แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของสื่อใหม

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สื่อใหม่ถือเป็นสื่อสังคมออนไลน์ เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม (Social Tool) เพื่อใช้สื่อสารระหว่างกันในเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ผ่านทางเว็บไซต์และโปรแกรมประยุกต์บนสื่อใด ๆ ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตซึ่งสื่อใหม่ก็มีข้อดีกว่ามากมาย ดังนี้ (พรจิต สมบัติพานิช, 2547:5)

  1. ช่วยลดต้นทุน สื่อใหม่ส่วนใหญ่สามารถช่วยลดต้นทุนในการประชาสัมพันธ์ได้มากเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ต้นทุนที่เกิดขึ้นจะมีเพียงต้นทุนในการสร้างสรรค์ ต้นทุนในการลงโฆษณาบนสื่อใหม่ ซึ่งเทียบแล้วถูกกว่าสื่อกระแสหลักมาก
  2. ตรงกลุ่มเป้าหมาย สื่อใหม่บางประเภทสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย และตรงกลุ่มเป้าหมาย สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ละเอียดถึงขั้นประชากรศาสตร์และ ภูมิศาสตร์ ทำให้เจาะจงเพศ อายุ ความสนใจได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
  3. วัดผลได้ง่าย เนื่องจากความเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์และใช้ระบบการสื่อสารทำให้นักประชาสัมพันธ์สามารถวัดผลได้ง่าย เช่น การวัดผลจากคนคลิกป้ายประชาสัมพันธ์ โดยยังสามารถรู้ได้ด้วยว่า เมื่อคลิกแล้ว ผู้คนใช้เวลาดูข้อมูลนานเท่าใด และออกไปหน้าเว็บเพจไหนต่อ
  4. มีการปฏิสัมพันธ์ ผู้บริโภคสามารถมีการโต้ตอบกับสื่อใหม่ เช่น คลิกเพื่อดูข้อมูลตามรายการ การเล่นกับกราฟิกเกมบน Banner การขยับแผ่น AR Code เพื่อดูสินค้ารอบทิศทาง
  5. ไม่จำกัดพื้นที่และเวลา สามารถเข้าถึงสื่อใหม่ได้ทุกที่ ทุกเวลาที่มีการเข้าถึงเครือข่ายข้อมูล
  6. ให้ข้อมูลได้อย่างเต็มที่ สามารถให้ข้อมูลได้หลายระดับทั้งแบบข้อมูลขั้นต้น และข้อมูล
    เชิงลึกรายละเอียด ตอบสนองความต้องการของบุคคลได้หลายประเภท
  7. เผยแพร่ได้อย่างรวดเร็ว สื่อใหม่บนระบบเครือข่าย internet สามารถเผยแพร่ได้อย่าง
    รวดเร็วเพียงเสี้ยววินาทีก็สามารถกระจายข่าวสารไปยังทั่วโลก เกิดการบอกต่อได้ง่ายยิ่งขึ้น ถ้า
    ข่าวสารสื่อประชาสัมพันธ์มีความน่าสนใจ จะเกิดการบอกต่อ การแบ่งปันไปยังสื่อสังคมออนไลน์
    ทำให้แพร่กระจายได้หลายคนมากยิ่งขึ้น
  8. ลดทรัพยากรของโลก สื่อใหม่สามารถช่วยลดทรัพยากรกระดาษ หรือแรงงานที่ใช้ในการจัดพิมพ์หรือสร้างสื่อประชาสัมพันธ์แบบเดิม และใช้กำลังคนในแต่ละกระบวนการน้อยกว่า
  9. สื่อสาร 2 ทาง โดยผู้บริโภคสามารถให้ข้อคิดเห็นเสียงสะท้อนกลับมาได้ง่ายกว่าสื่อแบบเก่า
  10. มีความสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันและพัฒนาข้อมูลไปใช้ในสื่ออื่น ๆ ได้ เช่น ข้อมูลที่อยู่บนเว็บ สามารถไปใช้บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ และยังนำไปแสดงบนป้ายดิจิตอลได้

ในส่วนของบทบาทสื่อใหม่ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไลน์ ยูทูป เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความสะดวกในการติดต่อสื่อสารแล้ว ยังมีบทบาทในการกำหนดประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ดังนั้น สื่อใหม่ จึงมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรมการเสพข้อมูลข่าวสารของผู้คนในยุคปัจจุบัน อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการ สถาบันวิชาการ สื่อสาธารณะ (สวส.) ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) กล่าวถึง สื่อออนไลน์หรือสื่อใหม่กับบทบาทในการกำหนดประเด็นทางสังคมว่า สื่อออนไลน์สามารถแบ่งปันข่าวสารกันได้ง่าย โดยมี 8 ช. เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน ดังนี้

  1. ชม ติดตามข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์มากขึ้น ทั้ง ดู ฟัง อ่าน และ เขียน
  2. เชื่อม มีการเชื่อมโยงกับสังคมมากขึ้น ทั้งบุคคลที่เรารู้จัก ดารา นักการเมือง หรือ
    บุคคลที่เป็นที่รู้จักของสังคม
  3. แชร์ แบ่งปันข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ไปสู่เพื่อนและสังคมมากขึ้น
  4. ใช้ มีการใช้สื่อและอุปกรณ์การสื่อสาร เป็นกิจวัตรประจำวันจนแทบจะขาดไม่ได้ ทั้ง
    สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก กล้องดิจิตอล
  5. ชอบ สามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกผ่านสื่อออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแสดง
    ความรัก ชอบ โกรธ อคติ
  6. ช่วย เป็นช่องทางในการให้ความช่วยเหลือ และส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้กันได้มากขึ้น
  7. เชื่อม เป็นการเชื่อมต่อกลุ่มลัทธิของผู้คนต่าง ๆ ได้มากขึ้น
  8. ชีพ มีการใช้สื่อออนไลน์เป็นประจำ จนมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

นอกจากนี้โซเชียลมีเดีย ยังเป็นแหล่งรวมพลังในการต่อต้านหรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม มานับตั้งแต่ปี 2551 ที่เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลาย อาทิ ปรากฏการณ์ “ม็อบโซเชียลมีเดีย” ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มที่เรียกว่า คราวด์ซอร์สซิ่ง (Crowdsourcing) คือ การรวมตัวของกลุ่มคน หรือ มวลชน ที่ต้องการบรรลุเป้าหมายเดียวกัน (สุดทีวัล สุกใส, 2559)

ที่มา พงศ์สิน พรหมพิทักษ์,การจัดการเชิงธุรกิจและแนวดำเนินงานสื่อในยุคดิจิทัล

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com