ระบบประสาท

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

  สิ่งมีชีวิตมีลักษะสำคัญ ได้แก่ มีการเคลื่อนที่ กินอาหาร หายใจ ขับถ่าย เจริญเติบโต สืบพันธุ์ และตอบสนองต่อสิ่งเร้า การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเพื่อตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น เรียกว่า ระบบประสาท

    ระบบประสาทส่วนกลาง (the central nervous system หรือ somatic nervous system) เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานของร่างกาย ซึ่งทำงานพร้อมกันทั้งใน  ด้านกลไกและทางเคมีภายใต้อำนาจจิตใจ ซึ่งประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง โดยเส้นประสาทหลายเส้นจากทั่วร่างกายจะส่งข้อมูลในรูปกระแสประสาทออกจากบริเวณศูนย์กลาง มีอวัยวะที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. สมอง (brain) เป็นส่วนที่ใหญ่กว่าส่วนอื่น ๆ ของระบบประสาทส่วนกลาง  ทำหน้าที่ควบคุมการกิจกรรมทั้งหมดของร่างกาย เป็นอวัยวะชนิดเดียวที่แสดงความสามารถด้านสติปัญญา การทำกิจกรรมหรือการแสดงออกต่าง ๆ สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
                        1.1 เซรีบรัมเฮมิสเฟียร์ (cerebrum hemisphere) คือ สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมที่ซับซ้อนเกี่ยวกับความรู้สึกและอารมณ์ ควบคุมความคิด ความจำ และความเฉลียวฉลาด เชื่อมโยงความรู้สึกต่าง ๆ เช่น การได้ยิน การมองเห็น การรับกลิ่น การรับรส การรับสัมผัส
                        1.2 เมดัลลา ออบลองกาตา (medulla oblongata) คือ ส่วนที่อยู่ติดกับไขสันหลัง ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ การไอ การจาม การกะพริบตา ความดันเลือด
                        1.3 เซรีเบลลัม (cerebellum) คือ สมองส่วนท้าย เป็นส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและการทรงตัว ช่วยให้เคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำ เช่น การเดิน การวิ่ง การขี่จักรยาน

ภาพที่ 17 ลักษณะของสมองมนุษย์
ที่มา: หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 43

2. ไขสันหลัง (spinal cord) เป็นเนื้อเยื่อประสาท ที่ทอดยาวจากสมองไป ภายในโพรงกระดูกสันหลัง กระแสประสาทจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะผ่านไขสันหลัง มีทั้งกระแสประสาทเข้าและกระแสประสาทออกจากสมอง และกระแสประสาทที่ติดต่อกับไขสันหลังโดยตรง

ภาพที่ 18 ลักษณะของไขสันหลัง
ที่มา: หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 43

  3. เซลล์ประสาท (neuron) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบประสาท เซลล์ประสาทมีเยื่อหุ้มเซลล์ไซโทพลาซึมและนิวเคลียสเหมือนเซลล์อื่น ๆ แต่มีรูปร่างและลักษณะแตกต่างออกไป เซลล์ประสาทประกอบด้วยตัวเซลล์และเส้นใยประสาทที่มี 2 แบบ คือ (1) เดนไดรต์ (dendrite) ทำหน้าที่กระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์และ (2) แอกซอน (axon) ทำหน้าที่นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ไปยังเซลล์ประสาทอื่นๆ   เซลล์ประสาทจำแนกตามหน้าที่การทำงานได้ 3 ชนิด คือ
      3.1 เซลล์ประสาทรับความรู้สึก รับความรู้สึกจากอวัยวะรับสัมผัส เช่น จมูก ตา หู ผิวหนัง ส่งกระแสประสาทผ่านเซลล์ประสาทประสานงาน
      3.2 เซลล์ประสาทประสานงาน เป็นตัวเชื่อมโยงกระแสประสาทระหว่างเซลล์รับความรู้สึกกับสมองไขสันหลัง และเซลล์ประสาทสั่งการ พบในสมองและ ไขสันหลังเท่านั้น

    3.3 เซลล์ประสาทสั่งการ รับคำสั่งจากสมองหรือไขสันหลัง เพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ

การทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง

สิ่งเร้าหรือการกระตุ้นจัดเป็นข้อมูลที่เส้นประสาทนำไปยังระบบประสาทส่วนกลาง เรียกว่า กระแสประสาท เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่นำไปสู่เซลล์ประสาททาง ด้านเดนไดรต์ และเดินทางออกอย่างรวดเร็วทางด้านแอกซอน แอกซอนส่วนใหญ่มีแผนไขมันหุ้มไว้เป็นช่วง ๆ แผ่นไขมันนี้ทำหน้าที่เป็นฉนวนและทำให้กระแสประสาทเดินทางได้เร็วขึ้น ถ้าแผ่นไขมันนี้ฉีกขาดอาจทำให้กระแสประสาทช้าลง ทำให้สูญเสียความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ เนื่องจากรับคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลางได้ไม่ดี ระบบประสาทช่วยให้ร่างกาย สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ภาพที่ 20 ขั้นตอนการทำงานของระบบประสาท
ที่มา: หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 45
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com