. รูปภาพประกอบไม่ตรงกับเนื้อหาข่าว

เป็นวิธีตรวจสอบที่ง่ายๆ ด้วยสมมติฐานที่ว่า เมื่อเนื้อหาข่าวมันปลอม รูปภาพประกอบข่าวก็ต้องปลอมและไม่ตรงกับเรื่องจริงในข่าวเช่นเดียวกัน เราสามารถตรวจที่มาของ “รูปภาพประกอบ” ได้จาก Google เพียงคลิกขวาที่รูปภาพในข่าว จะมีหัวข้อให้เลือกว่าค้นหารูปภาพจาก Google ซึ่ง Google จะบอกได้หมดว่ารูปภาพนี้เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตเมื่อไหร่ และถึงบางครั้งรูปภาพอาจเป็นรูปจริง แต่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของเรื่องราว เพื่อความมั่นใจ ลองนำภาพไปตรวจสอบที่มาของภาพดังกล่าวผ่านการค้นหารูปแบบต่างๆ

5. การเขียนและสะกดคำ “ผิด”

ผู้สื่อข่าวที่ดีหรือสำนักข่าวออนไลน์ที่มีตัวตนและมีคุณภาพจะไม่ผิดพลาดเรื่องตัวสะกดของคำหรือประโยคต่างๆ ด้วยเหตุผลที่ว่าจะมีการพิสูจย์อักษรก่อนการเผยแพร่ทุกครั้งเพื่อความถูกต้องและความไม่คลาดเคลื่อนของข้อความหรือสาร (Message) ที่จะส่งออกไป

6. ตรวจสอบจากแหล่งข่าวอื่นเปรียบเทียบ

สังเกตหรือตรวจสอบอีกครั้งจากแหล่งอื่นๆ หรือตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้เขียนเพื่อยืนยันว่าถูกต้อง หากไม่มีหลักฐานหรือความน่าเชื่อถือของผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีชื่อเสียง อาจระบุได้ว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม

ตรวจสอบข่าวจากรายงานข่าวของที่มาอื่นๆ หากไม่มีแหล่งที่มาอื่นที่รายงานเรื่องราวเดียวกัน อาจระบุได้ว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม หากมีการรายงานข่าวโดยหลายแหล่งข่าวที่คุณเชื่อถือได้ มีแนวโน้มว่าข่าวดังกล่าวจะเป็นข่าวจริง

7. การจัดวางภาพและกราฟิก

สังเกตสิ่งผิดปกติในเนื้อหาข่าวหรือเว็บไซต์ เช่น วันที่ลำดับเหตุการณ์ การจัดวางภาพกราฟิก โดยข่าวปลอมอาจมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุผล หรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งมีการจัดวางกราฟิกหรือเลย์เอาต์ที่ไม่เป็นมืออาชีพ ผิดไปจากเลย์เอาต์ของสำนักข่าวจริง

8. มีโฆษณาสิ่งผิดกฎหมาย บนหน้าเว็บไซต์

สังเกตสิ่งผิดปกติในเนื้อหาข่าวหรือเว็บไซต์ เช่น เมื่อคลิกเข้าไปดูในเว็บไซต์อาจมีโฆษณาของสิ่งผิดกฎหมายปรากฏอยู่เต็มหน้าเว็บ

9. ดูจุดประสงค์ในการเผยแพร่ข่าว

ทำไมเราอยากแชร์? อ่านข่าวนี้แล้วเรารู้สึกอย่างไร ผู้เขียนต้องการอะไร หรือมีเป้าหมายยังไง เช่น ต้องการสร้างความตื่นตระหนก? หรือ ให้ข่าวทำลายชื่อเสียง หรือมีจุดประสงค์อื่นๆ แอบแฝงจากการให้ข่าวนี้

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว

การปกป้องข้อมูลส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่หวังดีนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ไม่ดี เรามีวิธีหลายอย่างในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเรา วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า: ไม่บอกชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ให้กับคนที่เราไม่รู้จัก ไม่นัดเจอคนที่เราคุยด้วยทางอินเทอร์เน็ต หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ระมัดระวังในการพูดคุยกับคนแปลกหน้าในเกมออนไลน์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย: ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก โดยใช้ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน ไม่ใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายบัญชี เก็บรักษารหัสผ่านเป็นความลับ ไม่บอกให้ใครรู้ ระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ต: ไม่คลิกลิงก์ หรือเปิดไฟล์แนบจากอีเมล หรือข้อความที่ไม่รู้จัก ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในโซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่างๆ บอกผู้ปกครองหรือคุณครู เมื่อเจอสิ่งผิดปกติ: หากมีคนแปลกหน้าทักมา หรือขอข้อมูลส่วนตัวของเรา หากเจอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หรือน่ากลัวบนอินเทอร์เน็ต หากถูกกลั่นแกล้ง...

ทำไมเราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว?

ข้อมูลส่วนตัวของเรานั้นสำคัญมาก เหมือนกับกุญแจที่ใช้เปิดบ้าน ถ้ามีคนที่ไม่หวังดีได้กุญแจไป เขาอาจจะเข้ามาในบ้านของเราและทำสิ่งที่ไม่ดีได้ ข้อมูลส่วนตัวก็เช่นกัน ถ้าคนที่ไม่หวังดีได้ข้อมูลส่วนตัวของเราไป เขาอาจจะนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี ทำให้เราเดือดร้อนได้ เหตุผลที่เราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ป้องกันการถูกแอบอ้าง: คนที่ไม่หวังดีอาจนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้แอบอ้างเป็นตัวเรา เช่น สมัครบัญชีออนไลน์ หรือทำธุรกรรมต่างๆ ในชื่อของเรา ทำให้เราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เราไม่ได้ทำ ป้องกันการถูกหลอกลวง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการหลอกลวง เช่น ส่งอีเมลหรือข้อความหลอกลวงให้เราโอนเงิน หรือให้ข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติม ป้องกันการถูกกลั่นแกล้ง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เช่น เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเราให้คนอื่นรู้ หรือใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการสร้างข่าวลือที่ไม่ดี ป้องกันการถูกขโมยข้อมูล: คนที่ไม่หวังดีอาจขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราไปขาย หรือนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน: ข้อมูลส่วนตัวบางอย่างเช่น...

ข้อมูลส่วนตัวคืออะไร?

ข้อมูลส่วนตัว คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเราได้ ข้อมูลเหล่านี้สำคัญมาก เพราะหากมีคนรู้ข้อมูลส่วนตัวของเรา อาจนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ ตัวอย่างข้อมูลส่วนตัว: ชื่อ-นามสกุล: ชื่อจริงและนามสกุลของเรา ที่อยู่: บ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ เบอร์โทรศัพท์: เบอร์โทรศัพท์บ้านหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือของเรา วันเดือนปีเกิด: วัน เดือน และปีที่เราเกิด รูปภาพ: รูปถ่ายของเรา ข้อมูลโรงเรียน: ชื่อโรงเรียน ชั้นเรียน...

พัฒนาอินโฟกราฟิกให้ปัง! ด้วยการรับฟังและปรับปรุงผลงาน

ความสำคัญของการรับฟังความคิดเห็น: ช่วยให้เข้าใจมุมมองและความต้องการของผู้ฟัง ช่วยให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของผลงาน ช่วยให้สามารถปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น: 1. เปิดใจรับฟัง: ตั้งใจฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างตั้งใจ หลีกเลี่ยงการโต้แย้งหรือตัดสินความคิดเห็น 2. จดบันทึก: จดบันทึกความคิดเห็นที่สำคัญ เพื่อนำมาพิจารณา 3. วิเคราะห์ความคิดเห็น: แยกแยะความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ พิจารณาว่าความคิดเห็นใดที่สามารถนำมาปรับปรุงผลงานได้ 4. ปรับปรุงผลงาน: นำความคิดเห็นที่ได้มาปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ทดสอบผลงานที่ปรับปรุงแล้วกับกลุ่มเป้าหมาย 5. ขอบคุณผู้ให้ความคิดเห็น: แสดงความขอบคุณต่อผู้ที่ให้ความคิดเห็น แสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นของพวกเขาได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ เทคนิคการรับฟังความคิดเห็น: ตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ แสดงความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ฟัง สรุปความคิดเห็นของผู้ฟัง เพื่อให้แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้อง ขอคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน การนำเสนอผลงาน และรับฟังความคิดเห็น หลังจากนำเสนอผลงาน Infographic เสร็จ ควรเปิดโอกาศให้ผู้ร่วมรับชมผลงานนั้น ได้แสดงความคิดเห็น จดบันทึกคำถาม และข้อสงสัยต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขผลงาน กิจกรรม: ให้นักเรียนนำเสนออินโฟกราฟิกที่ตนเองสร้าง และรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนๆ หรือครู ให้นักเรียนปรับปรุงอินโฟกราฟิกของตนเองตามความคิดเห็นที่ได้รับ ให้นักเรียนสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงผลงาน คำถามทบทวน: ทำไมการรับฟังความคิดเห็นจึงสำคัญ? มีขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นอย่างไร? มีเทคนิคอะไรบ้างในการรับฟังความคิดเห็น?...

About ครูออฟ 1711 Articles
https://www.kruaof.com